เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ในวิกฤตโควิดมีโอกาส: โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน จ.ปัตตานีแบบอย่างนวัตกรรม “ฝ่าวิกฤตโควิด”ด้านการศึกษา

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
14 กันยายน 2564 ได้มีโอกาสเสวนากับผู้บริหารโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน ปัตตานีและ 15 กันยายน 2564 อีกวัน ได้ฟังท่านและคณะครูในสาระวิชาต่างๆ ถอดบทเรียน การจัดการศึกษาออนไลน์ของโรงเรียนช่วงโควิด บอกได้เลยว่า “ได้ความรู้จากโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถานมากๆ… #ในวิกฤตโควิดมีโอกาส …เห็นการทำงานของท่านและคณะครูบริหารจัดการอย่างมืออาชีพ แม้วิกฤตต่างๆจะถาโถม จึงทำให้เห็นอนาคตมุสลิมชายแดนภาคใต้ว่ามีความหวังอันร่วมสร้างชุมชน สังคมและประเทศชาติในนาคนได้เลย”
ส่วนหนึ่งที่ท่านและคณะสะท้อน “ความพร้อมในอดีตก่อนหน้านี้2-3 ปีโรงเรียนให้ความสำคัญกับการบริหารและจัดการเรียนรู้ผ่านนวัตกรรม ไอทีและดิจิตอลด้วยโปรแกรมต่างๆซึ่งเมื่อต้องจัดการเรียนรู้ออนไลน์สามารถต่อยอดได้แม้จะมีปัญหาในช่วงแรก

“ตารางเรียนออนไลน์ที่นี่ปรับสามรอบ ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2564 นี้ ทั้งนี้คุณครูจะใช้ Google Web For Education ขององค์กร โดยโปรแกรมหลักๆที่ใช้สอนก็คือ Google Classroom และ Google Meet ซึ่งสามารถบันทึกการสอนได้ ในส่วนของการบริหาร บางทีก็ใช้ Zoom ประกอบซึ่งมีการนัดแนะกันใน Line กลุ่มห้อง/วิชา โดยครูบุคคลากรคอยเป็นที่ปรึกษานักเรียนตั้งแต่การติดตั้ง/วิธีการใช้โปรแกรมเหล่านี้ สำหรับรายวิชาที่ไม่ได้อยู่ในตาราง นักเรียนสามารถติดตามเรียนได้ใน Line กลุ่มห้อง/วิชา มีการยืดหยุ่นโดยบางท่านอาจจะนัดแนะสอนออนไลน์ในเวลาต่างหากที่นอกเหนือจากตาราง หรือเน้นการใช้คลิป Youtube แบบเดิม ในส่วนนักเรียนที่อาจจะไม่พร้อมเรื่องอุปกรณ์ หรืออาจจะต้องแบ่งปันคอมพิวเตอร์/แทบเล็ต/โทรศัพท์ให้พี่หรือน้อง ไม่สามารถใช้ในเวลาเดียวกันได้ ทางโรงเรียนได้หนุนเสริมโดยอัพโหลดไฟล์วิดิโอการสอนลงในภายหลัง อีกวิธีการหนึ่งที่สามารถจะแก้ปัญหานี้ได้คือร่วมกันเรียนกับเพื่อนๆในหมู่บ้านเดียวกัน แบ่งปันเนื้อหาการเรียนรู้ร่วมกันภายใต้กรอบการป้องกันการระบาดของโควิด-19 อย่างเข้มงวด “
สำหรับครูทั้งศาสนาและสามัญเกือบร้อยชีวิตสามารถใช่โปรแกรมต่างๆมากมายทั้งการสอน การจัดการเรียนรู้ ที่สนุกสนาน การวัดผลประเมินผลที่สามารถประเมินผลได้ทันที นักเรียนใดที่เรียนไม่ทันก็สามารถย้อนหลังดูได้ “
ในขณะเดียวกันในแง่การจัดการของโรงเรียน ได้แบ่งผู้เรียน ออกเป็น สามกลุ่ม ABC โดยมอบหมายให้ครูประจำวิชาและประจำชั้นสำรวจด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อประเมินว่า เราจะจัดการเรียนรู้แก่เขาอย่างไร วัดประเมินผลอย่างไร หนุนเสริม นักเรียนและผู้ปกครองอย่างไร
จากบทเรียนที่เรา(โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา)จึงขออนุญาตผู้บริหารโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน ให้ครูแต่ละสาระการเรียนรู้ ทั้งวิชาศาสนาและสามัญ ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับและมลายูได้จับคู่เป็นบัดดี้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

