พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

สัมภาษณ์พิเศษ ผู้เข้าร่วมโครงการ สานใจไทย สู่ใจใต้ “เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)  Shukur2003@yahoo.co.uk  รายงาน…

 

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2389816367741895&set=pcb.2389816561075209&type=3&theater

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2389816517741880&set=pcb.2389816561075209&type=3&theater

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2390466161010249&set=p.2390466161010249&type=3&theater

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺ ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

( 26 พ.ค.2562)    พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษในวัยย่าง 99 ปีได้ถึงแก่อสัญกรรมนั้น ในโลกโซเซียล ส่วนใหญ่มีการแสดงความเสียใจนอกจากบางคนที่มีความคิดเห็นต่างด้านการเมืองกับท่านเพราะช่วงท้ายชีวิต ตลอดวิกฤตการเมืองไทยปฏิเสธไม่ได้ว่าท่านถูกกล่าวหา ว่าเป็นผู้มากบารมีหรืออยู่เบื้องหลังปฏิวัติรัฐประหาร ทั้งต่อนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรและนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรจึงมีดราม่า จากฝั่งที่อ้างประชาธิปไตยบางท่าน(จริงๆ)         สำหรับผู้เขียนแล้วเราควรแสดงความเสียใจหรืออย่างน้อยที่สุดนิ่งเงียบไม่แสดงความคิดเห็นต่อการเสียชีวิตท่าน (แต่ละคนมีสิทธิเห็นต่างในประเด็นนี้)

กล่าวคือเราต้องแยกแยะ ว่า  “เหมาะสมหรือไม่อย่างไรในช่วงเวลามีใครเสียชีวิตเพราะ พอมีคนลาโลกนี้ไปไม่ได้แปลว่าความผิดพลาดของเขานั้นห้ามพูดถึง (คงไม่สามารถห้ามพูดถึงได้ครับ) แต่ขอให้ผ่านพ้นช่วงของการเศร้าเสียใจ ของผู้คนโดยเฉพาะอดีตผู้นำประเทศที่มีประชาชนมากมายเช่นกันกำลังเสียใจ”

ถึงแม้ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับท่านหลายประการเช่นเรื่องประชาธิปไตย และ เรื่องที่ถูกมองท่านเป็นผู้อยู่เบื้องหลังให้เบรกแนวคิดภาษามลายูเป็นภาษาทำงานที่จะใช้ในพื้นที่ชายแดนใต้ ทั้งๆที่เป็นข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.)  ในการแก้ปัญหาชายแดนใต้แล้วสำหรับคนวัยกลางคน วัยผู้ใหญ่จะรู้จักท่านผ่านนโยบาย 66/2523 ของท่านซึ่งเป็นที่มาของ  “การเมืองนำการทหารเพื่อดับไฟใต้” แต่สำหรับนักเรียนและเยาวชนชายแดนใต้จะรู้จักท่านผ่านโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้”

รายงานฉบับนี้ผู้เขียนได้พูดคุยกับสามท่านที่เป็นตัวแทนผู้ร่วมโครงการนี้

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1043382255841248&set=t.100002378149321&type=3&theater

เริ่มด้วยนายอารี ดิเรกกิจ ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ศอ.บต.ผู้รับผิดชอบโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้”โดยตรง โดยท่านได้เล่าถึงตั้งแต่ที่มา กระบวนการคัดเลือกเยาวชนและครอบครัวอุปถัมภ์  ดังนี้

1.โครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้”

โครงการ“สานใจไทย สู่ใจใต้” เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากดำริของ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ  โดยการสนับสนุนจากคณะกรรมการของมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์  มูลนิธิรักเมืองไทย และมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กองทัพทุกเหล่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน นำเยาวชนมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวอุปถัมภ์ที่นับถือศาสนาอิสลามในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวอุปถัมภ์และชุมชนสังคมพหุวัฒนธรรม ทำให้เยาวชนได้รับประสบการณ์ตรง และมีความเข้าใจบริบทของสังคมประเทศไทยมากยิ่งขึ้น จนนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครอบครัวอุปถัมภ์กับครอบครัวเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

