นาวาเอกบุญเกิด มูลกัน ผู้บังคับการ กรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ ได้มอบใบเกียรติคุณ บุคคลตัวอย่าง ผู้ทำคุณประโยชน์ ต่อส่วนรวม และให้ความร่วมมือ เป็นอย่างดี ในการดูแลรักษา ฟื้นฟู ป่าบ้านต้นตาล ให้กับชาวบ้าน ประกอบด้วย หญิง ชาย และเยาวชน จำนวน 50 คน ซึ่งเป็นบุคคลในพื้นที่หมู่บ้านต้นตาล หมู่ 2 ต.จอเบาะ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส เป็นโครงการป่าชุมชนบ้านต้นตาล โดยชาวบ้าน ฝายชะลอ จัดทำขึ้นมา ซึ่งจัดทำขึ้นมาเป็นชั้น ๆ โดยอาศัยความสามัคคีของคนในชุมชม ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและใช้วัสดุก่อสร้าง ที่มีอยู่ในชุมชน เพื่อกักเก็บน้ำและสร้างความชุมชื้น ในรอบบริเวณป่า ที่จดทะเบียนเป็นป่าชุมชน บนเนื้อที่ : 173 ไร่ 2 งาน 0 ตารางวา ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าบูงอ อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส
นายมะซี มะเกซง ประธานโครงการป่าชุมชมบ้านต้นตาล บอกกับเราว่า ตนและ นางไฮไรดา นิติธรรม (ภรรยา) มีธุรกิจอาชีพการค้าในพื้นที่ แต่ด้วยเห็นพื้นป่าถูกทำลาย และป่าเสื่อมโทรม ในพื้นที่หมู่บ้านเริ่มขาดน้ำในฤดูร้อน ในปี 2558 จึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไร ที่จะพลิกฟื้นพื้นที่ป่า จึงได้ชักชวนเยาวชนในพื้นที่เข้าโครงการป่าชุมชน โดยได้น้อมนำศาสตร์พระราชาในสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช โครงการป่ารักน้ำ นอกจากไม่ตัดไม้ทำลายป่าแล้ว ต้องอนุรักษ์ป่า จำเป็นที่ต้องมีน้ำเพื่อโอบอุ้มป่า เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ นั่นคือแหล่งน้ำ จากการสำรวจสภาพทั่วไป พื้นที่ป่าราบเชิงเขาลักษณะดินเป็นดินร่วมปนทราย เป็นป่าดิบชื้นมีความอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้ขนาดใหญ่และเล็กขึ้นอยู่หนาแน่น มีพันธุ์ไม้นานาชนิดขึ้นอยู่หนาแน่น เช่น หวายต่างๆ และพืชชั้นล่าง จำพวกเฟิร์นต่างๆ และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า โดยเฉพาะนกเงือก ที่หาดูได้ยาก
ต่อมาได้กับชาวบ้าน ลงมือจจัดทำฝายชะลอน้ำ ตามแนวทางโครงการพระราชดำริฯ ขุดโดยใช้แรงงานของชาวบ้าน นำไม้ไผ่ นำหินทำเป็นฝายแบบหูช้าง ตามความเหมาะสมกับพื้นที่ กักเก็บน้ำในฤดูฝนและชะลอเก็บน้ำในฤดูแล้งให้ดินชุมชื้นตอลดทั้งปี เพื่อให้ป่า และสัตว์ได้ใช้ประโยชน์มากที่สุด ทั้งนี้ รอบบริเวณได้พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน ทั้งเยาวชน และคนรุ่นเก่า ที่นี่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ คู่ป่า คู่น้ำ คู่ชุมชนตลอดไป ซึ่งสามารถกล่าวได้เต็มปากเต็มเสียงว่า โครงการป่าชุมชนบ้านต้นตาลเป็นการริเริ่มโดยคนในพื้นที่ชุมชน เป็นสิ่งที่ชาวบ้านทำขึ้นมา ด้วยความจริงใจ และหวงแหนทรัพยากรในพื้นที่บ้านเกิดเมืองนอน ถือได้ว่ากลุ่มชาวบ้านมีความรู้ความสามารถ ทำได้ดี ส่งเสริมสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพื่อพัฒนาเป็นโครงการป่าชุมชนบ้านต้นตาล เป็นต้นแบบในอนาคต และส่งเสริมเป็นหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
