เสนอศอ.บต.ตั้งศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการรองรับธุรกิจดิจิทัลจังหวัดชายแดนภาคใต้โต ปรับการบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว วัน สต๊อป เซอร์วิส (One stop service) อำนวยความสะดวกการลงทุนกลุ่มสตาร์ทอัพ มั่นใจศักยภาพในพื้นที่และความพร้อมโครงสร้างพื้นฐาน-ทรัพยากรบุคคล
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จัดเสวนา ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “โอกาสของจังหวัดชายแดนภาคใต้ในยุคธุรกิจดิจิทัลเฟื่องฟู” มีวิทยากร
ประกอบด้วย นายมีธรรม ณ ระนอง ที่ปรึกษาและรักษาการรองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Etda), ผศ.ดร.ธนภัทร ยีขะเด รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, นายชารีฟ เด่นสุมิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอส ออเดอร์ จำกัด, นางมาลัย เพ็งมูซอ ผู้ก่อตั้งบริษัท บ้านกล้วย (2017) จำกัด
ดำเนินการเสวนาโดย นายสมชาย สามารถ บรรณาธิการศูนย์ภาคใต้เครือเนชั่น และ นายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช ผจก.ภาคใต้ตอนล่าง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล(Depa) ถ่ายทอดสดทางเพจศ.อบต.และสงขลาโฟกัส วันที่ 20 ตุลาคม 2564 เวลา 13.00-16.00 น.
นายมีธรรม ณ ระนอง กล่าวว่า ถ้าถามว่าโอกาสทางภาคใต้มีไหม ขอตอบว่ามีมากๆ ทางสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เคยทำการวิจัยทางตลาด พบว่า มีการใช้เวลาใน 1 วัน ในการใช้อินเตอร์เน็ตวันละ 9 ชั่วโมง ประมาณ 2 ปีที่แล้ว
และภายหลังพบว่า คนใช้มากกว่า 10 ชั่วโมงในการทำแง่ธุรกิจมากขึ้น และเข้าถึงดิจิทัลแพลตฟอร์มมากขึ้น คือการจ่ายเงินออนไลน์ ขณะนี้ทุกคนจ่ายผ่านแอปมือถือหมดแล้ว
“ผมคิดว่าทางภาคใต้มีศักยภาพคือการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ทั้งความเร็วอินเตอร์เน็ต การมีโครงสร้างที่ดีก็จะทำอะไรได้ง่ายขึ้น”
ซึ่งเครื่องมือทางดิจิทัลก็ต้องใช้เยอะ แต่สำคัญที่สุดคือคน คิดว่าคนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เองมีหน่วยงานและมหาวิทยาลัยเยอะพอสมควร ซึ่งคนที่ผลิตออกมาก็สามารถรองรับตรงนี้ได้
ส่วนงานที่สนับสนุนก็เป็นเรื่องที่ดีที่มีหน่วยงาน Depa อยู่ที่จังหวัดสงขลา เป็นหมุดสำคัญในการเชื่อมโยงส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคได้ง่ายขึ้น
สำหรับผู้ประกอบการถ้ามี sandbox เป็นเรื่องที่ดีจะเป็นแรงพยุง โมเดล sandbox เกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือกฎหมาย บางคนทีทั้งไอเดียและความคิดมาแล้ว พอก้าวพ้น sandbox มาได้ อย่างเช่น
ถ้าไม่มีงบประมาณสนับสนุนตรงนี้ก็จะไปต่อยาก ถ้าตรงนี้ไปได้ เชื่อว่ามีหลายไอเดียที่สามารถรอดไปได้การเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มภาครัฐเป็นอะไรที่สำคัญมาก เชื่อว่าต่อไปจะเปลี่ยน เพราะกฎหมายระเบียบต่างๆ น่าจะเอื้อต่อดิจิทัลให้มากขึ้นเช่นกัน
