บทความพิเศษ
วิสาหกิจชุมชน Hand In Hand Ruso รือเสาะ ตอบสนองสร้างอาชีพที่ยั่งยืนให้กับประชาชนพื้นที่ จ.ชายแดนภาคใต้
จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษทางสังคมและวัฒนธรรมแตกต่างจากพื้นที่ส่วนอื่น ของประเทศ เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 75 เปอร์เซ็นต์ นับถือศาสนาอิสลามและ นิยมใช้ภาษามลายูท้องถิ่นในชีวิตประจำวัน ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 24 เปอร์เซ็นต์ เป็นผู้นับถือศาสนา พุทธอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายทั้งในเขตเมืองและพื้นที่ชนบท จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงมีลักษณะ ทางสังคมที่มีอัตลักษณ์เฉพาะและมีประวัติศาสตร์ของตนเอง
โครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้( Hand in Hand) โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจด้านหนึ่งคือ การสร้างและส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่ต่างๆด้วยการสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม หรือวิสาหกิจชุมชนขึ้น เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการจ้างงานและสร้างอาชีพที่ยั่งยืนให้กับประชาชน สิ่งหนึ่งที่มีปัญหา และไม่สามารถจะปฎิเสธได้ คือปัญหาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ จ.ชายแดนภาคใต้ ที่ยาวนานกว่า 13 ปี ที่สร้างผลกระทบรอบด้านกับพื้นที่
Hand In Hand Ruso จึงเดินหน้าตามแผนงาน เพิ่มประสิทธิภาพ ผลผลิต พัฒนาศักยภาพฝีมือแรงงานทั้งระบบให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและ การประกอบอาชีพ ผลผลิต เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความมุ่งหวังที่ให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ ได้มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง ณ.ที่ทำงานใกล้บ้านของตัวเอง
(13 พ.ย. 60) นายสุรพร พร้อมมูล ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรการตัดเย็บเสื้อผ้าในโรงงานอุตสาหกรรม ประจำปีการศึกษา 2559 ที่โรงงาน Hand In Hand Ruso อำเภอรือเสาะ ของวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส ตามโครงการความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส วิสาหกิจชุมชน Hand In Hand Ruso และเทศบาลตำบลรือเสาะ เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้เข้าสู่อุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้มีนายวิชาญ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ นายอำเภอรือเสาะ นายวิเชษฐ์ ไทยทองนุ่ม นายกเทศมนตรีตำบลรือเสาะ พันตำรวจเอก จรัส เส็มสัน ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรรือเสาะ นางวรรรัตธิญา บินมะ ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอรือเสาะ นายนิกร เซ้งเถียร ผู้อำนวยการโรงเรียนรือเสาะชนูปถัมภ์ นายยุทธนา พรหมณี ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช ประธานกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส นางกรรณิกา ดำรงวงศ์ กรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
โดยวิทยาลัยชุมชนนราธิวาสได้จัดเวทีศึกษาศักยภาพและความต้องการของชุมชนพื้นที่อำเภอรือสาะ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2559 พบว่าการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน Hand In Hand Ruso ได้เพิ่มโอกาสในการจ้างงาน สร้างอาชีพที่ยั่งยืนให้กับประชาชน ซึ่งยึดหลัก “เศรษฐกิจนำการเมือง” ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มที่มีความเหมาะสม เพราะแรงงานส่วนใหญ่ในพื้นที่ โดยเฉพาะสตรีชาวไทยมุสลิม มีความถนัดในเรื่องการตัดเย็บ เช่น เสื้อผ้าไทย-มุสลิม เสื้อผ้ากีฬา เสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าสตรี-บุรุษ เป็นต้น
วิสาหกิจชุมชน Hand In Hand Ruso ยังคงมีความต้องการแรงงานฝีมือจำนวนมาก เพื่อรองรับกับปริมาณความต้องการของลูกค้า ทางวิทยาลัยชุมชนนราธิวาส จึงได้ร่วมกับวิสาหกิจชุมชน Hand In Hand Ruso และเทศบาลตำบลรือเสาะ โดยนายวิเชษฐ์ ไทยทองนุ่ม นายกเทศมนตรีตำบลรือเสาะ จึงได้ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรการตัดเย็บเสื้อผ้าในโรงงานอุตสาหกรรมและทำการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรดังกล่าว ระหว่างวันที่ 9 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 23 มิถุนายน 2560 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 24 สัปดาห์ เพื่อพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานของกำลังแรงงานในพื้นที่เพื่อให้มีความพร้อมและสามารถเข้าทำงานในโรงงาน Hand In Hand รือเสาะ หรือเข้าสู่อุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2559 มีผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรการตัดเย็บเสื้อผ้าในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 30 คน
อย่างไรก็ตาม หากย้อนดู นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2560 – 2562 สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ จ.ชายแดนภาคใต้
ตามพันธกิจ วิสัยทัศน์
“สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีความปลอดภัย
ปราศจากเงื่อนไขความรุนแรง
วิถีชีวิตของทุกคนได้รับการปกป้อง
พัฒนาบนพื้นฐานสังคมพหุวัฒนธรรม
และมีส่วนร่วมในกระบวนการเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน”
Hand In Hand Ruso รือเสาะ จึงเป็นโจทย์ ที่เป็นวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ จ้างงาน สร้างงานโดยคนพื้นที่ และมีความมุ่งมั่น สร้างประสิทธิภาพงาน สู่มาตรฐาน และยกระดับคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่อีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจ และสามารถตอบสนองนโยบายรัฐบาล เพื่อความมั่นคง และหยั่งยืน โดยใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐต้องหันมาให้ความสนใจ ในการส่งเสริม เพื่อให้เกิดศักยภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างมั่นคง และเสริมสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
บท/บรรณาธิการข่าว SPMC
2,869 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.