เพื่อนรักต่างศาสนา “เยาวชนมุสลิม-พุทธ”กับอนาคตชายแดนใต้
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการเจรจาสันติภาพและข้อเสนอทางออกทางการเมืองในจังหวัดชายแดนใต้
วันที่ 28 มกราคม 2567 ณ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มีโอกาสพบปะตัวแทนเยาวชนมุสลืมและ พุทธในโครงการเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพฯ กับองค์กรทางศาสนาถาบันการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา พบว่า ชายแดนใต้มีความหวังมากๆกับความร่วมมือร่วมของเยาวชนเมื่อทุกภาคส่วนเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ขับเคลื่อนซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับการทำงานของรัฐในประเด็นพหุวัฒนธรรมที่เน้น พิธีการ ถ่ายรูปสร้างภาพ พุทธ มุสลิม โดยเฉพาะผู้นำศาสนา โดยล่าสุดมีภาพประทับใจร่วมลงพื้นที่ช่วยเหลือน้ำท่วมและหวังสู่การสร้างเมืองแห่งสันติภาพและความปรองดองต่อยอดโครงการ “เพื่อนรักต่างศาสนา”
รักต่างศาสนา: เยาวชนทั้งพุทธ-มุสลิม จากช่วยเหลือน้ำท่วมสู่กิจกรรมร่วมในอนาคต
ตัวแทนเยาวชนต้นกล้าพันธุ์ใหม่ ชายแดนใต้ เปิดเผยว่า “
26 ธันวาคม 2566 กลุ่มเยาวชนต้นกล้าทั้งพุทธและมุสลิมหญิงชายของเราประสานขอความช่วยเหลือจาก “แม่มดอารีย์” หรือ “ป้ารุ่ง” “อาจารย์รุ่ง” ของพวกเขา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ หัวหน้าโครงการ เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำการขับเคลื่อนถักทอสันติภาพและการปรองดองในสังคมไทย)เพื่อตั้งครัวกลางสำหรับทำอาหารฝ่าน้ำท่วมเข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านที่ติดในพื้นที่ต่าง ๆ และไม่สามารถสัญจรไปมาได้ ทั้งด้วยเป็นผู้หญิง ผู้สูงวัย เด็ก และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ เป็นอุทกภัยใหญ่ในรอบ 70 ปีที่พี่น้องชายแดนใต้ต้องเผชิญอย่างไม่ทันตั้งตัว จากเดิมที่ผู้คนในพื้นที่เองต้องประสบภัยจากสถานการณ์ความไม่สงบที่กินระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปี ส่งผลกระทบต่อทั้งระบบเศรษฐกิจ ชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ยิ่งวันยิ่งยากจน เมื่อต้องประสบภัยพิบัติอย่างหนักเช่นนี้ ความทุกข์ยากก็ทับถมทวีคูณเยาวชนต้นกล้าที่เราช่วยกันบ่มเพาะมาหลายปีทำงานเชิงรุกมากขึ้นในมิติของสุขภาวะความสัมพันธ์ทางสังคม ด้วยงานที่แสดงถึงความเกื้อกูลใส่ใจ ห่วงใจต่อเพื่อนร่วมสังคมและอย่างทันท่วงทีไม่ต้องให้ใครมาทวงถามหรือสั่งการ เปลี่ยนจากการรอฟังคำแนะนำเป็นตั้งประเด็นและทำงานเองอย่างแข็งขัน ประสานเชื่อมโยงได้อย่างคล่องแคล่วเพียงไม่นาน ครัวก็ตั้งเรียบร้อยพร้อมแจกจ่ายความช่วยเหลือเบื้องหน้าและเก็บข้อมูลความเดือดร้อนของผู้คนออกมาและเชื่อมประสานเพื่อนำการบรรเทาไปให้ถึงอย่างทันการณ์ ส่งน้ำ ส่งข้าว หายา นั่นคืองานที่พวกเขาและเธอริเริ่มคิดเอง ลงมือช่วยกันทำเอง และประสานขอการหนุนเสริมจากผู้ใหญ่ใจดีรอบตัวในขณะที่ณ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มีการประชุมตัวแทนเครื่อข่ายโครงการเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพฯ กับองค์กรทางศาสนา สถาบันการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมาและสานต่องานใหม่ในปี 2567 ซึ่งแต่ละพื้นที่ได้นำเสนอกิจกรรมที่จะทำในอนาคต ปี 2567 หลังจากนั้นได้ทำบันทึกความร่วมมือ 1 ฉบับซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อขับเคลื่อนเมืองแห่งสันติภาพและความปรองดองอย่างยั่งยืนชายแดนใต้ ระหว่างเครื่อข่ายโครงการเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพฯ กับองค์กรทางศาสนาถาบันการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมซึ่งคณะทำงานของเราได้จัดทำแผนร่วมกันในการขับเคลื่อนต่อในปี 2567 ซึ่งจากปี พ.