เมษายน 25, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

“27 พ.ย.ชี้ชะตา การเลือกตั้ง กก.อิสลามประจำจังหวัด การเลือกเป็นสิทธิของอิหม่ามในพื้นที่ ท่ามกลางความหวังประชาชนมุสลิม “ผู้นำศาสนาเป็นคนดี คนเก่ง คู่คุณธรรม”

แชร์เลย

“27 พ.ย.ชี้ชะตา การเลือกตั้ง กก.อิสลามประจำจังหวัด การเลือกเป็นสิทธิของอิหม่ามในพื้นที่ ท่ามกลางความหวังประชาชนมุสลิม “ผู้นำศาสนาเป็นคนดี คนเก่ง คู่คุณธรรม”

 

การเลือกตั้งคณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัด ที่จะมีขึ้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งผู้นำศาสนา ที่มีอำนาจบริหารจัดการกิจการศาสนาอิสลามทั้งหมดในเขตจังหวัดนั้นๆ มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของมุสลิม รวมทั้งเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญในการปฏิบัติงานของหน่วยงานภาครัฐต่างๆ รวมทั้งเป็นฐานในการเลือกตั้งผู้เหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ผู้นำศาสนาอิสลามสูงสุดของประเทศ

การเลือกตั้งคณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัด ที่จะมีขึ้นในเร็ววันนี้ เป็นไปตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทย และเป็นสิทธิของอิหม่ามประจำมัสยิดต่างๆที่ในพื้นที่เป็นผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งลงคะแนน

เปิดกฎกระทรวงกำหนดวิธีคัดเลือกกรรมการอิสลามจังหวัด

สำหรับวิธีการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด กำหนดไว้ในกฎกระทรวง (พ.ศ.2542) ข้อ 9 ระบุว่า เมื่อคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทยประกาศให้จังหวัดใดมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดว่างลง ให้กระทรวงมหาดไทยแจ้งให้ผู้ว่าราชการจัดให้มีการประชุมอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นเพื่อคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

ในการประชุมคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำจังหวัดตามวรรคหนึ่ง ต้องมีอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนอิหม่ามประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงจะเป็นองค์ประชุม และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นประธานในที่ประชุม

ให้อิหม่ามประจำมัสยิดที่มาประชุมคนหนึ่งมีสิทธิเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ไม่เกินจำนวนของกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนั้น หรือไม่เกินจำนวนตำแหน่งที่ว่างลงแล้วแต่กรณี

ข้อ 10 ในกรณีที่ผู้ได้รับการเสนอชื่อมีจำนวนเท่ากับจำนวนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะทำการคัดเลือกในคราวนั้น ให้ถือว่าผู้ได้รับการเสนอชื่อเหล่านั้นได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

ข้อ 11 ในกรณีที่ผู้ได้รับการเสนอชื่อมีจำนวนมากกว่ากรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะทำการคัดเลือกในคราวนั้น ให้อิหม่ามประจำมัสยิดที่มาประชุมออกเสียงลงคะแนน

ให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลำดับลงมาจนเท่ากับจำนวนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะทำการคัดเลือกเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

ถ้ามีผู้ได้รับการคัดเลือกได้คะแนนเท่ากันจนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับตามวรรคสองได้ ให้ประธานในที่ประชุมจับสลากให้ได้ผู้ได้รับการคัดเลือกครบจำนวนกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะทำการคัดเลือกในคราวนั้น

เมื่อได้ครบจำนวนแล้วให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไปยังกระทรวงมหาดไทย

อย่างไรก็ดี มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม ได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้

(1) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 17 (มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ / เป็นมุสลิมผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด / เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี / เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามโดยเคร่งครัด / เป็นผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับทุกศาสนา / เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข / ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย / ไม่เป็นผู้เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ / ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่ห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง)

