/// อับดุลหาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา รายงาน///
ลูกหนี้ กยศ. 265 ชีวิต เดินทางเข้าหาพรรคประชาชาติเพื่อขอซบไหล่และเป็นที่พึ่งในการแก้ไขปัญหา. จากการจัดสัมมนาช่วยเหลือลูกหนี้ กยศ. ที่ถูกบังคับคดี. เมื่อวันที่2 ธันวาคมที่ผ่านมา. เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน.ซึ่งมีตัวแทนประชาชาติ 265 คน เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสะท้อนปัญหาให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของพรรคประชาชาติได้ทราบ
ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์คณะทำงานหาทางออกหนี้ กยศ. ของพรรคประชาชาติ
ทนายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ตนในฐานะที่เป็นทนายความในพื้นที่ 3 จชต. ปรากฏว่าปัจจุบันนี้พี่น้องประชาชนในจังหวัดนราธิวาสเอง ที่วิ่งเข้าหาผม มากกว่าบังคับใช้กฏหมายพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นกฏอัยการศึก หรือ พรก. ที่มีมากก่อนหน้านี้ คือประเด็นที่เป็นหนี้ กยศ. ปรากฏว่ามีสถิติเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ชาวบ้านวิ่งเข้าหาผม เพราะชาวบ้านได้รับหนังสือ ได้รับหมายศาลแล้ว ไม่รู้จะก้าวเดินอย่างไร และไม่มีทางออกในการที่จะปลดภาระหนี้ หรือไม่มีปัญญาที่จะผ่อนชำระหนี้ตามเงื่อนไขของ กยศ.ซึ่งกำหนดโดยคณะกรรมการกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ณ วันนี้
ดังนั้นผมเล็งเห็นว่า ปัญหานี้ต้องรีบดำเนินการแก้ไขโดยด่วน ปัญหานี้จึงต้องรีบหันมาดูแล เพราะว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจและอีกหลายอย่าง ณ เวลานี้ ผมจึงมองว่าระเบียบกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาสามารถยืดหยุ่นได้ตามภาวะเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ กฎหมายต้องไม่สร้างความเดือดร้อนและต้องปรับเปลี่ยนแก้ไขให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจด้วย และพิจารณาดูจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาแล้ว ปรากฏว่าในส่วนของกฏกระทรวงที่ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการกู้ยืมเพื่อการศึกษา สามารถแก้ไขและลดหย่อนได้ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการฯ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาของ กยศ. เป็นปัญหาหนึ่งที่จะต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
สิ่งที่ประชาชนเข้ามาหาผม คือคนที่กู้ยืมเพื่อการศึกษาเมื่อ10 ปีที่แล้วหรือคนที่กู้เงินเพื่อการศึกษาหลายๆปีที่แล้ว เราเห็นปัญหาแล้ว แล้วเราเกิดปล่อย คนที่กำลังศึกษาอยู่ ณ ตอนนี้ กำลังก้าวต่อไปในวันข้างหน้ากำลังจะจบปริญญาตรี และพร้อมกับการเป็นหนี้ของรัฐก้อนหนึ่ง กับคนรุ่นใหม่ปัญหามันก็จะสะสม งั้นเรามาแก้ปัญหาวันนี้เพื่อวันข้างหน้าด้วย. ปัญหาของกองทุนผมมองว่าเป็นปัญหา 2 ระยะ ที่สามารถแก้ไขได้
ระยะสั้นก็คือ. ณ ปัจจุบัน ภายใต้ระเบียบที่มีอยู่ เรามีทางออกอย่างไรให้กับประชาชน ผมเพียงมาวันนี้ภายใต้ระเบียบที่มีอยู่ เราสามารถส่องทาง เป็นไฟฉายให้ชาวบ้าน สามารถก้าวเดินไปได้ ภายใต้กรอบของกฏหมายที่มีอยู่ แล้วก็มีทางออกอย่างไร นำเสนออย่างไร ในกรณีที่จบการศึกษาใหม่ การผ่อนชำระ ๑๕ ปีแรก หลังจากนั้นถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้ เราสามารถเจรจาผ่อนชำระหนี้เราควรทำอย่างไร และสำคัญอยู่ว่า กองทุนเพื่อการศึกษาอย่าหันหลังกับปัญหา ให้เดินหน้าเข้าสู่การแก้ไขปัญหา และไปสู่ความเมตตา ความเห็นใจกับคณะกรรมการฯ ด้วยภาวะเศรษฐกิจอะไรต่างๆที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้และในเบื้องต้นในระยะสั้น ก็คือว่า เป็นไปได้ไหมที่เห็นชัดๆของงวดแต่ละงวด ในการผ่อนชำระ เท่าที่ฟังชาวบ้านในพื้นที่ที่สะท้อนประเด็นปัญหาคือว่า ปัญหาการว่างงานและไม่มีงานทำ ภายใต้ระยะเวลา 2 ปี ณ ปัจจุบันนี้ต้องยอมรับ อีกจำนวนมากที่จบการศึกษา 2 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีงานทำ เป็นไปได้ไหมจะเสนอให้ขยายเวลาผ่อนชำระ จาก 2 ปี เป็น 5 ปี