ศ. 2563 ที่บ่มเพาะต้นกล้ากลุ่มนี้ด้วยจักรยาน ปั่น ปัน บุญก่อนจะสิ้นปี 2566 ต้นกล้าของเราทั้งพายเรือ ทั้งเดินเท้าย่ำน้ำเข้าชุมชนเป็นความภาคภูมิใจที่โครงการเพื่อนรักต่างศาสนาฯ อยากประกาศไว้ให้เป็นตัวอย่างเยาวชนต้นกล้าสันติภาพชายแดนใต้  และจะเป็นเรี่ยวแรงสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่สืบไป”
นางสาวรุจิรดา วงศ์แก้ว ประธานต้นกล้าพันธุ์ใหม่ ชายแดนใต้ เปิดเผยว่า “ปัจจุบันเรามี อาคารสำนักงานศูนย์สัมมาชีพบ้านต้นกล้ามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือของทุกฝ่ายในชุมชน ภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นพื้นที่กลางในการทำกิจกรรมของเยาวชน ที่เข้ามาเรียนรู้ฝึกอบรมทักษะอาชีพ มีพื้นที่กลาง ที่เป็นพื้นที่ Comfort Zone เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เยาวชนได้เข้ามาพักผ่อนและทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวมร่วมกัน
นอกจากนี้ เพื่อพัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ของเยาวชน โดยเยาวชนเพื่อเยาวชน พัฒนาและสร้างเครื่อข่ายเยาวชนให้มีความรู้ด้านอาชีพ โดยมีแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐาน ส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรและทุนชุมชนอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน เรียนรู้วิถีภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถพึ่งตนเองได้ ส่งสริมให้เกิดความรู้ ความสสมัคคีในกลุ่มยาวชน ประชาชนและเครือข่ายอื่นๆนอกพื้นที่ เพื่อให้คนทุกกลุ่มวัยได้มีโอกาสได้มาพบปะแลกเปลี่ยนแนวความคิด และเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชนทุกกลุ่มวัย ตลอดจนเยาวชนสามารถใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง ลด ละ และเลิกยาเสพติด บุหรี่ และ 4×100
ในประเด็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาโดยเด็กที่หลุดจากระบบการศึกษายังมีไม่น้อยนั้น น้องปฐมาวดี ทองธรรมชาติ คณะทำงานฯ ได้สะท้อนว่า
“เราได้ดำเนินโครงการพัฒนาทักษะสู่ผู้ประกอบการต้นกล้าพันธุ์ใหม่ หน่วยพัฒนาอาชีพ ต้นกล้าพันธุ์ใหม่ ชายแดนใต้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาทักษะอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน กองทุนเพื่อความเสมอภาค ทางการศึกษา (กสศ.) โดยมีการจัดเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วงคุยธรรมชาติกับผู้นำความเปลี่ยนแปลง บนพื้นฐานความแตกต่างทางสังคมพหุวัฒนธรรม โดยนำเสนอบทเรียนความสำเร็จ ขยายการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และแลกเปลี่ยนบทเรียน ประสบการณ์การพัฒนาทักษะอาชีพ การขับเคลื่อนดำเนินงานของเยาวชนนอกระบบการศึกษา เพื่อเป็นทิศทางการขับเคลื่อนโครงการในระยะต่อไป”
ก่อนหน้านี้เมื่อ 20 มกราคม 2567 คณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างกรรมาธิการ ภาคประชาชน ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม ต่อประเด็นความขัดแย้งสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันรวบรวมข้อมูลความเห็น ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะจากการศึกษาดูงาน นำไปกลั่นกรองวิเคราะห์ประกอบการจัดทำแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นไปตามบริบทเชิงพื้นที่อย่างเหมาะสม