โครงการ“สานใจไทย สู่ใจใต้” ได้ดำเนินการรุ่นที่ ๑ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้ว ๓๕  รุ่น มีเยาวชนเข้าร่วมจำนวนเกือบ หนึ่งหมื่น คน ครอบครัวอุปถัมภ์จำนวนเกือบ สี่พัน ครอบครัว โดยดำเนินการนำเยาวชนแต่ละรุ่นเข้าร่วมกิจกรรมในระหว่างปิดภาคเรียนปีละ ๒ รุ่น คือ ช่วงเดือนเมษายน และเดือนตุลาคม โดยมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” รุ่นละ ๒๔๐ คน ครูพี่เลี้ยง ๑๒ คน และครอบครัวอุปถัมภ์ ๑๒๐ ครอบครัว

  1. วัตถุประสงค์ของโครงการ

๑)  เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตของครอบครัวมุสลิมในกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง

๒)  เพื่อเพิ่มทักษะประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม ความเป็นผู้นำ ผู้ตาม ในการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายของเชื้อ

ชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม ที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

๓)  เพื่อสร้างความสัมพันธ์และช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันของครอบครัวอุปถัมภ์กับครอบครัวของเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

3.กระบวนการคัดเลือกเยาวชนจะเลือกจากคุณสมบัติดังนี้

๑)  เป็นเยาวชนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน หรือกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันศึกษาปอเนาะ

๒)  นับถือศาสนาอิสลาม

๓)  อายุระหว่าง ๑๕ – ๑๘ ปี

๔)  มีฐานะยากจน กำพร้า หรือขาดโอกาสทางสังคม

๕)  มีความประพฤติเรียบร้อย

๖)  มีภาวะความเป็นผู้นำ

๗)  มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง

๘)  ไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

ในขณะการคัดเลือกคุณสมบัติของครอบครัวอุปถัมภ์ที่รับเยาวชน

๑)  เป็นครอบครัวที่ศรัทธาเลื่อมใสในบทบัญญัติของศาสนาอิสลาม ประพฤติตนเหมาะสมและเคร่งครัดเป็นแบบอย่างแก่ครอบครัวอื่นๆได้

๒)  มีความสมัครใจ มีฐานะปานกลาง พัฒนาครอบครัว ประกอบอาชีพที่สุจริต สังคมยอมรับ สามารถเป็นแบบอย่างแก่ยาวชนได้เป็นอย่างดี

๓)  มีบุตรธิดา หรือเยาวชนที่อุปการะสามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนได้ โดยเป็นเพศเดียวกันกับเยาวชนที่รับอุปถัมภ์จากจังหวัดชายแดนภาคใต้

๔)  มีความสามารถ และมีเวลา ในการอบรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในขณะที่พำนักอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข

๕)  มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง ไม่อยู่ในชุมชนแออัด เสี่ยงกับสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม และเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด

๖)  ไม่มีประวัติที่เคยเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น ค้าของเถื่อน เป็นผู้มีอิทธิพลผิดกฎหมาย ค้ายาเสพติด ฯลฯ

 

สำหรับการดำเนินการคัดเลือกเยาวชนและครอบครัวอุปถัมภ์

๑)  มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับจังหวัดเพื่อพิจารณาคัดเลือกเยาวชนและครอบ ครัวอุปถัมภ์ตามคุณสมบัติที่กำหนดโดยมีคณะกรรมการจากทุกภาคส่วนที่

มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ผู้แทนของผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนของประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด โดยมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานทางการศึกษาเป็น

เลขานุการ

๒)  มีผู้แทนของคณะกรรมการดำเนินการโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ร่วมสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทุกครั้งที่ดำเนิน การ

๓)  การพิจารณาเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเป็นเยาวชนในสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นหลัก เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ขาดโอกาสทางสังคมเป็นจำนวนมาก

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=478630885976931&set=t.100018533740808&type=3&theater

นายอติรุจ ดือเระ เยาวชนโครงการ รุ่น 31 จากอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา  ได้อธิบายกิจกรรมต่างๆเมื่อได้เข้าร่วมว่า

๑)  กิจกรรมปฐมนิเทศครอบครัวอุปถัมภ์ เยาวชน ครูพี่เลี้ยง

๒)  กิจกรรมพิธีเปิดและส่งมอบเยาวชนให้แก่ครอบครัวอุปถัมภ์ พิธีปิด อำลา คณะกรรมการ วิทยากรและครอบครัวอุปถัมภ์

๓)  กิจกรรมพำนักกับครอบครัวอุปถัมภ์ ๑๕ วัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิต เช่น การศึกษา การประกอบอาชีพ ตลอดจนการใช้ชีวิตร่วมกัน  ในสังคมอย่างสงบ

