มุสลิมกับการถือศีลอด (2) : คำแนะนำทางการแพทย์ สำหรับผู้ที่ถือศีลอด
โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ(สุบหานะฮูวะตะอาลา) ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลกขอความจำเริญและสันติจงประสบแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้ประเสริฐสุดแห่งบรรดานบีและเราะสูล ขอความจำเริญและสันติจงประสบแด่ครอบครัว วงศ์วาน เศาะหาบะฮฺและผู้เจริญรอยตามท่าน
อันเนื่องมาจากการถือศีลอดทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เป็นปกติจึงอยากนำคำแนะนำทางการแพทย์ อันจะเป็นประโยชน์และแนวทางการปฏิบัติอย่างถูกต้องและปลอดภัย ดังนี้ 1.”จงกินจงดื่มและจงอย่าสุรุ่ยสุร่าย” (บทอัลอะอฺรอฟ โองการที่ 31) เป็นโองการ
1.ในอัลกุรอาน ซึ่งรวมวิชาโภชนาการไว้ทั้งหมด ภายใต้คำพูด 3 คำ หากผู้ถือศีลอดปฏิบัติตามโองการดังกล่าวตลอดช่วงเดือนรอมฎอนพร้อมทั้งหลีกเหลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมัน ขนมหวาน และอาหารหนักในปริมาณที่มากจนเกินควรแล้ว เมื่อรอมฎอนผ่านไป น้ำหนักตัวของเขาจะลดลงเล็กน้อยและไขมันในร่างกายของเขาก็จะน้อยลงด้วยและเขาก็จะเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีและมีความสุขอย่างที่สุด
2.”มนุษย์จะยังคงอยู่ในความดีงาม ตราบที่พวกเขารีบละศีลอด”/-อัลหะดีษ(วจนะศาสดา) บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม-/การรีบละศีลอดเมื่อได้เวลาเป็นซุนนะฮฺของท่านรอซูล(แบบฉบับท่านศาสดา)และยังมีผลดีต่อสุขภาพและจิตใจของผู้ถือศีลอดอีกด้วย เพราะเมื่อได้เวลาละศีลอดนั้น ร่างกายผู้ถือศีลอดกำลังอยู่ในช่วงที่มีความต้องการสิ่งที่จะมาชดเชยน้ำและกำลังงานที่ได้สูญเสียไปตลอดทั้งวันมากที่สุด การล่าช้าในการละศีลอดจะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดของผู้ถือศีลอดลดลงอีก ซึ่งจะทำให้เขายิ่งรู้สึกเหน็ดเหนื่อยและอ่อนเพลียและเป็นการทรมานตัวเองโดยปราศจากความจำเป็น นอกเหนือจากที่เป็นการกระทำที่ไม่ต้องด้วยซุนนะฮฺของท่านรอซูลแล้ว
3.”เมื่อคนใดในหมู่พวกท่านละศีลอด ก็จงละศีลอดด้วยอินผลัม”/-อัลหะดีษ บันทึกโดยติรมิซีย-/ท่านอนัส ร่อฏิยัลลอฮุรายงานว่า ท่านรอซูลจะละศีลอดด้วยอินทผลัมสด ก่อนที่ท่านจะละหมาด (มัฆริบ) ถ้าไม่มีก็ด้วยอินทผลัมแห้งและถ้าไม่มีก็ด้วยการดื่มน้ำเล็กน้อย
ในขณะที่ผู้ถือศีลอดละศีลอด ร่างกายของเขากำลังต้องการอาหารประเภทน้ำตาล ซึ่งสามารถจะถูกดูดซับเข้าสู่เลือดได้อย่างรวดเร็วและขจัดความหิวโหยให้หมดไป ในขณะเดียวกันนั้น ร่างกายของเขาก็ต้องการน้ำด้วย และการละศีลอดด้วยน้ำและอินทผลัมก็ให้ทั้ง 2 ประการ นั่นคือ การขจัดความหิว และขจัดความกระหาย
นอกจากนั้น ทั้งอินทผลัมสดและแห้งยังอุดมด้วยเส้นใย ที่จะช่วยป้องกันการท้องผูกและยังทำให้รู้สึกอิ่ม ดังนั้น ภายหลังจากที่ผู้ถือศีลอดละศีลอดด้วยอินทผลัมแล้ว เขาจึงไม่มีความอยากที่จะรับประทานอาหารอื่นในปริมาณมากๆ อีก
4.จงแบ่งการละศีลอดเป็น 2 ช่วง ท่านรอซูล(ศ็อลฯ) จะรีบละศีลอดด้วยอินทผลัม หรือน้ำต่อจากนั้นก็จะรีบไปละหมาดมัฆริบ เสร็จแล้ว จึงกลับมารับประทานอาหารละศีลอดต่อการรับประทานอินทผลัมเล็กน้อยและน้ำ จะเป็นการกระตุ้นกระเพาะอาหารอย่างแท้จริง
