(10 พ.ค.61) ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อ.เมือง จ.ยะลา นายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางลงพื้นที่ เป็นประธานในพิธีมอบหลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช 2561/1ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 แก่สถาบันศึกษาปอเนาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมทั้งบรรยายการอบรมชี้แจงแนวทางการนำหลักสูตรไปใช้ โดยมีนายชลำ อรรถธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน นายภิรมย์ นิลทยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นายวิทยาศิลป์ สะอา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา นายอับดุลอาซิส ยานยา นายกสมาคมสถาบันปอเนาะศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนราชการ ทหารตำรวจ อุสตาส โต๊ะครู จากสถาบันศึกษาปอเนาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล กว่า 1,000 คน เข้าร่วม
กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้สถาบันศึกษาปอเนาะได้ใช้ประมวลการจัดการเรียนรู้อิสลามศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และในปี 2561 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้สถาบันศึกษาปอเนาะได้ใช้หลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ พุทธศักราช2561/1ฮิจเราะฮฺศักราช 1439 ซึ่งถือเป็นประวัตศาสตร์ หลักสูตรกีตาบในเมืองไทย
“หลักสูตรได้จัดรวบรวมเป็นรูปเล่มเป็นครั้งแรก สำหรับเนื้อหาภายในหลักสูตรนี้เกิดจากผู้นำในท้องถิ่น ผู้นำศาสนา และสมาคมสถาบันปอเนาะศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับภาคราชการ ซึ่งจุดเด่นของหลักสูตร คือ 4 3 3 คือ เรียนอิบตีดาอียะห์ 4 ปีในระดับต้น เรียนมูตาวัสสีเตาะห์ 3 ปี และเรียน อาลียะห์ อีก 3 ปี จบการศึกษาแต่ละระดับจะมีประกาศนียบัตรรองรับจากกระทรวงศึกษาธิการ สามารถนำไปใช้ในการศึกษาต่อได้ ทั้งในและต่างประเทศ จากการสำรวจความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ที่นับถือศาสนาอิสลาม มีความภาคภูมิใจ เมื่อส่งบุตรหลานของตนเองเข้าเรียนแล้วมีประกาศนียบัตรรับรอง” นายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าว
นายวิทยาศิลป์ สะอา ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา กล่าววอีกว่าการจัดหลักสูตรแกนกลางสถาบันปอเนาะครั้งนี้ “ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ครอบคลุมกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ที่จะนำไปสู่ความผาสุกทั้งโลกนี้และโลกหน้า โดยมีอัลกุรอานและอัลหะดีษเป็นธรรมนูญและทางนำ ซึ่งมุสลิมทุกคนต้องศึกษาหาความรู้เพื่อนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนมีคุณธรรม จริยธรรมอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข นอกจากนี้แล้ว สำหรับผู้เรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะ ผมมองว่าพวกเขามิใช่มีหน้าที่ในการศึกษาเรียนรู้ด้านศาสนาอิสลามเพียงด้านเดียวเท่านั้น ผู้เรียนต้องเรียนรู้ทักษะในการอยู่ร่วมกันในสังคม ปรับตัวเพื่อการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นที่มีความหลากหลายทางความเชื่อในสังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องและถูกต้องตามหลักคำสอนของศาสนา การรู้จักให้เกียรติ รู้จักสิทธิของตนเองและผู้อื่น ทั้งที่เป็นมุสลิมและต่างศาสนิก และที่สำคัญผู้เรียนต้องมีความภาคภูมิใจและระลึกอยู่เสมอว่า ผู้เรียนเกิดมาบนแผ่นดินไทย เป็นคนไทย และต้องทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติสืบไป
…………….
นิแอ สามะอาลี / SPMCnews / ยะลา
1,095 total views, 2 views today
More Stories
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จับมือ IIUM มาเลเซีย ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ด้านวิชาการ วิจัยแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา
มหกรรมคาราวาน OK BETONG BIKE WEEK 2024 ระหว่างวันที่ 2 – 3 สิงหาคม 2567
สตรีทฟู้ดแอนด์อาร์ท Betong Art Club ศิลปะภาพวาด ความหลากหลายเมืองเบตง