พาณิชย์จังหวัดยะลา ร่วมมือกับอุตสาหกรรมจังหวัดยะลา เกษตรจังหวัดยะลา ได้รับผลสำเร็จในการลงนาม MOU ระหว่างผู้ประกอบการปลายทาง บริษัทควีน โฟรเซ่น ฟรุ๊ต จำกัด และ บริษัท S.T.V. Trading Agency ผู้ประกอบการปลายทาง กับกลุ่มเกษตรกร หน่วยงานราชการในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำของจังหวัดยะลา โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพและเพิ่มมูลค่าผลไม้เกรดรอง โดยเฉพาะทุเรียน สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับราคาสินค้าเกษตร สร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร
“พยายามดันทุกโครงการให้เกษตรกร ได้มีตลาดส่งออก ที่แน่นอนมีราคาที่พอใจ โดยให้เกษตรกรเป็นเจ้าของกิจการส่งออกด้วยตนเอง ที่เรียกว่า Trading Nation ซึ่งไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เรามีตลาดส่งออก และรับผลผลิตทุเรียนเกะเนื้อวันละ 300 ตันที่แน่นอน ในช่วงผลผลิตจะออกมาในเดือนกันยายน นี้” นิอันวา สุไสมาน พาณิชย์จังหวัดยะลา กล่าว
MOU เพื่อให้เห็นว่าทุเรียนในพื้นมีความต้องการของตลาดต่างประเทศอยู่ และบริษัทที่เข้ามารับซื้อเป็นที่น่าเชื่อถือ พร้อมจ่ายเงินสด เป็นที่ต้องการของเกษตรกร “บริษัทควีน โฟรเซ่น ฟรุ๊ต จำกัด มีพื้นที่ 9 ไร่ อยู่บริเวณตลาดไทกรุงเทพมหานคร มีตู้แช่แข็งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีกำลังซื้อทุเรียน 30,000 ตันต่อปี พร้อมส่งออกกว่า 30 ประเทศ และมีสัญญาร่วมค้าขายกับกลุ่มบริษัทแจ็คหม่า ยังมีบริษัท S.T.V. Trading Agency ของภาคใต้บ้านเรา เมื่อคุณภาพทุเรียนได้มาตรฐาน ที่ 2 บริษัทนี้ได้วางไว้ มีกำลังซื้อได้มากกว่าที่เกษตรกรคิด” นายธนะสิทธ์ รัฐประเสริฐ เจ้าหน้าที่บริษัท ควีน โฟเซ่น กล่าว
พาณิชย์จังหวัดยะลา กล่าวอีกว่า “กำลังผลิตขึ้นอยู่กับว่าเกษตรกรในพื้นที่จะดูแลคุณภาพทุเรียนได้มากน้อยแค่ไหน การรับซื้อของบริษัทจะเพิ่มมากขึ้นทันที่
เกษตรจังหวัดยะลา เตรียมความพร้อมในการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาคุณภาพทุเรียนให้มีมาตรฐาน
“มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ทุกอำเภอเพื่อถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการสวนทุเรียนระยะให้ดอก ให้ผล การจัดการเรื่องโรค และเก็บเกี่ยว พร้อมส่งเสริมเรียนรู้การตลาดด้วยตนเอง เพื่อรองรับตลาดซื้อขายในอนาคต” นายสมโชค ณ นคร เกษตรจังหวัดยะลา กล่าว
เรามีสวนทุเรียนแปลงใหญ่ มีอายุ 35 ปี ได้รับองค์ความรู้จากเจ้าหน้าที่และติดตามผลการดำเนินอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปริมาณและผลผลิตได้สูง ยิ่งมีการส่งเสริมการขายแบบใหม่ๆทำให้ชาวสวนทุเรียน มีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมปรับตัวเป็นเกษตรกรผู้ประกอบการเองในอนาคต นายยูโซะ ดอเลาะบองอ ประธานกลุ่มเกสรกรผู้ผลิตทุเรียนแปลงใหญ่ อำเภอกรงปินัง กล่าว
ในส่วนของภาครัฐและบริษัทพร้อมส่งเจ้าหน้าที่ให้ความรู้แก่เกษตรกรในเรื่องการดูแลผลผลผลิตทุเรียนจนถึงการแกะเนื้อทุเรียนเพื่อส่งขายให้บริษัท
“เรามีเจ้าหน้าที่จากบริษัทส่งมายังพื้นที่เพื่อดูแลสวนทุเรียนจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ และรับเกษตรกรไปเรียนรู้การบรรจุภัณฑ์ การส่งออกให้สินค้ามีคุณภาพ เรียนรู้ระบบ GAP มาตรฐานในการส่งออกทั่วโลก”
“มาตรฐาน GAP เป็นส่วนหนึ่งในการส่งออกสินค้า โดยในส่วนนี้เกสรกรต้องมีความรู้ก่อน ซึ่งพาณิชย์จังหวัดยะลาและเครือข่ายจะคอยช่วยดูแลให้ เชื้อว่าเมื่อเกษตรกรได้เรียนรู้ ได้รับการเทรนเรื่องการส่งออก เกษตรกรจะเป็นผู้ประกอบการและนักธุรกิจเองในอนาคต” นายนิอันวา สุไลมาน พาณิชย์จังหวัดยะลา กล่าว
เป็นความท้าทายของเกษตรกรในพื้นที่ ที่ต้องปรับตัวกับตลาดซื้อขายใหม่ๆในอนาคต หากเกษตรกรจะคิดปลูกทุเรียนแบบธรรมชาติ โดยไม่มีกระบวนการดูแลที่ดีให้มีคุณภาพ เกษตรกรก็ต้องรอราคาจากพ่อค้าที่เขาต้องการให้เท่านั้น วันนี้ถ้าทุเรียนมีคุณภาพดีทุกคนจะวิ่งเข้าหาทันที่ เกษตรกรก็จะบริหารจัดการเอง เป็น Trading Nation เถ้าแก่และผู้ประกอบการเองในอนาคต
นิแอ สามะอาลี / SPMCnews / ยะลา
1,101 total views, 2 views today
More Stories
มหกรรมคาราวาน OK BETONG BIKE WEEK 2024 ระหว่างวันที่ 2 – 3 สิงหาคม 2567
สตรีทฟู้ดแอนด์อาร์ท Betong Art Club ศิลปะภาพวาด ความหลากหลายเมืองเบตง
“ลูโบ๊ะดีแย แคมป์” ธรรมชาติบำบัด CAMPING กดไลค์ ใช่เลย!