(2) เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีก่อนวันคัดเลือก

(3) มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปีก่อนวันคัดเลือก

ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เช่นกัน   ต้องยอมรับว่ากระบวนการคัดเลือกคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยังไม่เป็นที่รับรู้ในวงกว้างมากนัก โดยเฉพาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ สาเหตุประการหนึ่งอาจเป็นเพราะกฎหมายไม่ได้เปิดให้ประชาชนมีสิทธิร่วมคัดเลือกเป็นการทั่วไป  อาทิ  ในส่วนนราธิวาสมีทั้งหมด 618 มัสยิด ซึ่งและเป็นสิทธิที่จะเลือกคณะกรรมการอิสลาม จากการสมัครเป็นคณะกรรมการอิสลาม จะมาสมัครเป็นทีมงานก็มี     และในวันที่ 27 พฤศจิกายนนี้    ใน  3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การเลือกตั้งคณะกรรมการอิสลามชุดใหม่นั้น  ภาครัฐได้ตั้งความหวังเช่นกัน กล่าวคือ เมื่อคณะกรรมการอิสลามชุดใหม่ได้เข้ามาทำงาน   การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ และก็ให้ช่วยรัฐบาลแก้ปัญหาโดยทำงานร่วมกับรัฐบาลมากยิ่งขึ้น สิ่งสำคัญคือ การสร้างความเข้าใจกับชาวบ้านให้มากขึ้น และขอให้มีความลึกซึ้งให้ถึงรากหญ้าด้วย

การชี้ชะตา ในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ จะเป็นวันสำคัญขององค์กรศาสนาอิสลาม ตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 คือ อิหม่ามทุกคนในแต่ละจังหวัดจะไปประชุม ณ สถานที่ ซึ่งโดยปกติปลัดจังหวัดจัดให้ โดยปลัดจังหวัดเป็นประธานในการจัดประชุมอิหม่ามให้มีการเลือกบุคคลมาเป็นกรรมการอิสลามประจำจังหวัด

ส่วนหลักการ หรือวิธีการเลือก คือ อิหม่ามในที่ประชุม จะเสนอชื่อบุคคลที่ตนรู้จัก จำนวน 1 คนหรือมากกว่า แต่ไม่เกิน 30 คน เสนอให้เป็นกรรมการในสิทธิของตน มีเพื่อนอิหม่ามในที่ประชุมรับรองจำนวนหนึ่งอิหม่ามในที่ประชุม มีสิทธิเสนอชื่อบุคคล และมีสิทธิรับรองชื่อบุคคลที่ถูกเสนอชื่อไปเขียนในกระดาน และให้เลขประจำตัว กำกับที่ชื่อ สำหรับการลงคะแนนต่อไป เมื่อมีการเสนอชื่อ และกำหนดหมายเลขกำกับชื่อมากพอ

จนมติที่ประชุมรับว่าพอแล้ว อิหม่ามแต่ละคน ทุกคน จะไปกาหมายเลขของชื่อบุคคลที่ตนต้องการ กา 1 คน หรือมากกว่าก็ได้ แต่ไม่เกิน 30 หมายเลข เมื่อนับคะแนนหมดแล้ว เรียงลำดับคะแนนของบุคคลที่ถูกเสนอชื่อมากที่สุด และรองลงไปจำนวน 30 คน บุคคลลำดับที่ 1-30 คือ คณะกรรมการกลางอิสลามประจำจังหวัดชุดใหม่ อยู่ในวาระ 6 ปี คณะกรรมการทั้ง 30 คนจะไปประชุม คัดเลือกประธาน เลขานุการ กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในโควตาของจังหวัดส่งไปส่วนกลาง

นอกจากนั้น เป็นการบริหารจัดการของประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในแต่ละจังหวัด อิหม่ามมัสยิดต่างๆ จะมีผล และได้รับผลจากการเลือกคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเพราะจะเป็นคณะกรรมการบริหารกิจการมัสยิด ตามอำนาจ บทบาท ภาระหน้าที่ ที่ระบุใน พ.ร.บ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 มุสลิมทุกครัวเรือน ได้รับประโยชน์จากการบริหารครอบครัวมุสลิม เกี่ยวข้องตั้งแต่การแต่งงาน การหย่า การแบ่งมรดก การพัฒนาระบบสังคมในแนวทางอิสลาม และการประสานสัมพันธ์กับทุกหน่วยงานพัฒนาในทุกระดับ ตามศักยภาพของคณะผู้บริหารองค์กรนี้

