อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) รายงาน…
มอง2ปีความขัดแย้งการเมืองซาอุดีอาระเบีย กับ กาตาร์ ผ่าน อ. รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ. อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมลายา มาเลเซีย(คนชายแดนใต้ ที่ทำงานที่มาเลเซีย) “ซาอุดิอารเบีย & กาตาร์ ในท้ายสุด สาเหตุมาจากการเมืองเรื่องน้ำมันและดอลลาห์ หรือเปล่า? “
คำถามสามข้อ
– ทำไมชาติอาหรับบางส่วนถือว่าฮามาสและอิควานมุสลีมีนเป็นศัตรูของตนมากกว่าอิสราเอล?
– ทำไมกาตาร์ที่ปกป้องและสนับสนุนขบวนการเคลื่อนไหวทั้งสองกลุ่มข้างต้นกำลังถูกกดดันอย่างหนัก?
– ในขณะที่อิสราเอลเป็นภัยคุกคามที่อันตรายกว่าในตอนนี้ กลับยอมให้เข้าไปยึดครองดินแดนปาเลสไตน์อย่างผิดกฏหมาย?
คำตอบ
1- เศรษฐกิจของซาอุดิอารเบียที่พึ่งพารายได้จากน้ำมันเป็นหลัก ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบตกต่ำในระยะสองปีที่ผ่านมา หนี้สาธารณะของซาอุดิอารเบียเพิ่มขึ้น 316.5 พันล้านริยาลในปี 2016 ขึ้นจากปี 2014 ถึง 619% คิดเป็น 12.3% ของ GDP และมีการตัดลดงบประมาณรายจ่ายของภาครัฐลงในเดือนกันยายนปีที่แล้ว เช่น ลดเงินเดือนรัฐมนตรี 20% ยกเลิกโบนัสให้พนักงานของรัฐ
(ดูจาก- http://www.businessinsider.my/saudi-arabia-national-debt-budget-2017-report-2016-12/?r=US&IR=T#B54D28XmDAV4DxJP.97)
2- เปโตรดอลลาห์ – น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ชาติอาหรับมีน้ำมัน อเมริกามีดอลลาห์ เปรโตรดอลลาห์เกิดขึ้นเมื่อปี 1973 ภายหลังจากยกเลิกระบบ Gold standard ในสมัยประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน (ปี 1971) ทำให้เงินดอลลาห์หมดความหมายหลายประเทศไม่นำมาเป็นเงินสำรอง แต่อเมริกาก็คิดระบบใหม่โดยร่วมมือกับซาอุดิอารเบียตั้งกฏว่าใครจะซื้อน้ำมันจากซาอุดิอารเบียต้องจ่ายเป็นเงินสกุลดอลลาห์เท่านั้น และภายในปี 1975 ประเทศกลุ่ม OPEC ทั้งหมดก็ใช้สกุลเงินดอลลาห์ในการซื้อขายน้ำมัน จากความร่วมมือตรงนี้ทำให้ชาติอาหรับร่ำรวยขึ้นมาอย่างรวดเร็วและเศรษฐกิจอเมริกาก็เข้มแข็ง ขายน้ำมันได้ดอลลาห์ นำดอลลาห์ไปซื้ออาวุธจากอเมริกา นำเงินไปลงทุนในอเมริกา
(เปโตรดอลลาห์. http://ftmdaily.com/preparing-for-the-collapse-of-the-petrodollar-system/)
3- เปโตรดอลลาห์ ที่หมุนเวียนในระบบการเงินโลก ผู้ที่ควบคุมหลักคือชาติอาหรับรวยน้ำมันที่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับอเมริกา ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทหาร การจะเคลื่อนย้ายเงินไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลก ก็ต้องผ่านการเจรจาอย่างลับๆ ระหว่างอเมริกากับผู้นำชาติอาหรับเหล่านั้น เป็นความซับซ้อนที่อยู่เบื้องหลังระบบการเงินที่ขับเคลื่อนระบบทุนนิยมโลก
4- นอกจากนำ้พึ่งเรือเสือพึ่งป่าในระบบเปโตรดอลลาห์แล้ว รายได้จากน้ำมันของชาติอาหรับก็ไหลกลับไปยังอเมริกาในรูปของการลงทุนและซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เฉพาะราชวงศ์ซาอุดิอารเบียลงทุนในอเมริกาเป็นจำนวน 1 ล้านล้านดอลลาห์สหรัฐ และลงทุนในพันธบัตรสหรัฐเป็นจำนวน 116.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นอันดับ 13 ของประเทศที่ลงทุนในพันธบัตรสหรัฐ
