มีนาคม 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

การจะเยือนไทยของ ดร.มหาเธร์ นำความหวังใหม่ต่อ สันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

แชร์เลย

Bangkok: การจะมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ตน ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ ได้เป่าลมหายใจใหม่ต่อสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยซึ่งก่อนหน้านี้เจอทางตันและจะได้ฟื้นคืนมาใหม่อีกครั้ง
ผู้สังเกตการณ์เชื่อว่าการเยือนสองวันของนายกมาเลเซียคนที่ 7 ที่จะมีขึ้นวันที่ 24 ตุลาคมนี้ นับว่ามีความสำคัญยิ่งยวดที่จะทำหลายทางตันของกระบวนสันภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับมาราปาตานี “การเยือนของนายกมาเลเซียนปลายเดือนนี้นับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาระบวนการพูดคุยสันติภาพที่ประสบทางตันในขณะนี้” ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิมย์รมศรี ผอ.ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวกับเบอร์นามาเมื่อเร็วๆนี้
ในมุมมองของนักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี การเยือนในครั้งนี้ ของ มหาเธร์ จะเป็นก้าวสำคัญของทั้งสองฝ่ายในความร่วมมือของทั้งสองประเทศในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย  ผศ.ดร.ศรีสมภพ เป็นผู้ก่อตั้งองค์ไม่ใช่ภาครัฐในการติดตามความขัดแย้งที่มีชื่อว่า Deep South Watch (DSW), ท่านเชื่อว่า ดร.มหาเธร์และผู้อำนวยการอำนวยความสะดวก ตันสรี อับดุลราฮีม นอร์ จะนำเสนอประเด็นใหม่ๆเพื่อให้ฝ่ายไทยได้พิจารณา
อับดุลราฮีม ซึ่งเป็นอดีตผู้บัญชาการตำตรวจแห่งชาติมาเลเซียและผู้อำนวยการผู้พูดคุยสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้นับว่าท่านเป็นบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ที่กว้างขวางในกระบวนการพูดคุยในภาคใต้และคาดว่าจะมีการพบกันระหว่างทั้งสองฝ่ายที่กรุงเทพมหานคร
อับดุลราฮีมได้รับการแต่งตั้งแทนดาโต๊ะสรี ซัมซามิน ฮาซิม มาเลเซียเป็นผู้อำนวยการอำนวยความสะดวกการพูดคุยสันติภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปลายปี 2557 และได้ดำเนินการพูดคุยระหว่างรัฐบาลไทยกับมาราปาตานีในหลายๆครั้งที่ผ่านมา และฝ่ายไทยก็เช่นกันได้แต่งตั้ง หัวคณะพูดคุยคนใหม่ซึ่งเป็นอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัช แทนที่ พล.อ.อักษรา เกิดผล

ผู้สังเกตการณ์ได้วิเคราะห์เพื่อเติมว่าเรื่องหนึ่งที่จะนำไปเสนอเพื่อพิจารณาในระหว่างการเยือนคือการเข้าร่วมของกลุ่มต่างๆ ในมาราปาตานี ซึ่งจะทำให้การพูดคุยจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น  กลุ่มที่จะเข้าร่วมกับมาราปาตานีในครั้งนี้คือปีกฝ่ายทหารของ บีอาร์เอ็น และกลุ่มของพูโลที่แตกออกจากพูโลรวมเป็นหนึ่ง การเข้าร่วมของปีกกองกำลังบีอาร์เอ็นและพูโล P4 ในมาราปาตานี หากเป็นความจริงจะนำไปสู่ภาพบวกในการพูดคุยในครั้งหน้า ผศ.ดร.ศรีสมภพกล่าวเพิ่มเติมการเข้าร่วมของสองกลุ่มจะทำให้การพูดคุยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ท่านกล่าวอีกว่า การเข้าร่วมของปีกกองกำลังบีอาร์เอ็นจะส่งผลสำคัญต่อกระบวนการพูดคุยเนื่องจากกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มติดอาวุธที่เคลื่อนไหวและทรงอิทธิพลในพื้นทีที่ฝ่ายไทยมักจะกล่าวอ้างเสมอมาว่าเป็นฝ่ายก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา  การที่ไม่มีกลุ่มดังกล่าวในมาราปาตานีตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพูดคุยเกิดการล่าช้าและนำไปสู่ทางตันในที่สุด โดยเฉพาะการกำหนดพื้นที่ปลอดภัย SAFTY ZONE  การเข้าร่วมของทั้งสงกลุ่มจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนั่นคือนำสู่การถกในเรื่องรากเหง้าของความขัดแย้ง และการเรียกร้องออโตโนมีของจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย
“ปัญหาออโต้โนมีในภาคใต้ของไทยหรือการเรียกร้องกำหนดชะตากรรมของตัวเองซึ่งมีกลุ่มที่เรียกร้องในขณะนี้เป็นเรื่องที่ยากที่รัฐไทยจะพูดคุยด้วย มันเป็นข่มขื่นที่ฝ่ายไทยจะยอมรับได้แต่อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องยากที่ทั้งสองฝ่ายจะหลีกเลี่ยงได้ที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องถกกันบนโต๊ะพูดคุย” อ.ศรีสมภพ กล่าว ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รายงานว่าขณะนี้มียอดผู้เสียชีวิติมากว่า 6500-7000 ราย ซึ่งเกิดขึ้นจากความขัดแย้งในพื้นที่นับตั้งแต่ปี 2547 -2561

////////////////////////////////////////////////

ข่าว BERITA HARIAN ONLINE 
17 ตุลาคม 2561 แปลและเรียบเรียงโดยตูแวดานียา มือรีงิง

 678 total views,  2 views today

You may have missed