2. เงื่อนไขผ่อนชำระรายเดือน เป็นไปได้ไหมที่จะลดต่ำลงเพื่อให้ประชาชนสามารถปฏิบัติได้
ด้านว่าที่ร้อยตรีไซฟูเลาะ อับดุลเลาะ คณะกรรมการคนรุ่นใหม่แห่งประชาชาติ ที่เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ปัญหาที่จะต้องได้รับการแก้ไข โดยที่ผ่านมานั้นตนเองก็ได้มีส่วนร่วมกับการรับฟังความคิดเห็นประชาชนที่มีความเดือดร้อนและขาดที่พึ่งในการปรึกษาเพื่อหาทางออก จึงเห็นพ้องต้องกันกับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของพรรคประชาชาติที่เสนอนโยบายด้านการแก้ไขปัญหาทางออกหนี้ กยศ. ซึ่งเด่นชัดและเป็นรูปธรรมและสามารถทำได้ พร้อมกันนี้ยังเห็นความสำคัญของการศึกษาที่พรรคประชาชาติเสนอให้เรียนฟรีจนจบปริญญาตรี หรือการแก้ไขปัญหาหนี้ กยศ.ของภาครัฐที่เหมาะสมคือการจัดหางานแก่บัณฑิตที่จบใหม่ หรือการตัดเบี้ยปรับ สำหรับลูกหนี้ กยศ. สำหรับตนเองก็ยังเชื่อว่าหนี้ กยศ. ทุกคนต้องจ่าย แต่ขอเสนอให้รัฐพิจารณาเบี้ยปรับและดอกเบี้ยที่ต่ำลง เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และกฏหมายที่บังคับใช้จะต้องไม่สร้างปัญหาและตอกย้ำประชาชนที่เป็นหนี้ กยศ.
ความตั้งใจที่ทุกคนจะมีการศึกษาถึงปริญญาตรีเพื่อพัฒนาประเทศชาติ แต่กลับสร้างภาระติดหนี้ติดตัวก่อนที่จะมีงานทำ.
โดยคนรุ่นใหม่แห่งประชาชาติ จึงมีความหวังกับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้ กยศ. ของพรรคประชาชาติ ที่สร้างนโยบายที่เด่นชัดและสามารถทำได้จริง และยังเป็นความหวังหนึ่งของลูกหนี้ กยศ. ทั่วประเทศ
จากการรับรู้และกระแสนโยบายพรรคประชาชาติดังกล่าว ทราบว่าใน 3 จชต กยศ. ที่เรื่องอยู่ในชั้นบังคับคดีกับนักศึกษาที่กู้ยืมกับผู้ค้ำประกันประมาณ 6 หมื่นรายเศษ กระแสที่เกิดจากนโยบายประชาชาติและการจัดกิจกรรมช่วยเหลือลูกหนี้ ทำให้กรมบังคับคดีนั่งไม่ติดจึงมีกำหนดการ ในวันที่ 12,15และ17 ธันวาคม 2561 นี้ กรมบังคับคดีจะลงพื้นที่ จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา เพื่อทำการไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี แม้จะเป็นแก้ปัญหาปลายเหตุก็ตาม แต่จะเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาจากรากเหงาที่แท้จริงต่อไป
ด้านพันตำรวจเอกทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่าพรรคประชาชาติเองก็ไม่หยุดแค่นี้. เพราะพรรคประชาชาติ มีศรัทธาต่อการ “การศึกษา” ซึ่งทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ที่รัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณตรงไปให้โรงเรียนสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน เพื่อให้ทุกคนได้เรียน(ฟรี)อย่างมีคุณภาพได้ตั้งแต่เยาว์วัยจนถึงปริญญาตรี
กรณี กยศ การที่รัฐใช้วิธีทวงหนี้โดยการดำเนินคดีผู้กู้ยืมกับผู้ค้ำประกัน เป็นเรื่องที่น่าละอาย อาจเข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะมีเบี้ยปรับ+ดอกเบี้ยที่มากกว่าเงินกู้ พรรคประชาชาติจึงได้เสนอเป็นนโยบายและแนวทางการแก้ เบื้องต้น
-ยกเลิกเบี้ยปรับ
-ถอนฟ้องคดีที่ศาลและงดการบังคับคดี
-ต้องมีช่องทางฟื้นฟูหรือปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ที่เดือดร้อน ประสบปัญหาไม่สามารถใช้หนี้ได้ เช่นการเข้าแผนฟื้นฟูของนิติบุคคล หรือการปรับโครงสร้างหนี้ มีตัวอย่างในอดีตที่รัฐได้ช่วยเหลือคนรวย เช่น กรณี ปรส ที่ลดหนี้ให้คนรวยประมาณ 80%
-แก้กฎหมายไม่ให้มีดอกเบี้ย
-สร้างงาน สร้างอาชีพ ในโครงการรัฐ ที่มีโครงการพัฒนาจำนวนมากเพื่อเป็นการใช้หนี้
///////////////////////////////
786 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.