พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

สำนักข่าวอามาน ประเดิมเวทีแรก ฟังเสียงนักเรียนโรงเรียนอาซิซสถาน นร.ผุดไอเดียเสนอ สร้างตลาดผลไม้และโรงงานแปรรูปยางพารา ใน จชต.

แชร์เลย

สำนักข่าวอามาน ประเดิมเวทีแรก  ฟังเสียงนักเรียนโรงเรียนอาซิซสถาน นร.ผุดไอเดียเสนอ สร้างตลาดผลไม้ และโรงงานแปรรูปยางพารา ใน จชต.

สำนักข่าวอามานได้จัดโครงการ “เสียงเยาวชนกับการแก้ปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 ของโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน จำนวน 40 คน   ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนภายใต้โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้  ของ ศอ.บต  กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการจัดเวทีเพื่อรับฟังเสียงของเยาวชนในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจำนวนสิบโรงในจังหวัดปัตตานี และโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถานถือเป็นเวทีแรกของโครงการ   ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีเครือข่ายเพื่อนช่วยเพื่อนจังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมเป็นพี่เลี้ยงทั้งสิบทีเวที โดยจัดเวทีครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2560

 

ก่อนเริ่มกิจกรรม นายตูแวดานียา มือริงงิง ผู้อำนวยการสำนักข่าวอามานได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ ว่า  โครงการดังกล่าวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอทัศนคติและความต้องการของกลุ่มเยาวชน เพื่อนำไปสู่การเปิดพื้นที่ทางการเมืองหรือสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธีและเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการสันติภาพแก่กลุ่มเยาวชนทั้งในมุมของความคืบหน้าและบทบาทของกลุ่มเยาวชนในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธีต่อไป

จากนั้น นายกามาล อับดุลวาฮับ ผู้อำนวยการโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน ได้กล่าวในช่วงเปิดพิธีว่า สำหรับวันนี้ถือว่าเป็นโอกาสดีที่สำนักข่าวอามานได้มาจัดกิจกรรมและให้ความรู้ด้านสันติภาพให้กับพวกเรา เพราะเรื่องสันติภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพวกเราและทุกคนเพราะเรื่องใกล้ตัวเรา

“ในสมัยปี 1970-1980 ที่ผ่านมา หรือเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ถือว่าเป็นช่วงของคนในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากประกาศใช้นโยบายชาตินิยม เพราะในช่วงเวลานั้น การนำนโยบายชาตินิยมมาใช้ในพื้นที่ชายแดนใต้ ไม่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของคนมลายูในพื้นที่ชายแดนใต้ และช่วงเวลานั้นเช่นกันที่มีการเปิดพื้นที่ทางการเมืองของคนคนมลายูในพื้นที่ โดยการเข้าสู่ยุคการเมือง คือตัวแทนของคนมลายูในพื้นที่ได้ต่อสู้ในทางรัฐสภา หรือที่เรียกว่า เป็นยุคที่เกิดกลุ่มนักการเมืองมลายู หรือกลุ่มวาดะห์ที่เรารู้จัก” นายกามาล กล่าว

นายกามาล ยังได้กล่าวอีกว่า และสำหรับวันนี้หรือปัจจุบันหรือที่เรียกว่าเป็นยุตโลกาภิวัตน์ เราจำเป็นต้องรู้ต้องมีส่วนร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาหรือหาทางออกของปัญหาอีกด้วย

จากนั้น นายมูฮัมมัด ดือราแม อดีต บรรณาธิการโรงเรียนนักข่าว จชต.ในฐานะ วิทยากรกระบวนการ ได้บรรยายเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพ โดยการฉายภาพให้ผุ้เข้าร่วมได้เข้าใจคำว่าสันติภาพคืออะไร สันติภาพเชิงบวก คืออะไร และสันติภาพเชิงลบคืออะไร และได้นำเสนอทฤษฎี การสร้างสันติภาพของจอห์น พลอ เลอเดอรัค หรือที่เรียกว่า ทฤษฎี 3 Track ให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจถึงบริบทของตนเองและสถานะของตัวเองในการสร้างสันติภาพสำคัญอย่างไร

จากนั้น วิทยากรกระบวนการ ได้ตั้งคำถามว่า ในรอบเกือบ14ปีที่ผ่านมา ท่านคิดว่าปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ใดเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญบ้าง ด้วยคำถามดังกล่าว คำตอบส่วนใหญ่แล้ว ผู้เข้าร่วมจะตอบว่า จุดเปลี่ยนสำคัญของพื้นที่ อยู่ที่เหตุการณ์ปล้นปืนในปี 2547  เหตุการณ์สลายการชุมนุมที่ตากใบ คือจุดเริ่มต้นของการมีค่ายทหาร มีด่านทหาร ในพื้นที่ แต่ว่าเหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่เข้าร่วมมักจะตอบว่า ยังวนเวียนถึงปัจจุบันคือเหตุระเบิดและลอบยิง

จากนั้น วิทยากรกระบวนการได้นำเอายุทธศาสตร์ และนโยบายของสภาความมั่งคงแห่งชาติ เพื่อเป็นคำถามมีส่วนร่วมในการเเสดงความคิดเห็นเรื่องเกี่ยวกับการเเก้ไขปัญหาเเละพัฒนาสามจังหวัดชายเเดนใต้ จำนวน 5 ประเด็น   คือ เรื่องด้านการเเก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่  โดยมีข้อสรุปสำคัญว่า ให้มีการบุคลากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและโทษของยาเสพติด แก่นักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมและให้ความรู้แก่คนในชุมชนและส่งเสริมให้ออกกำลังกาย

 

เรื่องด้านการศึกษาเรื่องจัดสรรทุนการศึกษาที่รัฐจัดสรรยังไม่เพียงพอและทั่วถึง และที่สำคัญทุนที่ให้กับนักเรียนมักจะให้กับผู้ที่ไดรับผลกระทบจากเหตุความรุนแรงเพียงอย่างเดียว จึงอยากเสนอให้เปิดโอกาสกับทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิในเรื่องทุนการศึกษาจากรัฐด้วย

เรื่องการส่งเสริมอาชีพสำหรับการส่งเสริมอาชีพนั้น มีข้อเสนอว่า ให้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพในชุมชนและให้การสร้างเครือข่ายเพื่อสามารถต่อรองผลิตผลทางการเกษตรและมีข้อเสนออยากให้พื้นที่มีโรงงานยางและเฟอร์นิเจอร์ไม้ยาง มีตลาดผลไม้และมีแหล่งท่องเทียวชุมชน

เรื่องอัตลัษณร์เเละวัฒนธรรมในพื้นทีส่งเสริมและรณรงค์การให้สลามกันและกันระหว่างชายกับชาย หญิงกับหญิงและรณรงค์การแต่งกายตามวิถีวัฒนธรรมของพื้นที่ให้มากที่สุด

การเเก้ไขปัญหาในพื้นทีสีเเดง สำหรับการแก้ปัญหาพื้นที่สีแดง ต้องลดการการใช้ความรุนแรงของทั้งสองฝ่าย แล้วใช้นโยบายสันติวิธี สร้างความเชื่อใจเป็นอันดับแรก

ในกิจกรรมครั้งนี้นักเรียนได้ระดมความคิดเห็นภายในกลุ่ม และได้นำเสนอให้เพื่อนๆต่างกลุ่มและผู้จัดโครงการได้รับฟังถึงปัญหาและการแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อที่ผู้จัดโครงการจะนำเสนอให้แก่รัฐบาลต่อไป

ข่าวภาพ กองบรรณาธิการ

 1,787 total views,  4 views today

You may have missed