มลายู-จีนในสังคมพหุวัฒนธรรมมาเลเซีย:กรณีศึกษาเทศกาลตรุษจีนที่Alor Setar รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
(https://youtube.com/shorts/ph71NyGY–0?feature=share)
14 มกราคม 2566 ได้นำครอบครัวไปเที่ยวห้างที่Alor Setar รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซียในช่วงดังกล่าวเป็นช่วงก่อนเริ่มตรุษจีนพอดี ในห้างมีการจัดนิทรรศการวัฒนธรรมจีนขึ้น มีผู้คนชาวมลายูมุสลิมมากมายไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ สตรีหรือผู้ชายเข้าไปเยี่ยมชมนิทรรศการดังกล่าว สะท้อนว่าองค์กรเอกชนให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม หากจะย้อนหลังประวัติศาสตร์มาเลเซียพบว่าเกิดเหตุการณ์การจลาจลทางเชื้อชาติ ระหว่างชาวจีนกับมลายู มาเลเซีย ปี ค.ศ. 1969 ส่งผลให้รัฐบาลมาเลเซียร่วมกับทุกภาคส่วนได้
ดำเนินการอย่างจริงจังในการออกแบบการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มคนภายใต้สภาวการณ์ของความเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม มาตรการการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ขณะเดียวกันแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นวาระแห่งชาติ โดย
รัฐบาลมาเลเซียได้ใช้”
หลังจากนั้นการยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้ส่งผลให้ปัญหาความขัดแย้งทาง
เชื้อชาติของผู้คนทุเลาเบาบางและยุติลง ขณะเดียวกันปฏิสัมพันธ์ของผู้คนได้เกิดขึ้นในด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมมากขึ้น แม้ช่วงหลังจะมีการโจมตีทางการเมือง และภายใต้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ดาโต๊ะศรีอันวาร อิบรอฮีม
อย่างไรก็แล้วองค์กรศาสนาอิสลามทั้งทางการและเอกชนสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักการอิสลามกับเทศกาลสำคัญทางศาสนาต่างๆโดยเฉพาะเรื่องตรุษจีน มีการอวยพรทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งสื่อออฟไลน์และออนไลน์
หมายเหตุอ่านเพิ่มเติมบทความ “อิสลามกับตรุษจีน”มุมมอง Datuk Dr. Zulkifli Bin Mohamad Al-Bakri อดีต
Mufti Wilayah Persekutuan,Malaysia
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10229946474666397/?mibextid=cr9u03
8,929 total views, 2 views today
More Stories
การยางยะลาเพิ่มทักษะการกรีดยางอย่างถูกวิธี ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ในการแข่งขันกรีดยางชิงแชมป์อำเภอเบตง
I SEE THE FUTURE อบจ.ปัตตานี มอบแว่นสายตาแด่น้อง แก้ปัญหาด้านสายตา สู่การพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
HARD เชื่อมสัมพันธ์ ไทย – มาเลย์ ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ ร่วมจัดการแผนความร่วมมือด้านการศึกษา