  นส.ปฐมาวดี ทองธรรมชาติ ได้แสดงความคิดเห็นต่อกระบวนการสร้างสันติภาพ และยื่นข้อเสนอต่อนายจาตุรนต์ ฉายแสง
ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาการศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า “สันติภาพไม่สามารถเกิดขึ้นจากปลายกระบอกปืน คือความฝันและความหวังของเยาวชนชายแดนใต้ที่รอวันผลิบาน
การแก้ปัญหาพื้นที่เป็นวาระเร่งด่วนที่รัฐต้องดำเนินการ จากการพูดคุยกันในองค์กร รับฟังเสียงของเด็กและเยาวชนถึงการแก้ปัญหาในพื้นที่ พวกเราได้ข้อสรุปว่า ต้องทำให้กฎหมายยุติธรรมกับคนทุกกลุ่ม การศึกษาและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต้องไม่มีความเหลื่อมล้ำ ทุกอย่างควรจะดีขึ้น จากงบประมาณที่ลงมาสนับสนุนในพื้นที่  ชาวบ้าน พ่อแม่ ผู้นำครอบครัวต้องมีงานทำที่เลี้ยงครอบครัวได้ พัฒนาเศรษฐกิจให้ดี ผู้คนในพื้นที่ไม่ต้องออกไปทำงานที่อื่น ปัญหายาเสพติดคือภัยร้ายที่ทำลายสันติสุข เราต้องร่วมกันสร้างสันติภาพที่จับต้องได้  รัฐต้องให้ความยุติธรรมกับผู้คนในสังคม ทุกกลุ่มรวมถึงพื้นที่ที่ห่างไกลการพัฒนา ต้องได้รับความสำคัญอย่างเท่าเทียม”สิ่งที่ต้นกล้าพันธุ์ใหม่อยากจะขับเคลื่อนในปี 67 คือการเปิดศูนย์ HATI KAWAN
เป็นพื้นที่รวมหัวใจของเพื่อน โดยความตั้งใจของกลุ่มคือการมีพื้นที่สาธารณะที่สามารถเชื่อมต่อผู้คนทุกเพศทุกวัย ในชุมชนได้ทุกระดับ สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่เกี่ยวโยงกัน ร่วมแบ่งปันความรู้สึกที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ด้วยการสร้างปฏิสัมพันธ์กัน ร่วมสร้างอัตลักษณ์ของชุมชน พื้นที่การสื่อสารสร้างความรู้สึกร่วมกันเป็นเจ้าของ เปิดให้คนทุกวัยเข้ามาใช้งานได้หลากหลายเป็นที่รองรับความต้องการทางสังคมเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม
หลังจากนั้นนายจาตุรนต์ ฉายแสง กล่าวว่า
“ผมชวนน้อง ๆ กลุ่มเยาวชนมาเป็นที่ปรึกษาของ กมธ.สันติภาพชายแดนใต้ฯ ซึ่งน้อง ๆ รับปากว่า พวกเราสัญญาว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสันติภาพร่วมกับพี่ ๆเราได้รับฟังความคิดเห็นของหลายภาคส่วน หนึ่งในนั้นคือกลุ่มเยาวชนที่สะท้อนปัญหาและแนะนำแนวทางให้กับพี่ ๆ คณะกรรมาธิการในหลายเรื่องทั้งอยากให้การแสดงออกหรือทำกิจกรรมแล้วไม่ถูกคุกคาม การมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การดำเนินคดีที่ยุติธรรม รวมไปถึงเรื่องของการศึกษาและหลักสูตรต่าง ๆ ที่ทันสมัยก้าวหน้า เหมาะสมกับพื้นที่แต่อีกเรื่องที่สำคัญคือน้อง ๆ เล่าให้ฟังว่า เด็กในสามจังหวัดชายแดนใต้หลายคนที่ไม่เข้าใจกระบวนการสันติภาพ ไม่รู้ว่าคืออะไรมีประโยชน์อย่างไรต่ออนาคต เพราะพวกเขาไม่เคยเข้าไปมีส่วนร่วมหรือรับรู้การทำงานของรัฐเลย
ข้อเสนอของน้อง ๆ ที่อยากเห็นเด็กและเยาวชนมีบทบาทต่อกระบวนการสันติภาพ จึงเป็นที่มาของการชักชวนให้ส่งตัวแทนมาเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการในครั้งนี้ครับ”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ หัวหน้าโครงการ “เพื่อนรักต่างศาสนา: ผู้นำการขับเคลื่อนถักทอสันติภาพและการปรองดองในสังคมไทย”สะท้อนว่า “กิจกรรมนี้ยังได้ร่วมกันออกแบบกิจกรรมที่จะดำเนินต่อร่วมกันในนาม เพื่อนรักต่างศาสนาโดยมุ่งเน้นไปที่การใช้งานด้านสุขภาพและความสัมพันธ์การสร้างความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและการสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ไม่แตกแยกเพื่อหนุนเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพ/สันติสุขในพื้นที่ชายแดนใต้ที่ยั่งยืนต่อไปโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยมหิดล มีดิฉัน (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ หัวหน้าโครงการฯ ) พร้อมด้วย ดร.ชาญชัย ชัยสุขโกศล ผู้ร่วมวิจัยฯ และคณะ อีกทั้งในครั้งนี้เสริมทัพด้วย ดร.ซัมซู สาอุ และคณะ จากคณะวิทยาการอิสลาม มอ .ปัตตานี”