ภาครัฐต้องนำสิ่งเหล่านี้ใส่ลงไปในดิจิทัลสามจังหวัดชายแดนใต้ให้เติบโต คือ ใส่ใจ จริงๆ ภาครัฐอาจจะทำอยู่แล้วด้วยขอบเขตเลยไม่สามารถทำทุกที่ได้เหมือนกัน หลักๆ นอกจากความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐแล้ว ผมมองว่างบประมาณก็สำคัญเป็นสิ่งที่ต้องไปพร้อมกัน และอีกอย่างคือเรื่องความเร็ว เพราะดิจิทัลมาเร็ว และไปเร็วเหมือนกัน
ต่อมาคือ การควบคุมมาตรฐาน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่ต้องไปด้วนกัน และสำคัญที่สุดคือ ความร่วมมือทุกภาคส่วน ทำอย่างไรให้สินค้ามีคุณภาพมีตลาด ฯลฯ มองดิจิทัลเป็นเครื่องมือส่งเสริม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถ้ารวมกันได้ทำให้การใชีดิจิทัลขับเคลื่อนอนาคตชายแดนใต้ได้อย่างดีและยั่งยืน
ผศ.ดร.ธนภัทร ยีขะเด กล่าวว่า โอกาสของจังหวัดชายแดนใต้ต่อการดำเนินธุรกิจยุค New normal ในปัจจุบัน เห็นได้ว่า e-commerce ประเทศไทยเป็นอันดับ1 ในอาเซียนสูงสุดติดต่อกัน 6 ปีซ้อน แสดงว่า คนไทยมีความตื่นตัวซื้อขายผ่าน e-commerce กันมาก
นักศึกษาในขณะนี้อยู่ใน Gen z/ Gen y คนกลุ่มนี้ใช้อินเตอร์เน็ตมากต่อวัน 11-12 ต่อชั่วโมง อยากจะให้โฟกัสในทั้ง 2 gen นี้ จะเห็นว่ามีประชากรเกินครึ่งในภูมิภาคใช้อินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น โดยใช้ Content ต่างๆ ที่ตอบสนองหรือเข้าถึงกลุ่มนี้ได้ เพราะนี่คือโอกาสของสามจังหวัดชายแดนใต้ในยุคเทคโนโลยีที่เรามี Gen เหล่านี้ในการขับเคลื่อนภูมิภาคของเรา
ส่วนการขับเคลื่อนการศึกษาต้องเข้าใจว่าภาคใต้เรามีบริบทที่ต่างจากการศึกษาของภาคอื่น 5 จังหวัดภาคใต้เรามีการศึกษาพิเศษที่นักเรียนส่วนใหญ่มุ่งเน้นการศึกษา เปรียบเทียบได้คือว่าเด็กที่เรียนในเมืองมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีที่ดีกว่าเด็กในชุมชน ความเท่าเทียมเรื่องเทคโนโลยี ความรู้ บุคลากร ค่อนข้างสำคัญในการผลักดันจังหวัดชายแดนใต้ได้
แผนธุรกิจต่างๆ เป็นเหมือนกับตัวทฤษฎี แต่หัวใจที่สำคัญคือ การนำไปปฏิบัติจริง สามารถนำไปใช้จริงได้หรือเปล่า การที่จะผลักดัน sandbox ถ้าอยากให้ผู้ประกอบการ 3 จังหวัดขับเคลื่อนไปได้ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น งบประมาณ เทคโนโลยี ที่สำคัญคือ พี่เลี้ยง เพราะว่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่การที่ให้มีคนรับช่วงต่อผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม
ต้องเป็นการตลาด ถ้ามีการป่มเพาะ มีกระบวนการทำงานการตลาด ก็สามารถเป็นไปได้ในดำเนินธุรกิจ start up หรือดิจิทัลในบ้านเรา
