เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

บทเรียนหลังพูดคุยที่KL ไปต่ออย่างไรจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ:ความท้าทายของคนทำงานสันติภาพ

แชร์เลย

หลังข้อตกลงร่วมกัน 3 ประเด็น ของผลการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขชายแดนภาคใต้ระหว่างรัฐไทยกับผู้เห็นต่างที่KLประเทศมาเลเซียซึ่งหลายภาคส่วนของประชาสังคมและนักวิชาการมองว่า เป็นแค่บทนำยังไม่ลงรายละเอียดในขณะที่แถลงข่าวสองฝ่ายยังมีประเด็นแตกต่าง ของกรอบการทำงานร่วมกันใน 3 ประเด็น 1.การลดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 2.การมีส่วนร่วมทางการเมือง 3.กลไกการปรึกษาหารือในพื้นที่ ในขณะที่รัฐบาลมาเลเซียถูกตั้งคำถามในมาตรฐานการพูดคุยสันติภาพในฐานะผู้อำนวยความสะดวก(คนกลาง)การพูดคุยสันติสุข/การเจรจาสันติภาพว่า “สมควรหรือมาเลเซียส่งมอบ 3 ผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคงให้ทางการไทยผ่านทางด่านสะเดา จ.สงขลา ในวันที่กำลังพูดคุยเจรจาซึ่งเขาไม่ทำกัน”(อ้างอิงจาก https://www.isranews.org/article/south-news/south-slide/105745-malaythai.html) สอดคล้องกับข่าวในสื่อมาเลเซีย(https://www.bharian.com.my/dunia/asean/2022/01/911998/penyerahan-pemberontak-tiada-kaitan-rundingan-damai) สอดคล้องกับทัศนะของAstora (https://www.facebook.com/kecektaning/videos/517852762729976/) #อย่างไรก็แล้วแต่การพูดคุยนั้นปัจจัยสำคัญอยู่ที่ประชาสังคม และประชาชนชายแดนใต้มิใช่คู่ขัดแย้งที่ถือปืนทั้งสองฝ่าย อันเป็นสะท้อนที่สอดคล้องกับเชี่ยวชาญต่างประเทศในเวทีวิชาการ “การบรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรม Virtual U.S. Speaker Program on Peace and Conflicts Issues

”The Challenges of Peace and Conflict Situation in Thailand and Southeast Asia”

โดย Professor John Paul Lederach จาก Kroc Institute for International Peace Studies, University of Notre Dame นักปฏิบัติและนักวิชาการคนสำคัญระดับโลกด้านการสร้างสันติภาพ (Peacebuilding) และการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง (Conflict Transformation)

และ Dr.Norbert Fopers The director of Peace Resources Collaborative, A senior advisor of Berghof Foundation and a lecturer at Institute for Peace Studies, PSU
(ฟัง/ชมฉบับเต็มย้อนหลังใน

https://www.facebook.com/ips.psu/videos/1327756607723074/)

