มีรายงานข่าวตามบทสัมภาษณ์ของนายกัสตูรี มะห์โกตา ประธานพูโล เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ ที่กระจ่ายผ่านเว็บไซต์ของ Malaysia Kini เป็นภาษามลายู มีข้อสังเกตบางประการที่น่าสนใจก็คือ ผู้อำนวยความสะดวกได้พบกับกลุ่มขบวนการแล้ว และท่านก็อธิบายว่า ฝ่ายที่เข้าร่วมกระบวนการสันติภาพมีมากกว่าวันก่อน ส่วนองค์กรบางองค์กรที่ยังไม่เข้าร่วม (น่าจะรวมถึง “บีไม่มา”) ก็แสดงความสนใจต่อพัฒนาการล่าสุด นอกเหนือจากนี้ ผู้อำนวยความสะดวกจะอาศัยประสบการทำงานเป็น ผบ. ตำรวจแห่งชาติ (และผบ. สันติบาลด้วย) อีกประเด็นที่ควรสังเกตก็คือความเข้าใจที่อ่อนแอของนักข่าวมาเลเซียเกี่ยวกับสถานการณ์และพัฒนาการของความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้หรือปาตานี เช่น การใช้คำว่า “กระบวนการเจรจา” ทั้งๆ ที่การเจรจายังไม่เกิดขึ้น และไม่ได้ติดตามพัฒนาการขององค์กรพูโลที่ได้รวมตัวกันแล้ว (ทั้ง ๆ ที่สัมภาษณ์ประธานขององค์กรก็ตาม) เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมต้องให้คะแนนสูงกว่าต่อสื่อมวลชนบางสาขาของประเทศไทย ที่มีความเข้าใจที่ชัดเจนและติดตามพัฒนาการอย่างใกล้ชิด ดังนั้น สรุปก็คือ แม้ว่ามีข่าวเกี่ยวกับพื้นที่แห่งนี้มาจากประเทศมาเลเซีย อย่าเพิ่งเชื่อว่ารายงานข่าวนั้นมีความน่าเชื่อถือ 100 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกันกับรายงานข่าวชิ้นอื่น ๆ เราก็ต้องอ่านข่าวเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง
ต่อไปนี้เป็นรายงานข่าวจาก Malaysia Kini ที่ข้าพเจ้าแปลเป็นการหัดฝีมือการแปลครับ (ผมแปลตามการใช้ภาษาของต้นฉบับ ถึงแม้ว่ามีความเข้าใจผิดก็ตาม อย่าว่า ผมเป็นกระบอกเสียงของพูโลแล้ว ก็แล้วกัน ผมแปลเพื่อสันติภาพ ไม่ใช่เพื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งครับ)
********************************
กลุ่มองค์กรขบวนการฯ มั่นใจว่า Rahim Noor จะสามารถขับเคลื่อนการเจรจาสันติภาพได้
กลุ่มปลดปล่อยภาคใต้ของประเทศไทยแสดงถึงความมั่นใจต่อการแต่งตั้งอดีต ผบ. ตำรวจแห่งชาติของมาเลเซีย Tan Sri Abdul Rahm Noor เป็นผู้อำนวยความสะดวกคนใหม่สำหรับการเจรจาสันตติภาพที่กำลังดำเนินการอยู่
องค์กรปลดปล่อยสหปาตานี (พูโล) ชี้แจงว่า พวกเขาคาดว่าจะมีการพัฒนาภายในเวลาอันไม่ไกลที่ทำให้ทั้งสองฝ่าย – สภาชูรอปาตานี (มาตา ปาตานี) และรัฐบาลไทย – จะมานั่งโต๊ะเจรจา
ประธานพูโล นายกัสตูรี มะห์โกตา กล่าวว่า หลังจาก นาย Rahim Noor ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยความสะดวก การเจรจากับรัฐบาลไทยที่เริ่มต้นเมื่อปี 2556 นั้นก็มาถึงจุดเปลี่ยน
