อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
จากข่าวดราม่า ในโลกโซเชี่ยล “นายกฯตู่แนะ ให้ชาวบ้าน คนสุโขทัย สวดมนต์ เพื่อ ให้ รอดพ้นพายุ “ ต้องยอมรับว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่คนระดับผู้นำประเทศไทยอย่างท่านเคยแนะ ประชาชนพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ประเทศไทยพ้นภัยจากวิกฤตภัยพิบัติ
สิ่งเหล่านี้สะท้อนตัวตนของท่าน และสังคมไทยในวัยผู้ใหญ่ หรือชาวบ้าน ซึ่งอาจจะต่างกับคนรุ่นใหม่ คนในเมืองในยุคสื่อดิจิตอลในปัจจุบัน
ตามแนวคิดมานุษยวิทยากับการศึกษาความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสังคมไทย พบว่าสิ่งเหล่านี้อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน
และผู้เขียนก็ทราบว่า สิ่งนายกรัฐมนตรีพูดกับชาวบ้าน ไม่น่าเป็นกระแสดราม่า หาก ไม่ได้อยู่ในยุคปัจจุบัน หรือ กระแสความขัดแย้งทางการเมืองที่แบ่งขั้วชัดเจนระหว่างเอาไม่เอานายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา
จริงอยู่ ปฏิเสธไม่ได้ ฝนถล่ม เพราะพายุที่เข้ามา เป็นเรื่องธรรมชาติที่มนุษย์มิสามารถป้องกันได้ และในแง่คนที่เป็นชาวพุทธหรือมีศาสนาในหัวใจ อย่างคนมุสลิมก็สามารถขอพรให้มันไปไกลได้ แต่ในแง่หนึ่งคนที่เป็นผู้นำประเทศก็จะต้องมีคำตอบที่ดีกว่านี้
นี่คือความท้าทายของท่านประยุทธ์ ที่นำคณะลงพื้นที่ ซึ่งสื่อมวลชน “มองว่าเป็นการลงพื้นที่หวังผลทางการเมือง ไม่ว่าจะวัดพลังทางการเมืองกับป.ประวิตรหรือเตรียมพร้อมกับการเลือกตั้งครั้งหน้า มันเป็นความท้าทายสำหรับทุกรัฐบาลมิใช่เฉพาะรัฐบาลนี้
“ความท้าทายของรัฐบาลในฐานะคนบริหารประเทศที่จะต้องตอบให้ได้การบริหารจัดการน้ำท่วม อย่างไร ในระยะสั้น กลาง และระยะยาว รวมทั้งการเยียวยาผู้ได้รับกระทบสองเด้งทั้งนำ้ท่วมและโควิด “
#และอะไรคือทางสายกลางระหว่างการบริหารจัดการในทางวิทยาศาสตร์จับต้องได้กับคุณค่าทางจิตวิญญาณ
หากวิเคราะห์ปัญหาที่ทำให้เกิดความรุนแรงของน้ำท่วมน่าจะมาจากสาเหตุเดิมได้คือ
1.การขยายตัวอย่างขาดการวางแผนของชุมชนเมืองต่างๆทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
2.การก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม อาคาร บ้านเรือน หรือการถมที่สร้างบ้านจัดสรรหรือขยายเมืองไปในทิศทางที่เป็นที่ต่ำหรือที่ลุ่มหรือขวางทางนำ้
3.มีกฎหมายแต่ละเว้น การใช้มาตรการในการป้องปรามทางด้านกฎหมาย
แนวทางการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนเช่น
1.ติดตาม ตรวจสอบ “การวางแผนที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนที่สะสมมาตั้งแต่อดีตและดำรงอยู่ในปัจจุบัน ทั้งๆที่ทุ่มงบประมาณมหาศาล”
2.ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการภัยพิบัติ เพื่อลดความสูญเสีย
เป็นที่ทราบกันดีว่า“เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ” อันประกอบด้วย ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เทคโนโลยีการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing) และ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GNSS) เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสามารถประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการจัดการภัยพิบัติในทุกขั้นตอน ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ การเตรียมการก่อนเกิดเหตุ การวางแผนและบรรเทาลดผลกระทบ การรับมือในภาวะฉุกเฉิน และสุดท้ายคือการฟื้นฟูหลังเหตุการณ์
ปัจจุบันหลายหน่วยงานทั่วโลกได้มีการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเชิงพื้นที่ เพื่อรับมือกับภัยพิบัติกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากการประเมินความเสี่ยงจากภัยพิบัตินั้น ผู้ประเมินจำเป็นต้องมีความเข้าใจองค์ประกอบของสถานการณ์ของภัยพิบัติเสียก่อน เช่น พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ลักษณะทางกายภาพ สภาพท้องถิ่น (การใช้ประโยชน์ที่ดิน ประเภทและความสูงของอาคารที่อยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบ) เป็นต้น
หากนายกรัฐมนตรีมุ่งนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมาใช้เพื่อจะสามารถคาดการณ์ระดับความรุนแรงหรือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ในพื้นที่อื่นๆที่มวลนำ้จะไหลผ่านกว่าจะลงทะเลในขณะเดียวกันข้อมูลดังกล่าวก็เป็นประโยชน์ต่อช่วยเหลืออพยพและการฟื้นฟูเช่นเดียวกัน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในปัจจุบันสามารถทำงานร่วมกับข้อมูลรูปแบบที่หลากหลาย อีกทั้งยังง่ายต่อการเข้าถึงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลที่สำคัญต่อการรับมือภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งทำให้การตัดสินใจสั่งการก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นข้อมูลภูมิสารสนเทศจึงเป็นข้อมูลที่จำเป็นต่อการวางแผนจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
.
หมายเหตุโปรดอ่าน “แนวคิดมานุษยวิทยากับการศึกษาความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสังคมไทย
Anthropological Concepts and the Studies of Animistic Beliefs in Thai Society
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ
#บทคัดย่อ
Keywords: ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์, มานุษยวิทยา, กระบวนทัศน์, สังคมไทย, Animistic Beliefs, Anthropology, Paradigm, Thai Society
Abstract
#บทคัดย่อบทความนี้ต้องการตรวจสอบองค์ความรู้และแนวคิดทฤษฎีทางมานุษยวิทยาในการศึกษาความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำนาจเหนือธรรมชาติ ผี และวิญญาณโดยชี้ให้เห็นว่านักมานุษยวิทยาไทยอธิบายความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในภายใต้กระบวนทัศน์โครงสร้างหน้าที่ ซึ่งยังมองความเชื่อในฐานะเป็นเครื่องมือที่จะทำให้ชุมชนอยู่ในกฎระเบียบและเสถียรภาพ ในขณะที่แนวคิดทฤษฎีทางมานุษยวิทยาในระดับสากลได้ข้ามพ้นไปสู่การวิเคราะห์ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สัมพันธ์กับอำนาจและความรู้ที่มนุษย์นำมาต่อรองเพื่อสร้างตัวตนทางสังคมAbstractThis paper aims to investigate the body of knowledge and theoretical concepts in anthropology explaining the animism, supernaturalism, and spirits. It is found that Thai anthropologists have still studied the animistic beliefs in structural-functional paradigm that analyzes animism as a medium to stabilize the social order. However, the present anthropological studies in global arena have turned to realize the animistic beliefs in association of power and knowledge in which human agent negotiate in their reconstruction of social subjects.
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/husojournal/article/view/76724
20,007 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.