อาจารย์เดชชัย นิยมเดชา ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตั้งข้อสังเกตไว้อย่างน่าฟังว่า “
นั่งฟังโรงเรียนมูลนิธิอซิสถานวันนี้สรุป บทเรียนการจัดการเรียนออนไลน์นั้นโลกบังคับให้เราต้องปฎิรูปการศึกษาผ่านโควิด หากเราเปิดเรียนให้นักเรียนมาเรียนในห้องเรียนแต่ปรัชญาการศึกษาไม่เปลี่ยน การจัดการเรียนรู้กลับไปแบบเดิม นักเรียนแค่มานั่งในห้องเรียน แค่ได้มาเจอเพื่อนที่โรงเรียน แต่เด็กไม่เจออะไรจากการสอนของครู ก็จะเป็นห้องเรียนที่ขาดสิ่งเร้าและแรงตอบสนอง สื่อที่ครูเคยใช้ตอนสอนออนไลน์หายไป โปรแกรมนุ่นนี่นั่น หายไปกับการเปิดเรียน เพื่อให้สื่อการสอนที่ครูใช้ในออนไลน์กลับคืนมาสร้างสีสรรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้น่าเรียน ตรึงตา ตรึงใจผู้เรียนให้อยู่กับห้องเรียน ไม่นั่งหลัยฟุบโต้ะ โรงเรียนจึงต้องตอบคำถามว่า .ทำอย่างไรให้ยกห้องเรียนออนไลน์ไปไว้ในห้องเรียนจริง?เมื่อโรงเรียนเปิดเรียน เพราะโลกกำลังผลัดใบ การศึกษาจำต้องผลัดปรัชญา “ครูพร้อมแล้วกับการเรียนการสอนในยุคดิจิทัล ศรรตวรรษ 21 เพราะถูกโลกบังคับให้ต้องปฎิรูป “เมื่อครูพร้อมและโรงเรียนพร้อมเราจะก้าวทันทุกโรงเรียนไม่เพียงแค่อซิซสถาน” บิอิซนิลลาห์(หากเป็นความพระประสงค์ของพระเจ้า
โจทย์ใหญ่คือ “ทำอย่างไรให้นักเรียนคนทุกห้องได้เข้าถึงเทคโนโลยีด้วยมาตรฐานเดียวกันรวมทั้งครูทุกคน ทุกกลุ่มสาระเข้าถึงเทคโนโลยี่ในการสอนด้วยมาตรฐานเดียวกัน”
สำหรับเสวนาวิชาการเรื่อง
” โควิด วิกฤติ หรือ โอกาส ” โดยทางสมาคมฯ ได้รับเกียรตจาก ผู้บริหาร รร.ทั้ง 3 ท่านต่อไปนี้ มาร่วมเป็นวิทยากร :
1-อ.กามาล อับดุลวาฮับ ผอ.รร.มูลนิธิอาซิซสถาน
นาประดู่ ปัตตานี
2- อ.รอสดี แมงกาจิ ผอ.รร.พัฒนาวิทยา เมือง ยะลา
3- อ.อับดุชากูร ดินอะ ที่ปรึกษา รร.จริยธรรมศึกษา อ.จะนะ จ.สงขลา
4-นายมูหัมมัดนาสีรูดดิน เล๊ะนุ๊ ผู้ดำเนินรายการ
ผู้เขียนขอสะท้อนจากเวทีว่า “เมื่อผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ต้องเป็นรัฐมนตรีศธ.เอง ก็จะสามารถสร้างโอกาสสังคมมุสลิมช่วงโควิดและทำได้ด้วยโดยเฉพาะจากโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถานดังที่กล่าวไว้ข้างต้นซึ่งจริงอยู่การระบาดของโควิด-19 จะส่งผลกระทบที่ยาวนานและอาจถาวร คือแผลเป็นด้านการศึกษา โดยเฉพาะจากผลวิจัยทำให้เด็กไทยหลุดจากการศึกษากว่าร้อยละ 60 ส่วนคนที่เรียนออนไลน์ก็ประสบปัญหาวิกฤตทางสุขภาพกายและจิต ดังในเวทีเสวนาก็ยังมองว่าเป็นทั้งวิกฤต ที่เป็นความท้าทายและโอกาสไปพร้อมๆ กัน”ความท้าทายมีหลายประการ อย่างที่ทราบกันดีว่าการปิดโรงเรียนและการเรียนออนไลน์ในช่วงที่มีการระบาดก่อให้เกิดผลกระทบต่อนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ อย่างมาก นักเรียนจำนวนมากเรียนรู้จากการเรียนออนไลน์ได้อย่างจำกัดมาก ไม่ว่าจะเป็นเพราะขาดอุปกรณ์ ขาดสัญญาณอินเตอร์เน็ต ขาดผู้ปกครองที่มีเวลาช่วยแนะนำและกำกับการเรียน ขาดสมาธิ ปัญหาเหล่านี้ยิ่งหนักขึ้นถ้าเป็นนักเรียนยากจน ซึ่งอาจมีเรื่องอื่นเพิ่มเติม เช่น ช่วงเรียนออนไลน์ไม่อยากเปิดวิดีโอเพราะอายสภาพบ้าน ทำให้ปฏิสัมพันธ์ยิ่งน้อยลง และถ้าเด็กยิ่งอายุน้อยก็ยิ่งมีโอกาสเรียนรู้ได้น้อย (มีงานวิจัยหนึ่งระบุว่าเด็กอนุบาล 3 ของไทยเรียนรู้น้อยลงคิดเป็นประมาณ 4-5 เดือน)ผู้ปกครองเองก็จัดเวลายาก เพราะต้องทำงานไปด้วย ดูแลลูกหลานที่เรียนที่บ้านไปด้วย ครูเองก็ต้องปรับตัวมากในการสอนออนไลน์ บางคนปรับตัวไม่ได้ก็ทำให้ประสิทธิภาพการสอนหย่อนลง

