ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน ถึงแก่กรรม หลังหัวใจวายฉับพลัน
อินนาลิลลาฮวาอินนาอิลัยฮิรอญิอูน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ นักการเมืองมุสลิม ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งที่เป็นเกียรติของชาวไทยมุสลิม ได้กลับสู่ความเมตตาของอัลลอฮฺแล้วเมื่อบ่ายสามโมงวันนี้ เบื้องต้นจะทำพีธีทางศาสนาอิสลาม ที่บ้านท่าอิฐ นนทบุรี ในวันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2560 และจะแจ้งกำหนดการให้ทราบอีกครั้ง ขอพี่น้องช่วยขอดุอาอฺ ขออัลลอฮฺทรงเมตตาแด่ดวงวิญญาณของท่านด้วยเถิด ซึ่ง ดร. สุรินทร์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ที่โรงพยาบาลรามคำแหง ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน สิริอายุได้ 68 ปี
ประวัติ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เกิดวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีบิดาเป็นครูสอนศาสนาอิสลาม ศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดบ้านตาล ศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช และ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์ สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2515 (ก่อนหน้านี้ ดร.สุรินทร์ เคยศึกษาที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 ปี) ปริญญาโทสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2517) และปริญญาเอกด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (พ.ศ. 2522)[2] เริ่มอาชีพนักวิชาการในตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระหว่าง พ.ศ. 2518-2529
การเมือง ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เข้าสู่แวดวงการเมืองในปี พ.ศ. 2529 โดยได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภาผู้แทนราษฎรติดต่อกัน 7 สมัย เคยเป็นเลขานุการของนายชวน หลีกภัย ขณะที่นายชวนดำรงตำแหน่ง ประธานสภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2529-2531) ต่อมาเป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2535-2538[4] และเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 ต่อมาสุรินทร์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน โดยเข้ารับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 หลังจากที่ได้มีการส่งชื่อไปยังรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2550 และได้รับการรับรองจากชาติสมาชิกอย่างเป็นทางการในที่ประชุมผู้นำอาเซียน ณ สิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550
สรุปการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของ ดร.สุรินทร์
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราชปี พ.ศ. 2529, 2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2548
- เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร (นายชวน หลีกภัย) ปี พ.ศ. 2529-2531
- ผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2531-2534
- รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ปี พ.ศ. 2535-2538
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ปี พ.ศ. 2540-2544
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2538– เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาประมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2537– เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)
อ้างอิ้ง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1,100 total views, 4 views today
More Stories
ด่วน ! INC ออกแถลงการณ์ ต่อรัฐบาล ยกเลิกใช้ พรก.ฉุกเฉิน จังหวัดชายแดนภาคใต้ หนุนพูดคุยโต๊ะเจรจาสันติภาพ (มีคลิปแถลง)
แม่ทัพภาคที่ 4 พบปะผู้บริหารทางการศึกษาเอกชน,ผู้บริหารมูลนิธิตาดีกา แดนใต้ ร่วมหารือแก้ปัญหาพื้นที่เพื่อสันติสุข เน้นย้ำ ใกล้ถึงถึงเดือนศิลอด ขอทุกฝ่ายจับมือ “รอมฎอนสันติ” ไม่เกิดเหตุรุนแรง เดือนอันประเสริฐ
กลุ่มพลังมวลชน ผู้นำศาสนา นักเรียน นักศึกษา รวมกว่า 500 คน ”รวมพลังต่อต้านความรุนแรง” ทุกรูปแบบ หน้าแฟลตตำรวจนราธิวาสจุดเกิดเหตุบอมบ์