“ผมเชื่อว่า เรากำลังเห็นการพัฒนาอยู่ ก่อนหน้านี้ ประเด็นสำคัญในการพูดคุยก็คือการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างทั้งสองฝ่าย แต่ ณ ตอนนี้เรากำลังจะมาถึงการพูดคุยเรื่องการเมือง”
“ตามความเข้าใจของผม ภายในเวลา ๕ ถึง ๖ เดือน ถ้าทุกอย่างดำเนินด้วยดี เราจะสามารถบรรลุระดับความเข้าทใจที่เอื้อต่อการเจรจา” นายกัสตุรีกล่าวต่อ Malaysiakini เมื่อวาน (วันที่ 25 ก.ย. 2561) หลังจากท่านได้พบกับ Rahim Noor ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ขณะนี้ มาราปาตานีและรัฐบาลไทยกำลังพูดคุยเรื่องเงื่อนไขผ่านผู้อำนวยความสะดวก
ก่อนหน้านี้ อดีตหัวหน้าหน่วยข่าวกรอง สำนักนายกรัฐมนตรี Datuk Seri Ahmad Zamzamin Hashim ปฏิบัตหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก แต่หลังจากรัฐบาลผสมภายใต้ Pakatan Harapan นั้นสถาปนาขึ้นมา Rahim Noor ได้รับการแต่งตั้งเพื่อดำเนินหน้าที่ดังกล่าวต่อ
การกบฏในภาคใต้ของประเทศไทยเกิดขึ้นตั้งแต่ ม.ค. 2547 และคร่าชีวิตประชาชน 6000 กว่าคน การปะทะกันและการวางระเบิดยังไม่สิ้นสุด ถึงแม้ว่าคู่กรณีทั้งสองกำลังพยายามจะทำสัญญาณสันติภาพ หนึ่งในความท้าทายอันยิ่งใหญ่ก็คือการโน้มน้าวให้กลุ่มติดอาวุธทุกกลุ่มเข้าร่วมกระบวนการเจรจาสันติภาพ
ขณะนี้ มาราปาตานีประกอบด้วยห้าองค์กร ได้แก่ บี.อาร์เอ็น. (Barisan Revolusi Nasional), บีไอพีพี (Barisan Islam Pembebasan Patani), จีเอ็มไอพี (Gerakan Islam Mujahideen Patani) และกลุ่มย่อยที่แตกออกจากพูโล
กัสตรูอี มะห์โกตา แกนนำองค์กรเอกภาพพูโล (Pulo United Liberation Organization :PULO)
นายกัสตูรีกล่าวว่า ฝ่ายเขาต้องการจะบรรลุการหยุดยิงผ่านโต๊ะเจรจา ท่านก็กล่าวอีกว่า ฝ่ายเขาประสบความสำเร็นในการโน้มน้าว องค์กรแบ่งแยกดินแดนเกือบทั้งหมดเข้าร่วมการเจรจาสันติภาพ ส่วนองค์กรบางองค์กรที่ยังไม่เข้าร่วมก็แสดงถึงความสนใจในพัฒนาการล่าสุด
“เรื่องนี้ (การกบฏ) จะไม่สิ้นสุดอย่างง่ายดาย ถึงแม้ว่าเราอาจจะบรรลุข้อตกลงก็ตาม มันต้องใช้เวลาอันยาวนาน แต่สำหรับตอนนี้เราก็มองเห็นพัฒนาการบางอย่าง”
“เราก็ไม่คาดว่าการใช้ความรุนแรงจะหยุดทันที เราจำเป็นต้องพยายามให้ทุกฝ่ายมีความมั่นใจ และ ณ ตอนนี้ผมก็เห็นว่าฝ่ายที่เข้าร่วมกระบวนการนี้มีมากกว่าก่อนหน้านี้ด้วย”
นายกัสตูรีก็อธิบายว่า นาย Rahim Noor จะอาศัยประสบการณ์ที่เคยเป็น ผบ. ตำรวจแห่งชาติในการขับเคลื่อนกระบวนการเจรจาสันติภพ
ท่านอธิบายว่า พูโลมีความมั่นใจสูงในตัวนาย Rahim Noor ตามพัฒนาการล่าสุด และหลังว่าอดีต ผบ. ตำรวจคนนั้นจะมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการขับเคลื่อนกระบวนการเจรจาด้วย
//////////////////////////
เรียบเรียง แปลโดย Hara Shintaro
994 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.