สำหรับบทบาท อำนาจ หน้าที่ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด พ.ร.บ. การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 มาตรา 26 : ในจังหวัดที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นเกี่ยวกับศาสนาอิสลามต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
(2) กำกับดูแล และตรวจตราการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ในจังหวัด และจังหวัดอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย
(3) ประนีประนอม หรือชี้ขาดคำร้องทุกข์สัปปุรุษประจำมัสยิด ซึ่งเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
(4) กำกับดูแลการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดให้เป็นไปโดยเรียบร้อย
(5) พิจารณาแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
(6) สอบสวนพิจารณาให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพ้นจาก
ตำแหน่งตามมาตรา 40(4)
(7) สั่งให้กรรมการอิสลามประจำมัสยิดพักหน้าที่ระหว่างถูกสอบสวน
(8) พิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้งการย้าย การรวม และการเลิกมัสยิด
(9) แต่งตั้งผู้รักษาการในตำแหน่งอิหม่าม คอ
เต็บ และบิหลั่น เมื่อตำแหน่งดังกล่าวว่าง
(10) ออกหนังสือรับรองการสมรส และการหย่าตามบัญญัติแห่ง
ศาสนาอิสลาม
(11) ประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและมรดกตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม เมื่อได้รับการร้องขอ
(12) จัดทำทะเบียนทรัพย์สินเอกสารและบัญชีรายรับ-จ่ายของสำนักงาน ให้เป็นปัจจุบันและรายงานทุกปีออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลามในจังหวัด

จากการติตาม กระแส แคนดิเดตทีมในพื้นชายแดนใต้ นราธิวาส นับเป็นพื้นที่น่าสนใจ เป็นพื้นที่แข่งกันค่อนข้างเดือด

สำหรับจังหวัดที่ได้รับความสนใจการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานคณะกรรมการอิสลามนั้น ที่ดุเดือนที่สุดไม่พ้นจังหวัดนราธิวาส ที่ตอนนี้ มีแล้ว 3 ทีม จ.นราธิวาส ที่น่าสนใจ ได้แก่ ทีมของบาบอซาฟีอี เจ๊ะเลาะ ประธานกรรมการอิสลามประจําจังหวัดนราธิวาสคนปัจจุบัน ทีมของบาบออับดุลเร๊าะห์มาน อับดุลสมัด อดีตประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส และทีมใหม่ คือ ทีมใหม่ ที่สนับสนุนโดย บริษัท M1 ซึ่งเป็นบริษัทธุรกิจที่เป็นยอดนิยมในปัจจุบัน

ท่ามกลางกระแสข่าวโชเชี่ยน ที่อ้างถึง อาจมีการกระแสการใช้เงิน ในการเลือกตั้ง คณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายนิมุขตาร์ วาบา อดีต สว. แต่งตั้ง ปัตตานี และเป็นผู้บริหารโรงเรียนดรุณศาสน์วิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนศาสนาของตนเองในอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ได้กล่าวยืนยันในเรื่องดังกล่าว ว่า ผู้ที่มีหน้าที่เลือกคณะกรรมประจำจังหวัดในครั้งนี้ มีสถานนะเป็นอีหม่ามผู้นำศาสนา ทุกคนมีความรู้ในเรื่องศาสนา เป็นอย่างดี และรู้ว่าการรับเงิน เพื่อลงคะแนนเสียง จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและเป็นไปไม่ได้เลย เพียงแต่ทุกคนต้องต่อสู้ในหนทางที่ถูกต้อง เพื่อให้คนที่ทุกคนคาดหวังมาเป็นคณะกรรมการสลาม ในองค์กรเท่านั้นเอง

อย่างไรก็ตาม อีกไม่กี่วัน จะทราบถึงผู้ที่จะมาเป็นคณะกรรมการอิสลาม ในแต่ละจังหวัดชุดใหม่  ทุกคนยังคงคาดหวัง ผู้ที่จะมาเป็นคณะกรรมการอิสลาม  โดยเฉพาะคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการเป็นผู้นำ ที่พร้อมด้วยความรู้ ความสามารถ คู่คุณธรรม ในการบริหารองค์กรและทำหน้าให้ประชาชนที่เป็นมุสลิมในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ในครรลองของศาสนาอิสลามที่เป็นรูปธรรมต่อไป

บท…บรรณาธิการ SPMCNEWS

 2,006 total views,  4 views today

You may have missed