ส่วนศูนย์ให้การช่วยเหลือ ตรงนี้ถ้าศอ.บต.ทำได้ อย่างเช่น อาจจะเป็นตัวกลางเพื่อเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่างๆ คอยประสานงานช่วยเหลือเหมือนเป็น call center ไว้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี
อีกเรื่องคือ การป่มเพาะคนรุ่นใหม่ เช่น องค์ความรู้ ซอฟต์แวร์ต่างๆ อาจจะต้องให้โอกาสคนรุ่นใหม่สอนให้เขารู้จักสร้างความคิดสร้างสรรค์ หน่วยงานภาครัฐอาจจะสนับสนุนเรื่องงบประมาณ ความรู้ มีแพลตฟอร์มของตัวเอง ฯลฯ
นางมาลัย เพ็งมูซอ กล่าวว่า ซึ่งช่วงเวลา 2 ปีที่มี โควิด-19 เราปรับตัวโดยไม่คิดว่าเป็นวิกฤติของกลุ่มบ้านกล้วย ซึ่งที่จังหวัดปัตตานีแปรรูปเกี่ยวกับกล้วยน้ำว้าที่มีในชุมชน มีกาาจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน
ขณะนี้ช่องทางของกลุ่มบ้านกล้วยอยู่ทุกห้างสรรพสินค้าในประเทศไทย และวางจำหน่ายหนึ่งหมื่นว่าสาขาของเซเว่น ที่เข้าไปอยู่ในกลุ่มเหล่านี้ได้
มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคีเครือข่ายให้ความรู้เพื่อให้ผู้ประกอบการอยู่รอด จนปัจจุบันได้เข้าถึงลูกค้ามากมาย โดยมีกำลังผลิตวันละ 1 ตัน
“อยากจะฝากผู้ประกอบการว่าอย่าไปกลัวโควิด-19 แล้วหยุดไปต่อ แต่อยากให้เข้าหาหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งทุกกลุ่มมีการประชาสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลา การที่เราปรับตัวเข้าหาดิจิทัลทำให้มีตลาดมากขึ้น และที่สำคัญคือคนรุ่นใหม่เข้ามาเพิ่มเติม”
ซึ่งผู้ประกอบการจะอยู่รอดหรือไม่รอดไม่ได้อยู่ที่โควิด-19 แต่อยู่ที่เราปรับตัวแค่ไหน อีกทั้ง ทางกลุ่มได้เปิดโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่ได้ศักยภาพได้เต็มที่แล้วเราจะได้ผลลัพธ์ที่เกิดคาด
สำหรับผู้ประกอบการ OTOP อยากให้ในพื้นที่มีหน่วยงานเป็นพี่เลี้ยง กลุ่มผู้ประกอบการมีหลายระดับ อยากให้แบ่งระดับในการอบรมกันอย่างชัดเจน จนบางครั้งศักยภาพในพื้นที่ทำให้ไปไม่ได้สุด
“ในพื้นที่ยังขาดการประสานงานในการตอบปัญหาได้ตรงตัว”
คือรวมๆ แล้วกลุ่มเติบโตในช่วงโควิดพอดี อย่างเดือนที่แล้วปิดยอดไปกว่า 4 ล้านบาท เติบโตมากับดิจิทัล ซึ่งทุกโอกาสที่ได้รับในยุคออนไลน์ ไม่คิดว่าสินค้าบ้านๆ เข้าสู่สากลได้ เห็นได้ชัดคือ เราเติบโตแบบก้าวกระโดด
จากปี 2555 ได้ 1,500 บาท ล่าสุด ปีนี้ 4 ล้านกว่าบาท มั่นใจว่าปี 2565 เราจะขายมากขึ้น และต้องการวัตถุดิบกล้วยน้ำว้ามากขึ้นด้วย
นายชารีฟ เด่นสุมิตร กรรมการผู้จัดการบริษัท แอส ออเดอร์ จำกัด กล่าวว่า มุมมองคนรุ่นใหม่ที่อยากมาทำธุรกิจในด้านดิจิทัล มุมมองแรกคือมุมมองผู้ประกอบการที่เอาดิจิทัลเข้ามาใช้ แต่อีกมุมมองที่เพิ่มเข้ามาก็คือมุมมองคนที่อยากจะทำดิจิทัลให้ผู้ประกอบการใช้
“ตัวชารีฟเองเริ่มกลับมาบ้านเกิดใน 3-4 ปีที่แล้วมาทำธุรกิจที่เป็นแพลตฟอร์มและหน้าร้านที่บริหารจัดการจัดสรรวัตถุดิบให้ร้านอาหาร ถ้าย้อนกลับไป 4-5 ปีที่ดิจิทัลเป็นเรื่องใหม่มาก”