“จอห์น พอล เลเดรัค” (John Paul Lederach) ให้กำลังใจและย้ำเตือนคุณสมบัติหัวใจของคนที่ทำงานการแปรเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นนักเชื่อมโยงความรู้ เทคนิค และผู้สร้างสรรค์ที่จะต้อง “รักษาความหวัง” ไว้เสมอ
.
“ต้องมีความอดทนและหล่อเลี้ยงความหวังในกระบวนการสันติภาพไว้”
.
อย่าเป็นแค่นักดับเพลิงทำงานระยะสั้น แต่ต้องมองหา “ต้นเพลิง” ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไฟไหม้ซ้ำบ่อย ๆ เป็นแพทเทิร์นและทำซ้ำ อย่าไว้ใจสูตรสำเร็จ เพราะมันจะทำให้เราเข้าใจผิดต่อสถานการณ์ตรงหน้า
.
ไม่ได้หมายว่าว่าให้เพิกเฉยงานระยะสั้น งานระยะสั้นก็ต้องทำ หากผู้คนคิดว่าเรื่องสันติภาพกินไม่ได้แต่เรื่องปากท้องสำคัญกว่า แต่
.
“งานสร้างสันติภาพเป็นงานระยะยาว”
“การสร้างสันติภาพเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์และคุณภาพของความสัมพันธ์ของพวกเรา”
.
ต้องมองออกจากความสัมพันธ์แนวดิ่งและเข้าใจความโยงในซับซ้อน มีมุมมองลักษณะ “Web Approch” เพื่อสร้างมุมมองเชิงลึกและซับซ้อนของการเมืองความสัมพันธ์ระนาบต่าง ๆ พื้นที่ และเวลาอย่างไร
.
เข้าใจ Cause & Connection การพึ่งพาซึ่งกันและกันของเครือข่ายต่าง ๆ เพราะหากเพ่งมองสาเหตุใด สาเหตุหนึ่ง “อาจจะไม่เป็นประโยชน์มากนัก”
.
นึกถึงภาพแมงมุมที่ถักทอโยงใยสายใยต่าง ๆ ใยแมงมุมนั้นแม้จะกว้างออกไป แต่ข้างในจะแข็งแรง พูดให้ง่าย คือการสร้างเครือข่ายพื้นฐานโยงใยความสัมพันธ์ที่แข็งแรง
.
ให้ตระหนักถึงภูมิศาสตร์ทางการเมืองในบริบทของสถานการณ์การเมืองและความขัดแย้ง ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ “ศูนย์กลาง-ชายขอบ” หรือ “ชนชั้นอภิสิทธิ์ที่ใช้อำนาจในการควบคุม ครอบงำคือใคร” และ “ใครถูกกีดกันให้เป็นชายขอบ”
.
แม้กระทั่ง ความสัมพันธ์เชิงระนาบ (ความแตกต่างระหว่างศาสนา ชาติพันธุ์ หรือภาษาก็ตาม) กับแนวดิ่ง ใครเป็นผู้สร้างส้มพันธ์ระหว่างกัน หรือ ผู้สร้างสะพานเชื่อมจะอุดช่องว่างแนวดิ่งได้อย่างไร

ยังมีประเด็นที่น่าสนใจเชิงลึกอีกมาก ที่อ.จอห์น นักสังคมวิทยาขาวอเมริกัน จากมหาวิทยาลัย Norte Dame ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการแปรเปลี่ยนความจัดแย้งมาแล้ว 23 เล่มทำงานเกี่ยวกับความขัดแย้ง 25 ประเทศทั่วโลก ได้ท้าทายนักสร้างสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ที่คุ้นเคยกับ “3 Track Peace Proess” ซึ่งดร.นอร์เบิร์ต โรเปอร์ส นักไกล่เกลี่ยสันติภาพขาวเยอรมัน ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้าง “พื้นที่กลางสร้างสันติภาพจากคนใน” (IPP) นำเครื่องมือนี้มาปูพื้นฐานงานสร้างสันติภาพในไทย
.
ความน่าทึ่งของอ.จอห์น คือการกลับมาวิพากษ์แนวคิดและเครื่องมือที่เขาสร้างขึ้นมา และยินดีแลกเปลี่ยนบทเรียนที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจให้มากขึ้นกับความซับซ้อนของความขัดแย้งที่มีพลวัตอยู่ตลอดเวลา
.
ในชุมชนนักสร้างสันติภาพวันนี้ “คำถาม” และข้อสังเกตจากดร.นอร์เบิร์ต และดร.ชัยวัฒน์ สภาอานันท์ ได้เปิดพื้นที่และเหวี่ยงไปถึงบทบาทของภาครัฐในฐานะผู้เล่นที่สำคัญ
.
พูดแบบอ.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี “เปิดหูเปิดตามาก”
.

(คัดลอกการสรุปความจาก Thitinob Komalnimi ฐิตินบ โกมลนิมิ)
ล่าสุด วันพฤหัสบดีที่20 มกราคม 2565 มีการวิสามัญฆ่าตกรรมผู้เห็นต่างที่สายบุรียิ่งทำให้สถานการณ์กระบวนการสันติภาพชายแดนภาคใต้ยิ่งต้องใช้ความอดทนของผู้คน โดยเฉพาะบทบาทสื่อมวลชนทั้งในพื้นที่และส่วนกลางซึ่งถูกมองว่า รายงานข่าวจากข้อมูลที่ได้จากรัฐเพียงฝ่ายเดียวในขณะที่ในโลกออนไลน์มีการตอบโต้ทางวาทะและข้อมูลอย่างเผ็ดร้อน
#เหล่านี้คือบทเรียนหลังและเป็นความท้าทายของคนทำงานสันติภาพ

 55,274 total views,  2 views today

You may have missed