เมษายน 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เปิดศักราชใหม่ “ซาอุเปิดท่องเที่ยวและโอกาสการท่องเที่ยวชายแดนใต้”

แชร์เลย

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk,

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่าน รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน

นโยบายใหม่ซาอุดีอาระเบียจะเปิดประเทศให้ต่างชาติท่องเที่ยวโดยเฉพาะท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจากอดีตที่เปิดโอกาสให้ต่างชาติไปประกอบศาสนกิจอย่างเดียว

สำหรับเมืองที่จะต้อนรับต่างชาติด้านนี้คือเขตอัล-ตุรออิฟ เมืองดีริยะห์ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดย UNESCO (หากเราจำได้ตอนนายกรัฐมนตรีไทยไปเยือนมาแล้วโดยในตอนหนึ่ง เจ้าหน้าที่ได้นำ ‘ม้าอาหรับ’ มาจัดแสดงให้นายกรัฐมนตรีชม)ในขณะเดียวกันไทยจะ

จัดโรดโชว์ซาอุดีอาระเบียเดือนมีนาคมนี้ ตั้งเป้าปีนี้จะดึงนักท่องเที่ยวจากซาอุฯเที่ยวไทย 2 แสนคน สร้างรายได้ 2 หมื่นล้านบาท ทั้งเซ็นเอ็มโอยูร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกัน หลังฟื้นความสัมพันธ์กลับมาอีกครั้ง(อ่านเพิ่มเติมใน https://www.thansettakij.com/business/514440)
#ย้อนดูโอกาสคนชายแดนใต้ผ่านยุทศาสตร์ภาคประชาชน

#โอกาสและศักยภาพในการขยายความร่วมมือด้านท่องเที่ยว

๑. พื้นที่ จชต. มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่ชื่นชอบของชาวอาหรับอย่างหลากหลาย ทั้งธรรมชาติ ที่สวยงาม, แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในมลายู, แหล่งท่องเที่ยวทางศาสนา เช่น มัสยิดโบราณ (กว่า ๓๐๐ ปี) พิพิธภัณฑ์คัมภีร์อัลกุรอาน เป็นต้น
๒. ในพื้นที่ จชต. มีอาหารการกินที่สมบูรณ์ มีมาตรฐานฮาลาล และพร้อมที่จะยกระดับ ให้มีมาตรฐานมากขึ้น
๓. ในพื้นที่ จชต.มีต้นทุนทรัพยากรมนุษย์ด้านภาษาอาหรับจานวนมาก ทั้ง มหาวิทยาลัยและ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และผู้ที่จบการศึกษาจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

๔.ในพื้นทื่ จชต. มีโรงพยาบาลชั้นนาที่มีมาตรฐานด้านการรักษา มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะด้าน ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้
๕.ในพื้นที่ จชต. มีท่าอากาศยานนานาชาติหลายแห่ง (หาดใหญ่, นราธิวาส, เบตง) ซึ่งสามารถรองรับนักท่องเที่ยวทั้งจากสายการบินพาณิชย์และเครื่องบินเช่าเหมาลาได้อย่าง สะดวก
๖.ในพื้นที่ จชต. ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ที่มีวัฒนธรรม ประเพณี ที่คล้ายคลึงกับประเทศซาอุดีอาระเบีย จึงเป็นโอกาสดีที่จะสร้างภาพลักษณ์ให้ พื้นที่ จชต. เป็นบ้านแห่งที่ ๒ ของนักท่องเที่ยวจากซาอุดีอาระเบีย
แนวทางการพัฒนาความร่วมมือ

1. พัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นระบบฮาลาลครบวงจร เช่น อาหาร ที่พัก สิ่งอานวย ความสะดวกต่างๆ เป็นต้น
2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์รองรับการท่องเที่ยวให้ครอบคลุมทุกสาขาและเพียงพอ เช่น ผู้ประกอบการ มัคคุเทศก์ เป็นต้น
3. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย โดยเฉพาะในเชิงประวัติศาสตร์และมิติ ทางศาสนา เช่น มัสยิด 300 ปี พิพิธภัณฑ์อัลกุรอาน เป็นต้น
4. ผ่อนคลายมาตรการและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว

ข้อเสนอโครงการพัฒนาความร่วมมือ
ระยะเร่งด่วน
๑. จัดตั้งคณะทางาน (ไทย) จัดทาข้อมูลการท่องเที่ยว ที่ครอบคลุมในทุกมิติ
๒. จัดตั้งคณะงานร่วม ไทย – ซาอุดีอาระเบีย เพื่อพัฒนาความร่วมมือ/การลงทุนด้านการ ท่องเที่ยวทุกมิติ
๓. พัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ภาษาอาหรับ ให้มีบัตรมัคคุเทศก์ (ถูกกฎหมาย) มีความรู้ สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ สามารถนาเที่ยวได้อย่างมีคุณภาพ
๔. ปรับภาพลักษณ์ (รีแบนด์) พื้นที่ จชต.ให้เป็นที่ท่องเที่ยวที่มีความสุข เสมอนบ้านแห่งที่ ๒ ของนักท่องเที่ยวซาอุดีอาระเบีย

๕. ส่งเสริมผู้ประกอบการในพื้นที่ให้ได้รับรองมาตรฐานฮาลาลในระดับสากล เช่น ร้านอาหาร โรงแรม สปา เป็นต้น
๖. เพิ่มโควตาฮัจญ์ และขยายสิทธิ์การท่องเที่ยวในวีซ่าฮัจญ์และอุมเราะห์
๗. จัดอบรมภาษาอาหรับเพื่อการสื่อสารสาหรับนักธุรกิจและกลุ่มอาชีพอื่น ๆ
๘. จัดกิจกรรม Road Show สินค้า และกิจกรรมจับคู่ธุรกิจการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ

ระยะถัดไป

๑. พัฒนา/ยกระดับสถานพยาบาลรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (กระทรวงสาธารณสุข) ๒. ศึกษา/พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (Route)
๓. พัฒนา/จัดระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานรองรับการท่องเที่ยวแบบ Long Stay
๔. พัฒนาจุดขายใหม่ให้กับประเทศไทย เป็นประเทศแห่งสุขภาพ การรักษาโรค อาหารฮาลาลสถานพักฟื้น การใช้สมุนไพรไทย
หมายเหตุ

หมายเหตุ ลิ้งค์ ยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวและอีก 8 ด้านสำหรับชายแดนภาคใต้หนุนความสัมพันธ์ใหม่ไทย-ซาอุดีอาระเบียที่ทุกภาคส่วนช่วยจัดทำภายใต้การหนุนเสริมของศอ.บต.

https://anyflip.com/fbrtk/kbav/

 25,937 total views,  2 views today

You may have missed