( ดูจาก https://www.forbes.com/sites/greatspeculations/2016/05/23/dont-believe-the-hype-saudi-arabia-actually-owns-less-than-1-of-u-s-debt/#1d5eb5d41c95)
5- ผู้ที่ท้าทายเปโตรดอลลาห์ – ปี 2000 ซัดดัม ฮูเซ็น ได้เตรียมยกเลิกการใช้ดอลลาห์ในการซื้อขายน้ำมัน ในปี 2002 อิรักยกเลิกเปโตรดอลลาห์ได้สำเร็จ ประกาศใช้เงินยุโรแทน ปี 2003 จอร์จ บุช ส่งทหารบุกอิรัก (ข้ออ้างมีอาวุธเคมี เป็นภัยคุกคามภูมิภาค) เมื่อสิ้นสุดซัดดัม อิรักก็หันไปใช้เปโตรดอลลาห์อีกครั้ง
(“On September 24, 2000, Saddam Hussein allegedly “emerged from a meeting of his government and proclaimed that Iraq would soon transition its oil export transactions to the euro currency.” – ซัดดัมประชุมเตรียมเปลี่ยนไปใช้เงินยูโร – จากบทความ ในลิงค์นี้ http://ftmdaily.com/preparing-for-the-collapse-of-the-petrodollar-system-part-3/)
ลิเบียเคยคิดจะเปลี่ยนมาใช้ดีนาร์ทองคำแทน หลังสิ้นสุดกัดดาฟี่ สหรัฐและชาติตะวันตกก็ยังไม่มีทีท่าที่จะคืนทรัพย์สินของรัฐบาลลิเบียที่ถูกอายัดไป ที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะที่สหรัฐอายัดไว้นั้นก็มีมูลค่าสูงถึง 33,000 ล้านดอลลาร์
ทางด้านอิหร่านเพราะถูกบอยคอตก็หันไปใช้ยูโรมานานหลายปีแล้วในการซื้อขายน้ำมัน
6- อาหรับสปริงส์ ฮามาสและอิควานมุสลีมีน คือภัยคุกคามใหม่ของเปโตรดอลลาห์ อาหรับสปริงส์ทำให้ดุลอำนาจในการควบคุมระบบการเงินของเปโตรดอลลาห์เปลี่ยนแปลงไป ตามมาด้วยชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคแนวทางอิควานในหลายประเทศ เช่น อียิปต์ (แต่ก็ถูกโค่นล้มไปแล้ว) แอลจีเรีย ตูนิเซีย ตุรกี ฮามาสในปาเลสไตน์ ขึ้นมามีอำนาจในการบริหารประเทศ นโยบายต่างๆ ที่เคยแนบแน่นกับสหรัฐเท่านั้น ก็เปลี่ยนไปคบหากับมหาอำนาจชาติอื่น ๆ ด้วย หากหลายประเทศในอาหรับเกิดการเปลี่ยนผ่านอำนาจไปอยู่ในกลุ่มที่ไม่โปรอเมริกามากขึ้นเรื่อย ๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อเปโตรดอลลาห์อย่างแน่นอนตามมา
4- กาตาร์ให้การสนับสนุนปกป้องฮามาสและอิควานมุสลีมีน แต่กลับเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพของซาอุดิอารเบีย อิสราเอล และอเมริกา (กลับไปที่ข้อสองเปโตรดอลลาห์)
5- ซาอุดิอารเบียที่มีรายได้จากน้ำมันเป็นหลักโดยผูกติดกับเปโตรดอลลาห์ ถ้ามีปัญหากับอเมริกาขึ้นมา จะส่งผลถึงเงินที่จะนำมาใช้ในการบริหารประเทศ เงินที่ไปบริจาคให้ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเงินที่นำมาใช้เพื่อค้ำจุนระบอบกษัตริย์ที่นับวันจะถูกท้าทายขึ้นเรื่อยๆ จากกระแสความเป็นประชาธิปไตย
6- อิสราเอล ฮามาส อิควานมุสลีมีน – กลุ่มลอบยี้ยิสต์ที่เป็นยิวในอเมริกา มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการกำหนดนโยบายของทำเนียบขาว พวกเขาล๊อบบี้ทรัมป์สำเร็จ ให้ขึ้นบัญชีฮามาสและอิควานมุสลีมีนเป็นกลุ่มก่อการร้าย และทรัมป์ก็ยืมมือซาอุดิอารเบียจัดการกับฮามาสและอิควานมุสลีมีนที่ถือว่าเป็นภัยคุกคามตนอยู่แล้ว