และในขณะที่กำลังละหมาดมัฆริบนั้น กระเพาะก็จะดูดซับสารน้ำตาลและน้ำทำให้ความรู้สึกหิวกระหายเลือนหายไป ครั้นเมื่อผู้ถือศีลอดละหมาดเสร็จ และกลับมารับประทานอาหารปริมาณมากๆ ในคราวเดียวและอย่างเร่งรีบนั้นจะทำให้กระเพาะอาหารโป่งพอง ลำไส้เกิดอาการปั่นป่วนและอาหารย่อยยาก
5.จงเลือกอาหารที่ถูกอนามัยและมีสารอาหารครบถ้วน อาหารที่ท่านรับประทานควรมีความหลากหลาย และมีสารอาหารครบทุกหมู่และควรให้อาหารมื้อละศีลอด มีสลัดผักมากๆ
6.”พวกท่านจงรับประทานอาหารสะหูรเถิด แท้จริงในอาหารสะหูร(ก่อนรุ่งอรุณประมาณ 20 นาที) นั้นมีความจำเริญ” อัลหะดีษ บันทึกโดยบุคอรียและมุสลิม ท่านรอซูล(ศ็อลฯ) ได้สั่งเสียในหะดีษดังกล่าวถึงความจำเป็นในการรับประทานอาหารสะหูร
เพราะอาหารสะหูรจะช่วยให้เราไม่รู้สึกอ่อนเพลีย และปวดศีรษะในตอนกลางวันของรอมฎอน และยังจะช่วยบรรเทาความกระหายน้ำอย่างรุนแรงอีกด้วย
นอกจากนั้นท่านรอซูล(ศ็อลฯ)ยังส่งเสริมให้ล่าช้าในการรับประทานอาหารสะหูร ท่านกล่าวว่า :”ประชาชาติของฉันจะยังคงอยู่ในความดีงาม ตราบที่พวกเขาล่าช้าในการรับประทานอาหารสะหูร และรีบละศีลอด” อัลหะดีษ บันทึกโดยอะหมัด และควรให้อาหารสะหูรเป็นอาหารที่ย่อย เช่น นมโยเกิร์ต น้ำผึ้งและผลไม้ต่างๆ เป็นต้น
7.พึงหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้กระหาย พึงหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มจัด หรือเผ็ดจัดและอาหารที่ใส่เครื่องเทศและเครื่องชูรสมากๆ 8.ข้อแนะนำเพื่อไม่ให้ท้องผูก หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มักจะมีอาการท้องผูก ก็ให้รับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากๆ เช่น สลัดผัก ผัก และผลไม้ชนิดต่างๆ และจงหลีกเลี่ยงการรับประทานขนมหวาน โดยให้รับประทานผลไม้แทน และจงทำละหมาดตะรอเวียห์อย่างสม่ำเสมอ
และบริหารร่างกายหรือออกกำลังกายอย่างที่เคยปฏิบัติ
9.พึงหลีกเลี่ยงการนอนหลังการละศีลอด ผู้ถือศีลอดบางคน ชอบที่จะนอนหลังการรับประทานอาหารละศีลอด อันที่จริงการนอนหลังอาหารมื้อใหญ่และมากไปด้วยไขมันนั้นจะเพิ่มความเฉื่อยชาและเกียจคร้านให้มากขึ้น
10.ข้อแนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ก่อนที่หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรจะถือศีลอด นางควรปรึกษาแพทย์ หากแพทย์อนุญาต นางจึงถือศีลอด แต่ไม่ควรรับประทานอาหารละศีลอดในปริมาณที่มากเกินไป ให้รับประทานแต่พอประมาณ และควรแบ่งการรับประทานอาหารละศีลอดเป็น 2 มื้อ มื้อแรกเมื่อได้เวลาละศีลอด และมื้อที่ 2 ให้ห่างกับมื้อแรกประมาณ 4 ชั่วโมง และในการรับประทานอาหารสะหูรควรจะล่าช้ามากที่สุด และควรรับประทานอาหารประเภทนมโยเกิร์ตให้มาก และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและขนมหวาน
นอกจากนั้นหญิงที่ให้นมบุตรยังควรที่จะจัดเตรียมน้ำและอาหารเหลวเพื่อให้เด็กได้รับประทานควบคู่ไปกับการให้นมของนางขณะถือศีลอดและอาหารที่นางรับประทานเองทั้งมื้อละศีลอด และมื้อสะหูรควรเป็นอาหารที่เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ และถ้าเป็นไปได้ก็ควรให้นมเด็กบ่อยครั้งในช่วงหลังละศีลอดถึงสะหู้รและเมื่อใดที่รู้สึกอ่อนเพลียและเหน็ดเหนื่อยก็ให้รีบละศีลอดและปรึกษาแพทย์
