พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล พร้อมรองเลขาธิการ ศอ.บต. ประชุมหารือการออกแบบโครงการพัฒนาที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน (CDD)ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ธนาคารโลก (World Bank) เน้นการสร้างพหุวัฒนาธรรมและการมีส่วนของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง

แชร์เลย

( 2 พฤษภาคม 2561 เวลา 14.00 น.) ที่ห้องประชุมเจริญจิตต์ ณ สงขลา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดน (ศอ.บต.) พลเอกอุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาล พร้อม นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)  ประชุมหารือการออกแบบโครงการพัฒนาที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน (CDD)ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ธนาคารโลก (World Bank) นำโดย นางภมรรัตน์ ตันสงวนวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสังคมอาวุโสและพัฒนาสังคมชั้นนำธนาคารโลก  Mr.  Robert   Ingo  Wiederhofer  ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาสังคมอาวุโส ที่ปรึกษาด้านการตรวจสอบและประเมินผล ธนาคารโลก และคณะโดยมี นายอิสระ ละอองสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. นายสนั่น สนธิเมือง ผู้อำนวยการสำนักประสานนโยบายสังคมจิตวิทยา ศอ.บต. และผู้แทนสำนัก/กอง ศอ.บต.เข้าร่วมประชุมดังกล่าว

พลเอกอุดมชัย  ธรรมสาโรรัชต์ กล่าวว่า  รัฐบาลมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยการบูรณาการกับทุกภาคส่วนให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาครัฐกับประชาชน และวันนี้รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ทางเจ้าหน้าที่ธนาคารโลกเล็งเห็นความสำคัญในการขับเคลื่อน (CDD) ระหว่างธนาคารโลกกับ ศอ.บต. ในการที่จะเรียนรู้ร่วมกันทำงานร่วมกันหนุนเสริมซึ่งกันและกันในการทำแผนโครงการที่มีคุณภาพลงสู่ชุมชน สร้างจิตสำนึกหวงแหนพื้นที่บ้านเกิด มีความไว้เนื้อเชื่อใจของคนในชุมชนต่อผู้นำในพื้นที่และ ศอ.บต. ในส่วนของการปฏิบัติงานร่วมกันนั้น จะทำอย่างไรให้เกิดเนื้องานที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ เกิดความโปร่งใส มีกระบวนการที่ตรวจสอบได้ และมีความเป็นธรรม  ทั้งนี้ ศอ.บต. พร้อมให้ความร่วมมือสนับสนุนในการขับเคลื่อนเน้นการสร้างพหุวัฒนธรรมและการมีส่วนของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง

ด้านนายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ กล่าวว่า การพัฒนาที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน (CDD) ช่วยสร้างประสิทธิภาพและสนับสนุนพหุวัฒนธรรมไปพร้อมๆ  กับโครงการไทยนิยม ยั่งยืน และสามารถขับเคลื่อนไปต่อได้อีก  5  ประเด็น ดังนี้ 1. การสร้างการเรียนรู้ในวงกว้างก่อนปฏิบัติ 2.จะต้องมีศูนย์หรือคลินิกให้คำปรึกษา  3. จะต้องสร้างความโปร่งใสให้เห็นชัดเจน 4. เน้นผู้นำท้องถิ่นเป็นหลักคอยให้คำปรึกษาแก่ชุมชน  และ 5. เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนปฏิบัติเสมอ เพราะการดำเนินโครงการต่างๆ จะต้องเป็นความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง เพื่อเป็นการตอบโจทย์ของประชาชนในพื้นที่ได้มากที่สุด

ส่วนนางภมรรัตน์ ตันสงวนวงษ์  กล่าวว่า  การลงพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ธนาคารโลก (World Bank) ในครั้งนี้ เพื่อดำเนินการภารกิจเตรียมความพร้อมการสำหรับโครงการที่ปรึกษาการชำระเงินคืน (RAS) สำหรับการออกแบบโครงการพัฒนาชุมชน CDD ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในภาคใต้ของประเทศไทย มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน การจัดกิจกรรมพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่ของตนได้มากยิ่งขึ้น การขยายขอบเขตการดำเนินงานของ CDD ให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบโดยผ่านการออกแบบและการจัดการระหว่างหน่วยงานต่างๆ อีกทั้งเพื่อแสวงหาข้อตกลงกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศอ.บต. เกี่ยวกับโครงสร้างการดำเนินงานที่เหมาะสมการจัดโครงสร้างทางการเงิน ส่วนประกอบการสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง และการติดตามประเมินผลโครงการ CDD (150 หมู่บ้าน ในปีงบประมาณ 2562)  ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินงานของ ศอ.บต. ทุกมิติในด้านการพัฒนาพื้นที่ต่อไป

SPMCNEWS รายงาน

 1,382 total views,  4 views today

You may have missed