หมายเหตุฟังและรับชม (ย้อนหลัง)เสวนาวิชาการ
เรื่อง
” โควิด วิกฤติ หรือ โอกาส ” โดยทางสมาคมฯ ได้รับเกียรตจาก ผู้บริหาร รร.ทั้ง 3 ท่านต่อไปนี้ มาร่วมเป็นวิทยากร :
1-อ.กามาล อับดุลวาฮับ ผอ.รร.มูลนิธิอาซิซสถาน
นาประดู่ ปัตตานี
2- อ.รอสดี แมงกาจิ ผอ.รร.พัฒนาวิทยา เมือง ยะลา
3- อ.อับดุชากูร ดินอะ ที่ปรึกษา รร.จริยธรรมศึกษา อ.จะนะ จ.สงขลา
4-นายมูหัมมัดนาสีรูดดิน เล๊ะนุ๊ ผู้ดำเนินรายการ

سيلا إيكوتي فورام علمية دباوه تاجوق…

وباء كوفيت كريسيس أتو فلواڠ ”

برسام٢ دڠن ٣ أهلي فينتال يڠ مواكيلي ٣ ولاية سلاتن تايلاند

١- كمال عبد الوهاب فڠاره مدرسة عزيزستان ..ولاية فطاني
٢- رشدي ميڠكاچيء فڠاره معهد نهضة العلوم مڠاڠ ولاية جالا
٣- عبد الشكور دينعأ فنصييحة دان فنتدبير سكوله معهد اليوسفية چنأ سڠگورا
٤- محمدناصرالدين ليهنو فنصييحة فرساتوان سكوله سواستا فورمال فطاني سباگي جوروأچارا أتو موداريتور.

https://www.facebook.com/ppsea/videos/534757200945775/

 6,749 total views,  2 views today

You may have missed