11.”ผู้ใดที่เจ็บป่วยหรืออยู่ในระหว่างเดินทาง ก็ให้ถือศีลอดในวันอื่น” อัลบะกอเราะฮฺ อายะฮฺที่ 184 นับเป็นความเมตตาของอัลลอฮฺตะอาลา ที่ทรงผ่อนผันให้ผู้ป่วยไม่ต้องถือศีลอดในรอมฎอน ฉะนั้นหากแพทย์มุสลิมบอกกับผู้ป่วยคนใดว่า หากเขาถือศีลอดจะทำให้อาการป่วยเพิ่มมากขึ้นหรืออาจถึงแก่ชีวิต ในกรณีนี้เขาก็จำเป็นจะต้องงดการถือศีลอด นอกจากผู้ป่วยจะได้รับการผ่อนผัน โดยไม่ต้องถือศีลอดแล้ว
12.คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจผู้ที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับหัวใจจำนวนไม่น้อย ที่สามารถถือศีลอดได้เนื่องจากในช่วงเวลากลางวันเมื่อไม่มีการย่อยอาหาร กล้ามเนื้อหัวใจก็ทำงานน้อยลง และได้พักผ่อนมากขึ้น ทั้งนี้เพราะเมื่อมีการย่อยอาหารนั้น ร้อยละ 10 ของเลือดหัวใจสูบฉีดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายจะต้องถูกส่งไปเลี้ยงอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร
สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ปกติแล้วจะสามารถถือศีลอดได้ แต่จะต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ และในขณะนี้ก็มียาหลายชนิด ที่ผู้ป่วยสามารถจะรับประทานเพียงแค่วันละ 1-2 ครั้งเท่านั้น แต่ผู้ป่วยเหล่านี้ จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็มเปรี้ยวจัด และรับประทานอาหารที่ใส่เกลือสมุทรให้น้อยลง ส่วนผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่รุนแรง และเฉียบพลัน โดยทั่วไปก็สามารถถือศีลอดได้ แต่จะต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ดี ก็มีผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการทางหัวใจบางอย่างที่ไม่สามารถถือศีลอดได้ อย่างเช่น ผู้ป่วยด้วยโรคก้อนเลือดแข็ง ผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นอ่อนอย่างรุนแรง และผู้ที่มีอาการเจ็บเสียดหน้าอกอย่างเฉียบพลัน เป็นต้น
การปรับเปลี่ยนวิธีการทานยาในเดือนรอมฎอน
ในช่วงรอมฏอน สำหรับผู้ป่วยเล็กน้อยหรือพี่น้องที่ต้องรับประทานยานั้น บางท่านอาจจะสงสัยว่าจะปรับตัวอย่างไรในการถือศีลอดในแต่ละวัน เรามาดูวิธีการปรับเปลี่ยนวิธีการทานยาในเดือนรอมฎอน
วิธีรับประทานยาที่ปรากฏบนซองยา ช่วงเวลาที่แนะนำให้รับประทานยาในช่วงเดือนถือศีลอด ทานยาหลังจากละศีลอดแล้วไปละหมาดค่ำ(มัฆริบ) จึงมาทานข้าว/อาหารหลัก หลังจากละศีลอดประมาณ 15 – 30 นาที 4 ชั่วโมงหลังจากการละศีลอด 30 นาทีก่อนทานข้าวมื้อดึก (ซุโฮร์)15 -30นาทีหลังทานข้าวมื้อดึก (ซุโฮร์)
แต่เป็นที่น่าเสียดายอย่างมาก ที่พวกเราบางคนไม่ได้ละศีลอดตามที่แบบอย่างศาสดามุฮัมมัดโดยเวลาละศีลอดจะรับประทานจนอิ่มแปล้ โดยไม่ระวังในเรื่องโภชนาการในการบริโภคจะทำให้ผู้ที่ถือศีลอดมีปัญหาสุขภาพ
(บทความผู้เขียนเผยแผ่ครั้งแรกใน https://prachatai.com/journal/2006/10/10012)
หมายเหตุ อ่านบทความตอนที่1 ในhttp://spmcnews.com/?p=52708
143,959 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.