ความสัมพันธ์ระหว่างอิสราเอลกับอเมริกาแนบแน่นขนาดไหนนั้น คนที่ติดตามการเมืองระหว่างประเทศก็คงทราบดี
7- กาตาร์ที่สนับสนุนฮามาสและอิควานมุสลีมีน ถูกแบนหลังจากการมาเยือนซาอุดิอารเบียของทรัมป์ไม่นาน ตามมาด้วยซาอุดิอารเบียบีบให้กาตาร์เลือกข้าง ขึ้นบัญชีผู้ก่อการร้ายกดดันกาตาร์ให้เลิกสนับสนุนทันที ทรัมป์มีส่วนอย่างแน่นอนถ้าไปดูทวิตเตอร์ที่เขาทวิตเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น
( During my recent trip to the Middle East I stated that there can no longer be funding of Radical Ideology. Leaders pointed to Qatar – look! https://twitter.com/realDonaldTrump/status/872062159789985792)
(So good to see the Saudi Arabia visit with the King and 50 countries already paying off. They said they would take a hard line on funding…https://twitter.com/realDonaldTrump/status/872084870620520448?ref_src=twsrc%5Etfw&ref_url=http%3A%2F%2Fwww.wnyc.org%2Fstory%2Fhis-qatar-tweets-trumps-qatar-ties%2F)
(…extremism, and all reference was pointing to Qatar. Perhaps this will be the beginning of the end to the horror of terrorism! https://twitter.com/realDonaldTrump/status/872086906804240384?ref_src=twsrc%5Etfw&ref_url=http%3A%2F%2Fwww.wnyc.org%2Fstory%2Fhis-qatar-tweets-trumps-qatar-ties%2F)
8- ภาพใหญ่ก็เป็นเช่นนี้ สรุปคือ อเมริกาต้องการให้เปโตรดอลลาห์ที่กำลังจะล่มสลายให้เข้มแข็งกลับมาเหมือนเดิม เพราะตอนนี้หลายประเทศไม่ได้ใช้เงินดอลลาห์ในการซื้อขายน้ำมัน แต่ใช้สกุลเงินของตนแทน เช่น จีน รัสเซีย อินเดีย เป็นต้น
ซาอุดิอารเบียมีปัญหาเศรษฐกิจจากราคาน้ำมันที่ตกต่ำ ต้องใช้ความพยายามทุกวิถีทางเพื่อความอยู่รอด ทั้งความเข้มแข็งของดอลลาห์ และพยุงฐานะความร่ำรวยของซาอุดิอารเบีย ที่ปัจจุบันหลายประเทศหันไปใช้พลังงานทดแทนมากขึ้นเรื่อย ๆ มีการทุ่มงบประมาณเป็นจำนวนมากในการค้นคว้าวิจัยพลังงานที่นอกเหนือจากน้ำมัน ขณะที่ชาติอาหรับรวยน้ำมันอื่นๆ ได้ปรับตัวมาพักหนึ่งแล้ว ไม่ได้พึ่งพารายได้จากน้ำมันเพียงอย่างเดียว ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ กาตาร์ UAE
และอีกข้อคือความอยู่รอดปลอดภัยของอิสราเอลที่มีฮามาสและอิควานมุสลีมีนเป็นภัยคุกคาม ดังนั้น
9- กาตาร์ที่เป็นมิตรกับฮามาสและอิควานมุสลีมีน จึงต้องเจอแรงกดดันที่หนักมากในตอนนี้ และ
10- ซาอุดิอารเบียก็น่าเห็นใจเพราะเขาอ่อนแอเกินไป
11- สุดท้ายก็ขอให้วิกฤติครั้งนี้จบลงด้วยการเจรจากัน ยกเลิกการแบนกาตาร์โดยเร็วที่สุด
หมายเหตุ – เป็นมุมมองส่วนตัวในแบบทฤษฏีสมคบคิด ซึ่งจริงๆ แล้ว ก็ไม่ค่อยชอบเท่าไรนัก แต่เรื่องนี้จะได้มุมมองอีกด้าน ถ้านำทฤษฏีนี้มาวิเคราะห์)
//////////////////////////
1,511 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.