เป้าหมายสูงสุด:สู่สร้างเมืองแห่งสันติภาพและความปรองดองต่อยอดโครงการ “เพื่อนรักต่างศาสนา”
ตัวแทนของเยาวชนมุสลิม-พุทธในนามเครื่อข่ายโครงการเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพฯ กับองค์กรทางศาสนาสถาบันการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมาและสานต่องานใหม่ในปี 2567 ซึ่งแต่ละพื้นที่ได้นำเสนอกิจกรรมที่จะทำในอนาคต หลังจากนั้นได้ทำบันทึกความร่วมมือ 1 ฉบับซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อขับเคลื่อนเมืองแห่งสันติภาพและความปรองดองอย่างยั่งยืนชายแดนใต้ ระหว่างเครื่อข่ายโครงการเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพฯ กับองค์กรทางศาสนาถาบันการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม
          สำหรับบันทึกความร่วมมือฉบับนี้มีจุดประสงค์ สามประการคือ
1. หนุนเสริมการสร้างมิตรภาพอันเป็นฐานของสันติภาพที่ยั่งยืนบนฐานการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีเป็นมนุษย์ที่มีความแตกต่างหลากหลายหากแต่ร่มรวยด้วยมรดกทางสังคมวัฒนธรรม เพื่อ
นจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีผ่านกลกลักษณะต่าง ๆ ของการสร้างเพื่อนรั
2. สร้างความร่วมมือ เพิ่มพื้นที่การพูดคุยสานเสวนา สร้างความเข้าใจและความไว้วางใจระหว่างกันและกันเพื่อข้องกันความขัดแย้งรุนแรงที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม และส่งเสริมศักยภาพในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการไม่ใช้ความรุนแรงทุกชนิด
3. ขับเคลื่อนเครือข่ายความร่วมมือเพื่อสร้างสังคมที่สันติและเป็นธรรมอย่างเป็นรูปธรรมบนฐานความร่วมมือทางวิชาการที่สามารถนำสู่การปฏิบัติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนบนฐานความมั่นคงของมนุษย์
สำหรับเครื่อข่ายโครงการเพื่อนรักต่างศาสนาเพื่อสันติภาพฯ กับองค์กรทางศาสนาถาบันการศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ดังมีรายนามดังนี้
1.สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
2.คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
3.กลุ่มต้นกล้าพันธุ์ใหม่ชายแดนใต้
4.โรงเรียนสุทธิ์รักษ์ จังหวัดสงขลา
5.เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น
6.โรงเรียนศาสนบำรุง จังหวัดสงขลา
7.ศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณชายแดนปัตตานี
8.โรงเรียนปะนาเระ (รัฐอุทิศ)
9. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอสายบุรี
10. โรงเรียนบ้านบางมะรวด
11. โรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน”
12.โรงเรียนสายบุรี “แจ้งประชาคาร”
13.สภาประชาสังคมชายแดนใต้
14. โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ
15. ศูนย์อำนวยการบริหารจะนะยั่งยืน (ศอ.บจ.)
16. กลุ่มสตรีชาวเลปะนาเระ
17.โรงเรียนสายบุรีอิสลามวิทยา
18.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลยุโป
19. เทศบาลตำบลยุโป จังหวัดยะลา
20.กลุ่มเพื่อนเยาวชนและคนพุทธ
21.โรงเรียนบ้านบือแนปีแย
22.ชมรมอิหม่าม อำเภอปะนาเระ