เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2559 ซึ่งในครั้งนั้น ทรงมีความห่วงใยในปัญหาคนไทยที่พำนักอยู่ในประเทศมาเลเซีย จากกรณีไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์ของคนไทยในรัฐ กลันตัน ประเทศมาเลเซีย
ส่งผลให้ เมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 16 ก.ค.60 นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พร้อมด้วยทีมแพทย์ จากโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลากงสุลใหญ่ ณ. เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำทีมจัดชุดเดินทางยังเมือง ณ เมืองโกตา บารู ประเทศมาเลเซีย เพื่อดำเนินโครงการตรวจสารพันธุกรรม DNA ให้ความช่วยเหลือด้านงานทะเบียนราษฎร์ แก่คนไทยที่พำนักอยู่ในประเทศมาเลเซีย
โดยวันนี้ (7 กรกฎาคม 2561) เวลา 10.00 น. ที่ ห้องประชุมน้อมเกล้า ชั้น 1 อาคารอเนกประสงค์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการ ศอ.บต เป็นประธาน พร้อมด้วย นายพงษ์พิทยา ธนไกรศรีทอง ผู้ตรวจราชการกรมการปกครองเขต 8 กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนและภาคใต้ฝั่งอันดามัน, นายพงศ์เทพ ไข่มุกด์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี,นางสาวจันทรรัตน์ งามชนะ รองกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู,อาจารย์นายแพทย์วิระชัย สมัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ร่วมแถลงการณ์จัดเก็บตัวอย่างและตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA) เพื่อแก้ไขปัญหาบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรหรือไร้สัญชาติในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี พลโทยุทธนา ปานมุข หัวหน้าสำนักงานผู้แทนพิเศษ กลุ่มงานอำนวยความยุติธรรมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบฯ และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วม
นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า ที่ผ่านมาปัญหาการไร้สัญชาติ ไม่มีสถานะทางทะเบียนและสิทธิทางรัฐธรรมนูญของบุคคลในประเทศไทยเป็นปัญหาที่สั่งสมมานาน ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้ถูกพบอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ รวมทั้งในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา ซึ่งสาเหตุของปัญหาอาจเกิดจากการตกสำรวจของทางราชการ การไม่แจ้งเกิด ถูกทอดทิ้ง การขาดความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการรับรองสถานะทางทะเบียน รวมถึงปราศจากเอกสารทางราชการหรือบุคคลที่สามารถมาเป็นพยานเพื่อยืนยันสถานภาพ ทำให้บุคคลผู้นั้นกลายเป็นคนไร้สัญชาติและไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร หรือไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน จึงไม่สามารถดำเนินการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น การศึกษา การสมัครงาน การรักษาพยาบาล การเดินทางออกนอกชุมชนที่อาศัยอยู่ การเดินทางไปต่างประเทศ และสวัสดิการขั้นพื้นฐานอื่น ๆ จนกลายเป็นบุคคลผู้ยากไร้ ขาดโอกาสทางสังคม มีสถานะไม่ต่างอะไรจากคนต่างด้าว หากไม่ดำเนินการแก้ไขปัญหาย่อมจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติในระยะยาว โดยผลกระทบไม่จำกัดเฉพาะที่จะเกิดจากกลุ่มบุคคลกลุ่มนี้โดยตรงเท่านั้น แต่จะรวมถึงบุตรหลานที่จะเกิดขึ้นในภายหลังด้วยทำให้เกิดปัญหาด้านสังคมตามมา ดังนั้น ผู้ประสบปัญหาสถานะทางทะเบียนราษฎรจะต้องไปดำเนินการยื่นเรื่องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรที่สำนักทะเบียนท้องที่ที่บุคคลนั้นมีถิ่นที่อยู่ แต่ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ประชาชนจำนวนมากไม่สามารถนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้เพียงพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทยจริง จากกรณีปัญหาดังกล่าว การตรวจพิสูจน์ สารพันธุกรรมหรือการตรวจดีเอ็นเอ (DNA) ซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์จึงถูกนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานประกอบการรับรองสถานะทางทะเบียนราษฎร เพื่อยืนยันว่าบุคคลที่มาขอเพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎรหรือบุคคลที่ยัง ไม่มีสัญชาติไทยนั้น มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตกับบุคคลที่มีสัญชาติไทย กล่าวคือ มีพ่อ แม่ พี่น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นบุคคลสัญชาติไทย
ทั้งนี้ ศอ.บต. ได้ประสานกับกรมการปกครองให้ดำเนินการสำรวจข้อมูลบุคคลที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนหรือผู้ประสบปัญหาทางทะเบียนราษฎรในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีจำเป็นต้องอาศัยการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม(DNA) ความสัมพันธ์ทางสายโลหิต เป็นพยานหลักฐานในการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและออกบัตรประจำตัวประชาชน ปัจจุบันกรมการปกครองได้จัดส่งรายชื่อเพื่อตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม ให้ ศอ.บต. แล้ว รวมจำนวนทั้งสิ้น 825 คน แบ่งเป็นบุคคลที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนหรือผู้ประสบปัญหาทางทะเบียนราษฎร จำนวน 472 คน และบุคคลอ้างอิงจำนวน 353 คน ส่วนในด้านการช่วยเหลือคนไทยในประเทศมาเลเซียซึ่งยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 นั้น กองกิจการต่างประเทศ ศอ.บต. ได้ประสานกับสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ในการรับลงทะเบียนคนไทยในประเทศมาเลเซียที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน โดยสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ได้จัดส่งรายชื่อคนไทยที่ ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซียและบุคคลอ้างอิงให้กองกิจการต่างประเทศ ศอ.บต. แล้วจำนวน 82 คน และการดำเนินงานในขั้นตอนต่อไปจะเป็นการจัดเก็บตัวอย่างบุคคลเพื่อตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรมความสัมพันธ์ทางสายโลหิต สำหรับประกอบการพิจารณาเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านและการออกบัตรประจำตัวประชาชนตามระเบียบของกรมการปกครอง”
สำหรับการให้ความช่วยเหลือคนไทยในประเทศมาเลเซียที่ยังไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ศอ.บต. ได้กำหนดให้มีการจัดเก็บตัวอย่างและตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA) ในวันที่ 14 – 15 กรกฎาคม 2561 ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซีย และราษฎรที่ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนหรือผู้ประสบปัญหาทางทะเบียนราษฎรในพื้นที่จังหวัดจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมจำนวน 1,000 คน แบ่งการดำเนินงานดังนี้ ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดยะลา ระหว่างวันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2561 จำนวน 400 คน ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดนราธิวาส ระหว่าง วันที่ 4 – 5 สิงหาคม 2561 จำนวน 220 และครั้งที่ 3 ในเดือนกันยายน 2561 จำนวน 380 คน โดยการดำเนินการจัดเก็บตัวอย่างโดยหน่วยนิติเวชศาสตร์และพิษวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ด้วย
ภาพ/ข่าว อับดุลหาดี เจ๊ะยอ จ.ยะลา
977 total views, 17 views today
More Stories
เลขาฯ รมต.ยุติธรรม ชี้ มหกรรมแก้หนี้ ปลดหนี้ สร้างวิถีแห่งความเป็นธรรม แก้ปัญหาหนี้สิน 242 ล้าน
เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเป็นประธานเปิดป้ายอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการ วิทยาลัยการอาชีพเบตง
เทศบาลเมืองปัตตานีจัดกิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อยอดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของอุทยานการเรียนรู้ปัตตานี