ชาวบ้านและเราจัดทำ โครงการป่ารักน้ำ ชุมชนรักป่า บ้านต้นตาล อ.ยี่งอ เป็นจิตอาสาอันบริสุทธิ์ เพื่อประโยชน์ส่วนร่วม ไม่ต้องการผลตอบแทนใดๆ นอกจากชาวบ้าน ได้รับประโยชน์เท่านั้น “ นางไฮไรดา นิติธรรม กล่าว ที่นี้ เราชาวบ้าน ได้ร่วมมือ ร่วมใจ ทำเพื่อแผ่นดิน หากป่าถูกทำลาย เขาบูเกะบูงอ คำว่า บูเกะ คือ เขา บูงอ ในที่นี้หมายถึง หินงอก เป็นป่าเขาผืนสุดท้าย ในหมู่บ้าน ที่ชาวบ้านต้องรักษา ตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ชาวบ้านได้ดูแลรักษาป่า จัดทำแหล่งน้ำ กักเก็บน้ำ บริหารจัดการน้ำใช้ในทุกฤดูกาล ให้พื้นที่ป่าและรอบบริเวณ ชุ่มชื่น อุดมสมบูรณ์ ปัจจุบัน ป่าบูเกะบูงอ บ้านต้นตาล ที่เคยเสื่อมโทรม ได้ถูกฟื้นฟูขึ้นโดยชาวบ้านทุกคน ต้นไม้เติบโตใหญ่ การทำการเกษตรได้ผลดี สร้างผลผลิตให้ชาวบ้านได้มากขึ้น สัตว์ป่าที่หายไปกว่า 50 ปี กลับได้พบเห็นอีกครั้ง อาทิ นกเงือก ที่พบได้ยาก ได้กลับมาพื้นที่ป่า ที่ชาวบ้านดูแลในโครงการอีกครั้ง ซึ่งนับเป็นตัวชี้วัด ของระบบนิเวศวิทยา พื้นที่ป่า รักน้ำ บ้านชุมชมบ้านต้นตาล เริ่มกลับมาอุดมความสมบูรณ์ อีกครั้ง
ต้องชื่นชมชาวบ้านบ้านต้นตาล บูเกะบูงอ อ.ยี่งอ ในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ทรัพยากรป่าไม้ และแหล่งอาหารธรรมชาติ ให้มีความสมบูรณ์ การสร้างจิตสำนึก และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน อีกทั้ง ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตามแนวพระราชดำริฯ การสร้างความตระหนัก ในการอนุรักษ์ ป่ารักน้ำโดยชุมชน การมอบใบเกียรติคุณ ให้กับชาวบ้านในโตรงการ ชุมชนบ้านต้นตาล เป็นต้นแบบป่ารักน้ำที่เป็นรูปธรรม อนึ่ง เพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ในการสร้างขวัญกำลังใจ จิตอาสาที่บริสุทธิ์ สร้างคุณความดีให้แผ่นดิน นาวาเอกบุญเกิด มูลกัน ผู้บังคับการ กรมทหารพรานนาวิกโยธิน กองทัพเรือ กล่าวทิ้งท้ายอย่างน่าสนใจ
สำหรับ ชุมชนบ้านต้นตาล ปี 2559 ป่าชุมชนบ้านต้นตาล อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ได้รับรางวัลรองชนะเลิศป่าชุมชนดีเด่น ด้าน ” สตรีอาสา พัฒนาป่าชุมชน ” โครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” และปี 2560 ได้รับรางวัล โครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” บ้านต้นตาล อ.ยี่งอ จ.นราธิวาส ด้าน ชุมชนวัฒนธรรมดีเด่น ระดับประเทศ อีกด้วย จึงเป็นตัวการันตี ที่ริเริ่ม โดยชาวบ้านหรือชุมชน ในการสร้างความรัก ความสามัคคี ซึ่งนับได้ว่า เป็นต้นแบบ ในการสร้างชุมชนเข็มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
/////////////////////////////////////////////////
เขียนวันที่ 19 สิงหาคม 2561
โดย…รพี มามะ บรรณาธิการข่าว/ ภาพ/มะดารี โตะลาลา
2,355 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.