พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รมต.ศึกษาธิการมาเลเซีย ชี้ ภาษาเป็นสื่อสู่สันติภาพในสังคมพหุวัฒนธรรม วันนอร์ คือ ไอดอล ต้นแบบบุคคลตัวอย่างในพื้นที่ “ภาษามลายูควรเป็นภาษาของโลกไม่ใช่เฉพาะแค่อาเซียน”

แชร์เลย

รายงานพิเศษ โดย ตูแวดานียา มือรีงิง 

สัมมนานานาชาติเสริมสร้างความเข้มแข็งภาษามลายู/อินโดนีเซียสู่ประชาคมอาเซียนครั้งที่ 4 ภายใต้สโลแกน จัดโดยมหาวิทยาลัยฟาฏอนีร่วมกับสถาบันภาษาและวัฒนธรรมมาเลเซียและมหาวิทยาลัยมูฮัมมาดียะห์ ซูรากาตาร์ อินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2561 ที่มหาวิทยาลัยฟาตอนี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี   สัมมนาในครั้งนี้เป็นการสัมมนาต่อเนื่องที่จัดขึ้นในทุกๆสองปีครั้ง โดยเริ่มจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2555 2557 2559 ตามลำดับ ซึ่งผลการสัมมนาครั้งแรกได้กำเนิดสถาบันภาษาและวัฒนธรรมมลายูไทยแลนด์ สำหรับผลการสัมมนาครั้งที่ 2 ได้เกิดเครือข่ายความร่วมมือภาษามลายูในระดับการศึกษาอุดมศึกษาแห่งประเทศไทยเป็นต้น

สัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.มัสลี บิน มาเล๊ก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซียมาเป็นประธานในพิธีเปิดและท่านได้กล่าว ปาฐกถาพิเศษให้กับผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ด้วย โดยท่านได้กล่าวในตอนหนึ่งว่า ทุกอารายธรรมเริ่มจากความฝัน จีนแผ่นดินใหญ่แต่ก่อนยากจนแร้นแค้น แต่ฝันอยากแก้ปัญหาความยากจน จนในปัจจุบันสามารถผงาดเป็นหนึ่งของโลกแทนที่สหรัฐอเมริกาและยุโรป การอ่านหนังสือคือมิตรแท้ในทุกเวลา ช่างน่าได้เปรียบยิ่งนักสำหรับคนที่ได้อ่านหนังสือ ที่สามารถโลดแล่นความคิดของเขาผ่านตัวอักษร อารายธรรมมลายูเคยเรืองนามในเกือบทุกด้าน เช่น สถาปัตยกรรม การศึกษา สาธารณสุข การทหาร และอื่น ๆ

“นับเป็นเกียรติอย่างสูงสำหรับผมในวันนี้ มีบุคคลสามท่านในประเทศไทยที่ผมอยากพบมากที่สุด คือหนึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิสมาอีล ลุฎฟี อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ซึ่งผมได้พบกับท่านที่รัฐเปอร์ลิส คนที่สองคือท่าน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนซึ่งท่านได้จากพวกเราไปแล้ว ผมพบท่านที่กัวลาลุมเปอร์  และคนที่สามคนที่ผมรอที่จะ อยากพบมากที่สุดเพราะผมติดตามผลงาน บทบาทของท่านมาตลอด แต่ท่านไม่รู้จักผม นั้นคือ ท่านวันมูฮัมมัดนอร์ มะทา ซึ่งวันนี้ผมได้พบท่านในสถานที่แห่งนี้ ท่านเป็นบุคคลทีมีคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อประเทศไทยในฐานะที่ท่านเป็นมุสลิมไทยคนหนึ่งที่มาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ ”ท่าน รมต.กล่าวชื่นชมท่านวันมูฮัมมัดนอร์ มะทา อดีต รมต.มหาดไทยและท่านสนับสนุนคำกล่าวของท่านวันมูฮัมมัดนอร์ มะทาที่ว่า ภาษามลายูควรเป็นภาษาของโลกไม่ใช่เฉพาะภาษาของอาเซียนเท่านั้น

“ดังที่ท่านวันมูฮัมมัดนอร์ มะทาได้กล่าวเมื่อสักครู่ว่า อยากเห็นภาษามลายูเป็นภาษาของอาเซียนและภาษาของโลก ผมเชื่อมั่นว่ามันจะเริ่มขึ้นที่สถาบันแห่งนี้ ภาษา คือ รากฐานของชาติ ภาษาที่แหลกเหลวรอวันวิบัติล่มสลายไปพร้อมๆกับชาตินั้น ๆ ชาติที่ปราศจากวรรณกรรม ประวัติศาสตร์ ภาษา และวัฒนธรรม เป็นชาติที่ไร้วิญญาณ” รมต.ศึกษาธิการมาเลเซียกล่าว

และท่านได้เสนอให้เด็กๆเยาวชนขังหวัดชายแดนภาคใต้คุ้นเคยกับการดูการ์ตูน อูเป็นอีเป็น (UPIN IPEN) เนื่องมาเลเซียประสบความสำเร็จในการนำการ์ตูนดังกล่าวไปสู่เยาวชนในประเทศอินโดนีเซีย

“ผมจะเสนอให้ผู้บริหารการ์ตูนแอนีเมชั่น  Upin Ipin เพิ่มตัวแสดงอีกหนึ่งคือเพื่อนจากภาคใต้ของไทยที่ติดตามบิดามารดาไปเรียนหรือทำงานในมาเลเซีย” รมต.เสริมเพื่อการสนับสนุนการใช้ภาษามลายูให้กับเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากการ์ตูนดังกล่าว ได้รับความนิยามอย่างกว้างขวาง มิใช่แค่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย จนพูดติดปาก betul-betul  สถาบันที่สำคัญอีกหนึ่งสถาบันที่ร่วมส่งเสริมสนับสนุนและปกป้องรักษาภาษามลายูในประเทศมาเลเซียและบรูไนคือสถาบันพระมหากษัตริย์

“มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ก็เช่นกันได้รับความโปรดปรานจากสุลต่านเปอร์ลิส และมกุฏราชกุมารเปอร์ลิสในการส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันในการอนุรักษ์รักษาภาษาและวัฒนธรรมมลายู และเฉกเช่นเดียวกันกับ สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทรงให้การอุปภัมภ์และส่งเสริมการการศึกษา ทุกสถาบันการศึกษา ร่วมถึง มหาวิทยาลัยแห่งนี้”  ดร.มัสลี กล่าวในตอนท้าย

 

 1,757 total views,  4 views today

You may have missed