มีนาคม 28, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

“หญิงเหล็ก ผู้นำสตรีตากใบ” จัดกิจกรรม ละหมาดเพื่อสันติสุข อ่านอารวะ อุทิศบุญแด่ผู้วายชน 14 ปี ม๊อบตากใบ ยันทุกส่วน แสวงหาความเป็นธรรม เดินหน้าสันติภาพ

แชร์เลย

(เขียน 20/10/2561)

ย้อนลำดับสถานการณ์ ชุมนุมม๊อบตากใบ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2547 กลุ่มผู้ชุมนุมที่มีทั้งชาย หญิง และเยาวชน ได้เดินทาง ไปรวมตัว ที่บริเวณ ลานด้านหน้าสถานีตำรวจภูธร อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยผู้ชุมนุมในครั้งนั้น ได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยตัวชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน บ้านโคกกูเว หมู่ที่ 5 ตำบลพร่อน จำนวน 6 คน ซึ่งถูกควบคุมตัวในคดีความไม่สงบในพื้นที่

ภายหลังกลุ่มผู้ชุมนุมเดินขบวนนับพันมาถึงจุดหมายในช่วงเช้า และดำเนินการชุมนุมประท้วงในช่วงบ่าย ฝ่ายรัฐได้ตัดสินใจว่าจะจับตัวแกนนำประมาณ 100 คน ที่เชื่อว่าเป็นผู้ปลุกระดมให้คนมารวมกลุ่มกันต่อต้านรัฐ อันเป็นส่วนหนึ่งของ ‘แผนการ 7 ขั้นตอน’ ต่อเนื่องจากเหตุการณ์ปล้นปืน เมื่อวันที่ 4 มกราฯ ปีเดียวกัน แต่เนื่องจากเห็นว่าแกนนำเหล่านี้ได้กระจายตัวกันอยู่ในหมู่ผู้ชุมนุมนับพัน ฝ่ายรัฐซึ่งได้ระดมกำลังทหารตำรวจมาจนพร้อม จึงตัดสินใจปิดล้อมและสลายการุชมนุม และควบคุมตัวผู้ชุมนุม ก่อม๊อบรวมนับพัน เพื่อนำไปคัดแยกจับกุมแกนนำในภายหลัง

การปะทะสิ้นสุด มีผู้เสียชีวิตทันที 6 คน และเสียชีวิตระหว่างการลำเลียงตัวไปค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เพราะขาดอากาศหายใจ 78 ราย และอีก 1 รายไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลหลังจากนั้น เนื่องจากถูกจับมัดมือ บนรถบรรทุกเป็นเวลาประมาณ 5 ชั่วโมง โดยสภาพร่างกายผู้ชุมนุมเหน็ดเหนื่อย นอกจากนี้ยังอ่อนเพลียเนื่องจากอยู่ในช่วงถือศีลอด

ตามด้วยคดีความยุติธรรมที่ตากใบ

ภายหลังฝุ่นควันตลบที่ตากใบ ประชาชนผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ ต่างร้องหาความยุติธรรม โดยมีการฟ้องร้องต่อกันทั้งหมด 3 คดี

คดีแรก เจ้าหน้าที่รัฐส่งฟ้องผู้ชุมนุมที่รอดชีวิต 59 คน ต่อศาลจังหวัดนราธิวาส ในข้อหาร่วมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ซึ่งภายหลังได้มีการถอนฟ้อง และคดีที่สองได้แก่การที่ญาติผู้เสียหายฟ้องแพ่งต่อกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กองทัพบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งภายหลังได้มีการประนีประนอมยอมความ โดยกองทัพบกยอมรับผิดชอบสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย

และคดีสุดท้ายซึ่งเป็นที่จดจำ คือการไต่สวนกรณีเสียชีวิตของผู้ชุมนุม จำนวน 78 คน ซึ่งศาลจังหวัดสงขลา พิพากษาเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (5 ปีหลังจากนั้น) ว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติการ ‘ตามความจำเป็นแห่งสภาพการณ์เท่าที่เอื้ออำนวย’ และผู้ตายทั้งหมด ตายเพราะขาดอากาศหายใจระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ นอกจากนี้ ในคำพิพากษามีการกำหนดให้เป็นที่สิ้นสุด ไม่สามารถทำการอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์จังหวัดสงขลาต่อได้ ข้อความที่กล่าวขึ้น เป็นส่วนหนึ่งที่ ที่กล่าวเป็นบันทึกประวัติศาสตร์สำคัญ เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สลายม๊อบ ที่หน้า สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส

(20 ตุลาคม 61)  ที่โรงเรียนตาดีกา บ้านจาเราะ หมู่ 1 ต.ไพรวัณ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส นางพาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ได้เดินทางไปร่วมงานและร่วมสังเกตการณ์ ในกิจกรรม พิธีทำบุญและรำลึกผู้เสียชีวิต ในเหตุการณ์ตากใบ ครบรอบ 14 ปี ได้กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ และมีมิติ ในกิจกรรม ส่งเสริมสร้างความรัก และสามัคคี อาทิ มีการจัดละหมาดฮาญัต เพื่อขอพระเจ้า ให้ผู้คนและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดความสงบสุข ร่วมถึงการอ่ารวะ และดุอา ทำบุญ เลี้ยงอาหารแก่ประชาชน และผู้ยากไร้ ซึ่งเป็นการอุทิศบุญ ให้กับผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ตากใบดังกล่าว นอกจากนั้น ยังจัดให้มีกิจกรรม อานาซิป ของเด็กๆ และกีฬา อาทิ ฟุตซอล วอลเล่ย์บอล แชร์บอล ตลอดจนการกวนอาซูรอ สามัคคี ทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามแม้เหตุการณ์จะล่วงเลยร่วม 14 ปี ประชาชนที่เกี่ยวข้อง กับคดีม๊อบตากใบ ผู้ได้รับผลกระทบ และรัฐเอง ก็รู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และรัฐได้เยียวยาอย่างเต็มที่ ซึ่ง ณ.ปัจจุบัน ทุกฝ่ายโดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ ต่างมีจุดหมายเดียวกัน คือ การร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นโดยเร็ว และให้เกิดความมั่นคง อย่างยั่งยืน

(นางแยนะ สะแลแม)

)

ขณะที่นางแยนะ สะลาแม “หญิงเหล็กตากใบ” ในฐานะผู้นำสตรีสันติภาพ อ.ตากใบ กล่าวว่า เธอ เป็นผู้ได้รับผลกระทบ เนื่องจากสามีและลูกชาย ไปร่วมชุมนุม  ที่ตากใบ แต่เธอบอกว่า เธอจะไม่กล่าวย้อนหลัง อดีตที่เจ็บปวด เพราะรัฐได้เยียวยา และแก้ปัญหาเข้าถึงผู้ได้รับผลกระทบตากใบแล้ว ซึ่งในกิจกรรม ไม่ได้เน้นภาพความรุนแรง แต่เน้น ให้คนในพื้นที่ หรือการสร้างจิตสำนึก เพื่อป้องกันเด็กเยาวชน รู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเครื่องมือของผู้ใด โดยใช้กีฬา และวัฒนธรรมในพื้นที่ ในการสร้างความรัก ความเข้าใจ และความสามัคคี ที่ผ่านมาในอดีต เป็นบทเรียน ที่คนรุ่นใหม่ ต้องจดจำ และไม่ควรเกิดขึ้นอีกในอนาคต

อย่างไรก็ตาม นางแยนะ หญิงเหล็กตากใบ ยังฝากเป็นข้อคิด ไปยัง พลโทพรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ แม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ ขอให้ขับเคลื่อนนโยบาย ให้กับทุกฝ่าย อย่างเป็นธรรม และยุติธรรม เชื่อว่า จะมีประโยชน์ ต่อการแก้ปัญหาในเรื่องรักษาความมั่นคง และรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ สร้างสันติสุขอย่างเป็นรูปธรรมได้

////////////////////////////////////////////////////

ทีมบรรณาธิการ SPMCnews รายงาน/ มะดารี โตะลาลา ภาพ

 1,257 total views,  4 views today