เมษายน 20, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ชาวสวนมังคุดที่นราธิวาสทยอยเก็บผลผลิต หลังผลผลิตทยอยสุก ราคาดี ขณะที่ศอ.บต.ร่วมกับกระทรวงพานิชย์ พร้อมผลักดันผลไม้ชายแดนใต้ สู่ผู้บริโภคและตลาดโลก มั่นใจสร้างรายได้ช่วยประชาชน ส่งเสริมเศรษฐกิจชายแดนใต้

แชร์เลย
ชาวสวนในพื้นที่บ้านลำภู  อำเมือง จังหวัดนราธิวาส เร่งเก็บผลมังคุด ซึ่งกำลังสุกได้ที่บนต้น เพื่อนำไปส่งขายให้กับพ่อค้าที่มาเปิดจุดรับซื้อถึงในพื้นที่ส่งขายกิโลละ 25-35 บาท มีรายได้ถึงวันละ 400-500 บาท
“มังคุด” ที่จัดได้ว่าเป็นราชินีผลไม้ไทย ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดอาการร้อนใน กากใยของเนื้อมังคุดยังช่วยเรื่องระบบขับถ่ายแก้ท้องผูก อีกทั้งมีวิตามินซีสูงต้านอนุมูลอิสระ ส่วนฟอสฟอรัส โพแทสเซียมช่วยให้ระบบเผาผลาญพลังงานเป็นปกติ   นอกจากนี้เปลือกของมังคุดยังมีสารให้รสฝาด คือ แทนนิน แซนโทน (โดยเฉพาะแมงโกสติน) แทนนินมีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว แมงโกสตินช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนองได้ดี ในทางยาสมุนไพร ใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ ฝนกับน้ำปูนใส แก้ท้องเสีย เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส ใช้รักษาอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย เปลือกมังคุด มีสารป้องกันเชื้อราเหมาะแก่การหมักปุ๋ย
 ในปีนี้มังคุดในพื้นที่ เริ่มทยอยสุกในช่วงปลายเดือนมิถุนายน เป็นต้นมา ชาวสวนได้ทยอยเก็บผลมังคุด ไปส่งขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อในพื้นที่ เพิ่มความสะดวกให้กับชาวสวนมังคุด มารับซื้อถึงในพื้นที่ต่างบอกว่า ช่วงนี้มังคุดเริ่มสุก ราคาดี แรก ๆ ขายในราคา กิโลกรัมละ 30-35 บาท ขณะนี้ เริ่มลดลงแล้ว เหลือ 25 บาท โดยราคามังคุดที่นี่จะขึ้นลงตามราคามังคุดของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งราคาถูกหน่อยแต่ก็ไม่ต้องไปนั่งขายเองที่ตลาด ไม่มีเวลา และบางวันมีผลผลิตเป็นร้อย ๆ กิโล ถ้าไปขายเองก็คงจะขายไม่หมด ทำให้มีรายได้เสริม จุนเจือเหลือครอบครัวอีกทางหนึ่งด้วย
การเก็บผลมังคุดนั้น ชาวสวนก็จะใช้วิธีปีนขึ้นไปบนต้น เนื่องจากจะเห็นผลผลิตที่สุกได้มากกว่าการใช้ไม้สอยเก็บ โดยจะเลือกเก็บผลผลิตที่เป็นเส้นแดง ๆ ไม่สุกมาก ซึ่งเป็นที่ต้องการพ่อค้าที่มารับซื้อ หากเก็บผลผลิตที่สุกมากพ่อค้าก็จะไม่รับ
ในส่วนการช่วยเหลือเกษตรกรนพื้นที่นั้น ทางศูนย์อำนวยการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมด้วยกระทรวงพานิช และหน่วยงานร่วมประชารัฐ3จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เตรียมความพร้อมช่วยเหลือในด้านต่างๆเช่น ประสานพ่อค้าให้มาซื้อผลไม้จากชาวสวนในพื้นที่ นำผลผลิตผลไม้ต่างๆที่มีอยู่ในพื้นที่ผลัดดันเข้าสู่ตลาดทั่วไทย และสู่ตลาดโลกต่อไป
ทางด้าน นางบุญเสริม คงสุวรรณ อายุ71ปี และ นางพรทิพย์ ไข่มุกข์ ชาวสวนมังคุดในพื้นที่ลำภู เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ต้องการให้ทางหน่วยงานช่วยเหลือด้านการการตลาด และราคา เช่นการผยุงราคาอีกด้วย
สุไลมาน ยุ รายงาน

 980 total views,  2 views today

You may have missed