ชารีฟกลายเป็น Start up หน้าใหม่และเป็นกลุ่มแรกๆที่เป็น food derivery กลายเป็นจุดกำเนิดให้ Start up นอกพื้นที่เขาเห็นโอกาสว่าในพื้นที่ทำธุรกิจด้านดิจิทัลได้จริง
ปัจจุบันมีหน้าร้าน 7 สาขา และมีระบบดิจิทัลเข้ามา ซึ่งหลายกิจการที่มีการเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้โตขึ้นแน่นอนเป็นจุดที่พิสูจน์ให้เห็นส่าการที่เราเอาดิจิทัลเจ้ามาใช้บริหารทำให้เงินสองหมื่นกว่าบาทเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นในทุกๆปี
เห็นได้ว่าปีนี้ 2564 ที่โควิด-19 ระบาดอย่างหนักเข้าตัวชารีฟปิดยอดไปประมาณ 25-30 ล้านบาท พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสเป็นเพราะการที่เรานำดิจิทัลเข้ามาสามารถสร้างโอกาสได้มากมาย น้องๆในพื้นที่สามารถมาทำในตรงนี้ได้มากขึ้น มีหน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนเยอะเราแค่พิสูจน์ว่าสิ่งที่เราคิดทำได้จริงหลายหน่วยงานพร้อมจะยื่นมือแน่นอน
ถ้าใจลึกๆของคนรุ่นใหม่เขาอยากจะเป็นผู้ประกอบการเอง แต่สิ่งเขายังกลัวว่าการเป็นผู้ประกอบการสามารถเลี้ยงตัวเองได้ระยะยาวหรือเปล่า ทำให้เขาตัดสินไม่ได้ในตรงนี้ แต่ถ้ามี sandbox ที่เป็น start up มีหน่วยงานที่มีทุนต่างๆ เชื่อว่าคนที่ตัดสินใจว่าทำดีหรือไม่ทำเข้าจะตัดสินใจทันที
ซึ่งโอกาสบ้านเราต่างเราต่างกับคนที่อื่นที่ทำ start up จากที่เคยไปพูดกับผู้ใหญ่หลายท่าน บ้านเราอยู่ติดชายแดนการที่เราทำดิจิทัลตรงนี้เข้าไปในประเทศเพื่อนบ้านได้ง่ายขึ้น เพราะว่าคนบ้านเรารู้วัฒนธรรมเพื่อนบ้าน รู้ภาษา รู้การดำเนินชีวิต การทำดิจิทัลตรงนี้สามารถไปไกลกว่าธุรกิจในเมืองหลวง
การที่จะไปประเทศเพื่อนบ้านจริงๆประเทศเพื่อนบ้านมีความต้องการอย่างหนึ่งคือ ประเทศเพื่อนบ้านต้องการสินค้าบ้านเราสูงในบางชนิด ผู้ประกอบการหลายคนยอมเปิดสาขาที่สุไหงโกลก ผมมองว่าเป็นวิถีชีวิตที่เอาสินค้าไทยไปมาเลเซีย หรือมาเลเซียมาไทย การที่เขาเอาดิจิทัลเข้ามาทำให้อยู่ในระเบียบที่ถูกต้อง สามารถตอบสนองต่อสินค้าใหม่ๆและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ได้เยอะมาก
ถ้ามีการช่วยเหลือผู้ประกอบการแล้วผู้ประกอบการไปต่อไม่ได้ อาจจะสร้างความเสียโอกาสในการออกสู่ตลาด แก้ปัญหาได้โดยการจริงๆในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ เอารุ่นพี่ start up ร่วมบริหารผลักดันตัวน้องๆ น้องสามารถไปต่อได้และรุ่นพี่เข้ามาช่วยเขาก็สามารถได้ไอเดียใหม่ๆมาร่วมทีมมีโอกาสที่จะสำเร็จเพิ่มขึ้น
////////////////
13,305 total views, 2 views today
More Stories
มหกรรมคาราวาน OK BETONG BIKE WEEK 2024 ระหว่างวันที่ 2 – 3 สิงหาคม 2567
สตรีทฟู้ดแอนด์อาร์ท Betong Art Club ศิลปะภาพวาด ความหลากหลายเมืองเบตง
“ลูโบ๊ะดีแย แคมป์” ธรรมชาติบำบัด CAMPING กดไลค์ ใช่เลย!