และสันติ

๔)  กิจกรรมเรียนรู้ และทัศนศึกษาสถานที่สำคัญๆ และประวัติบุคคลสำคัญที่นับถือศาสนาอิสลามในประเทศไทย

๕)  กิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๖)  กิจกรรมเรียนรู้ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในโลกปัจจุบัน

จากได้ร่วมกิจกรรมต่างๆมีผลมากมายเช่น

๑)  เยาวชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นมุสลิมที่แตกต่างจากบริบทของสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้กับ

บริบทของสังคมในกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง

๒)  เยาวชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวอุปถัมภ์ที่อยู่สังคมพหุวัฒนธรรมที่แท้จริง มีความเข้าใจ

ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมที่ต่างกันมากยิ่งขึ้น จนสามารถนำไปพัฒนาตนเอง และเป็นผู้นำที่ดีในการพัฒนาชุมชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้

๓)  เยาวชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เห็นช่องทางในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามากยิ่งขึ้น จาการแนะนำของครอบครัวอุปถัมภ์และแบบอย่างของ

บุตรธิดาของครอบครัวอุปถัมภ์ เยาวชนหลายรุ่นได้รับการอุปการะจากครอบครัวอุปถัมภ์ในการศึกษาต่อ และได้รับทุนการศึกษารายปีจากโครงการ

๔)  เยาวชนมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความภาคภูมิใจและยึดมั่นในอุดมการณ์ความเป็นไทยมากยิ่งขึ้น สามารถเป็นแกนนำเยาวชนในการพัฒนาชุมชน

ร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อเสริมสร้างสันติสุขอย่างถาวรต่อไปได้

๕)  ครอบครัวอุปถัมภ์มีความภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสร่วมแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และพัฒนาความสัมพันธ์เป็นเครือข่ายครอบครัวสันติสุขต่อไป

๖)  สถานศึกษาและครอบครัวของเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภาคภูมิใจ และมีทัศนคติที่ดีต่อเจ้าหน้าที่และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ให้การสนับสนุน

๗)  หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถนำเยาวชนที่ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมนำไปเป็นเครือข่ายในการแก้ปัญหาพัฒนาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

๘)   เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ทางธรรมชาติ เช่น เขาใหญ่ เป็นต้นรวมทั้งเยาวชนเกิดทักษะการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับเพื่อนต่างศาสนิก และกล่าวเสริมอีกว่า “ทุกวันนี้ยังคงไปมาหาสู่กับครอบครัวอุปถัมภ์อาทิตย์ละครั้ง ทำให้เรารู้สึกว่าเเม้จะห่างไกลบ้านมาร่ำเรียนถึงธรรมศาสตร์ เเต่ก็ยังมีพี่น้องที่โครงการสานใจไทยสู่ใจใต้เชื่อมสัมพันธ์ให้เรารู้สึกอบอุ่นอยู่เสมอ”  นายอติรุต ดือเระ เล่าให้ฟังเพิ่มว่าพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เคยให้ข้อคิดต่อพวกเราเยาวชนที่ร่วมโครงการว่า  “ตั้งใจเรียนเเละเป็นคนดีน่ะ” บนสนทนาวันนั้นยังย้ำเตือนในทุกวันของการใช้ชีวิต เราไม่ได้เกิดมาเพื่อตัวเองเท่านั้น เรายังเกิดมาเพื่อคนรอบข้าง เพื่อสิ่งมีชีวิตอื่น

ช่วงท้ายของรายงานขอนำข้อคิดเห็นของนางสาวรอบีอะห์ นุ้ยประสิทธิในฐานะครูผู้ดูแลนักเรียนโครงการรุ่นที่ 22 กล่าวว่า  ท่านพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เคยให้ข้อคิดต่อเยาวชนที่ร่วมโครงการว่า (ยังจำติดตาติดใจ) “หลานรักทุกคน… เสียดาย และ เสียใจจริงๆ ที่ไม่ได้พบกัน เมื่อร่างกายแข็งแรงขึ้น เราจะได้พบกันอีก หลานรักทุกคน ต้อง ไม่ลืม “ความเป็นไทย” และ “ความเป็นธรรม” สองวลี นี้ก่อให้เกิดความรัก ในประเทศของเรา ที่ทุกคนเป็นเจ้าของ” “เกิดมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน”

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2102799549776913&set=t.100001406647991&type=3&theater

นางสาวรอบีอะห์ นุ้ยประสิทธิ

/////////////////////////////////////////////

 

 

 5,064 total views,  6 views today

You may have missed