พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา คนไทยคนแรก คณะกรรมการคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสม รับรางวัลระดับนานาชาติ “กษัตริย์ฟัยศอล”

แชร์เลย

(22 ตุลาคม 2564)  คณะทำงาน theustaz.com แจ้งข่าวดีว่า รศ.ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา เป็นคนไทยคนแรก ที่ได้รับเกียรติเป็นคณะกรรมการคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสม รับรางวัลระดับนานาชาติ “กษัตริย์ฟัยศอล” โดย กล่าวรายละเอียดว่า
“ขอแสดงความยินดี
ในนามคณะทำงาน theustaz.com และพี่น้องผู้ติดตาม ขอแสดงความยินดีแด่ รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี
เนื่องในโอกาสที่ได้รับโปรดเกล้าฯ จากเจ้าชายคอลิด อัลฟัยศอล องค์ประธานรางวัลกษัตริย์ฟัยศอล ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่นครริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
“คณะกรรมการเสนอชื่อและคัดเลือกผู้ที่มีความเหมาะสมรับรางวัลกษัตริย์ฟัยศอล สาขาบริการอิสลาม ประจำปี 2022” ตามหนังสือแต่งตั้งที่ 21110 ลงวันที่ 8 ศอฟัร ฮ.ศ. 1443 ตรงกับวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564

ขออัลลอฮ์ทรงประทานความช่วยเหลือและชี้นำให้ รศ. ดร. อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ในการปฏิบัติหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ตลอดไป
รางวัลกษัตริย์ฟัยศอล (อาหรับ: جائزة الملك فيصل‎ เดิมชื่อ King Faisal International Prize) ก่อตั้งเมื่อปีค.ศ. 1977 เป็นรางวัลประจำปีที่สนับสนุนโดย King Faisal Foundation มอบให้แก่ “ชายและหญิงที่อุทิศตนสร้างความแตกต่างในเชิงบวก” มูลนิธิมอบรางวัลใน 5 ประเภทได้แก่ บริการเพื่อศาสนาอิสลาม อิสลามศึกษา ภาษาอาหรับและวรรณคดีอาหรับ วิทยาศาสตร์และการแพทย์ 3 รางวัลแรกได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่สุดในโลกมุสลิม จนถึงปี 2019 มีบุคคลที่ได้รับรางวัลนี้จำนวน 265 ท่าน จาก 43 ชาติ
ผู้ได้รับรางวัลกษัตริย์ฟัยศอลสาขาบริการเพื่ออิสลามคนแรกคือ อบุลอะลา อัลเมาดูดี นักฟื้นฟูอิสลามชาวปากีสถานเมื่อปีค.ศ. 1979 ส่วนในประเทศอาเซียนมีบุคคลได้รับรางวัลนี้จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ ประธานาธิบดีมูฮัมมัด นาซิรจากอินโดนีเซียเมื่อปีค.ศ. 1980 เติงกูอับดุรเราะห์มาน ปุตรา เมื่อ 1983 นายแพทย์มหาเธร์ โมฮัมมัด เมื่อ 1997 และนายอับดุลลอฮ์ บาดาวีเมื่อ 2011 จากมาเลเซีย และดร. อาห์มัด โดโมเกา อาลอนโต จากฟิลิปปินส์เมื่อ 1988 ผู้รับรางวัลนี้จะได้รับเงินรางวัลจำนวน 750,000 ริยาล


สำหรับประวัติท่านพอสังเขป
รศ. ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา
ประวัติการศึกษา
ปริญญาเอก (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขานิติศาสตร์เปรียบเทียบ จากมหาวิทยาลัยอิมามมุหัมมัดบินสุอูด นครริยาด ประเทศซาอุดีอารเบีย
วุฒิกิตติมศักดิ์
พ.ศ. 2549 ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์อิสลาม จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ตัวแทนกระทรวงสาธารณสมบัติและกิจการอิสลามของประเทศคูเวตประจำประเทศไทย เมื่อปี ค.ศ. 1989 จนถึงปัจจุบัน
สมาชิกสภาสูงสุดเพื่อกิจการมัสยิดโลกเมื่อครั้งการประชุม ณ นครมักกะหฺ เมื่อปี ค.ศ. 1989-2000
คณะมนตรีสันนิบาตโลกมุสลิมเมื่อปี ค.ศ. 1991 จนถึงปัจจุบัน
ประธานโครงการจัดตั้งวิทยาลัยอิสลาม เมื่อปี พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996)
อธิการบดีมหาวิทยาอิสลามยะลา เมื่อปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) จนถึงปัจจุบัน
ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อการอุดมศึกษาเอกชนภาคใต้ ปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003)
รองประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวฒิสำนักงานจุฬาราชมนตรี เมื่อปี ค.ศ. 2001 จนถึงปัจจุบัน
คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005)
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006)
อะมีรุลฮัจย์ปี พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007)
อะมีรุลฮัจย์ปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009)
ที่ปรึกษา
อดีตทีปรึกษาประจำศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ค.ศ. 1998-2001
ที่ปรึกษาประจำสำนักจุฬาราชมนตรี ค.ศ. 1998 จนถึงปัจจุบัน
ที่ปรึกษาแม่ทัพภาคที่ 4 ค.ศ. 1999-2002
อดีตที่ปรึกษา พ.ต.ท 43 ปี ค.ศ. 2000
อดีตที่ปรึกษาสำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขต 2 ปี ค.ศ. 2000
ที่ปรึกษามูลนิธิส่งเสริมจริยธรรมปัตตานี
ที่ปรึกษาสมาคมจันทร์เสี้ยวแห่งประเทศไทยปี 2003
ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดปัตตานีและยะลา
ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ)
คณะกรรมการที่ปรึกษา กอ.สสส.จชต ปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005)
ที่ปรึกษามูลนิธิจันทร์เสี้ยว ปี พ.ศ. 2550
ที่ปรึกษาผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ที่ปรึกษาโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ที่ปรึกษากองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า
ที่ปรึกษาศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
Order of the Crown of Thailand – 1st Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
Order of the White Elephant – 2nd Class (Thailand) ribbon.png เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)อ้างอิงจาก https://asean.psu.ac.th/asean-peopleD.php?personId=P000033

 13,161 total views,  8 views today

You may have missed