อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
วันนี้ 19 กันยายน 2564 มีการพูดคุย รำลึก 15 ปี “รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 “ เต็มหน้าจอสื่อ อย่างไรก็แล้วแต่ ปฏิเสธไม่ได้ว่า การปฏิวัติ ครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อชายแดนภาคใต้ด้วยเช่นกัน
รศ.ดร. บูฆอรี ยีหมะ อาจารย์รัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โพสต์เฟสบุ๊ก็ส่วนตัว แล้วมีภาพประกอบ 3 พลเอก คือ สนธิ บุญยกรินทร์ อนุพงษ์ เผ่าจินดาและ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยคำว่า “ส่งไม้ต่อจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง #15ปีรัฐประหาร19กันยา49 #7ปีรัฐประหาร22พฤษภา57
#ดอง “การกระจายอำนาจชายแดนใต้”อัตโนมัติ “เพิ่มอำนาจรัฐ ลดอำนาจประชาชน”
ในกระดุม 5 เม็ดที่พิธา จากพรรคก้าวไกลเสนอแก้ปัญหาใต้ มี สองประการ ที่เคลื่อนไม่ได้หรือถูกดองไว้เพราะ ผลของการปฏิวัติรัฐประหารทั้งสองครั้ง คือ การเมืองนำการทหารและการกระจายอำนาจ รูปแบบการปกครองที่เหมาะสม (โปรดอ่านใน https://www.bbc.com/thai/thailand-49290602)
สำหรับการกระจายอำนาจ รูปแบบการปกครองที่เหมาะสม
มันคือใจกลางของปัญหาความไม่สงบในภาคใต้เพราะมันเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางอำนาจกับรัฐส่วนกลาง เมื่อมีการปฏิวัติรัฐประหาร สิ่งเหล่านี้จะถูกผับเก็บหรือเป็นเรื่องต้องห้ามในการพูดในที่สาธารณะ จะถูกพูดอีกครั้งก็ตอนเลือกตั้งสั่งเกตได้จากการเลือกตั้งสมัยเพื่อไทยชนะเลือกตั้งซึ่งอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์เคยมาหาเสียงหรือการเลือกตั้งปี 2562 ทุกพรรคก็จะนำเสนอนโยบายการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะพรรคอนาคตใหม่ขณะนั้นเสนอถึงขั้น ยกเลิกกฎหมายพิเศษและปฏิรูปกองทัพ รวมทั้งถอนทหารจากชายแดนภาคใต้อย่างไรก็แล้วแต่เมื่อรัฐธรรมนูญที่คสช.ร่าง
ส่งผลให้ประยุทธ์ จันทร์โอชาได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
#ทางเลือกกลางไฟใต้ เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร?ข้อเสนอที่ถูกดองหลังผ่านปฏิวัติรัฐประหาร(ครั้งที่2) 7 ปี
ผู้เขียนเป็นหนึ่งในคณะทำงานต่อเรื่องนี้ ตั้งแต่ปี2555 แต่วันนี้ที่ 14 กันยายน 2564 พบว่า การกระจายอำนาจในรูปแบบที่สอดคล้องกับคนพื้นที่ชายแดนภาคใต้กลับถูกดองไว้ อย่างไรก็แล้วแต่ไม่เพียงชายแดนภาคใต้เท่านั้นที่ได้รับผลกระทบในการกระจายอำนาจแต่ทั้งประเทศกลับพบว่า การปกครองในบ้านเรา “รัฐราชการรวมศูนย์อำนาจที่กรุงเทพมหานคร”เป็นการกระชับอำนาจ ที่นักวิชาการและประชาสังคมสะท้อนตรงกัน
สำหรับ การขับเคลื่อนการกระจายอำนาจที่ชายแดนภาคใต้ นั้นผ่านเวทีนโยบายสาธารณะ “ชายแดนใต้จัดการตนเอง” อันเป็นโครงการที่ประสานความร่วมมือของ หลายองค์กรประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีสภาประชาสังคมชายแดนใต้เป็นเจ้าภาพหลัก (ผู้เขียนเป็นกรรมการสภาฯในสมัยนั้น)และได้รับการ สนับสนุนจากสมัชชาปฏิรูป โดยริเริ่มขับเคลื่อนมาตั้งแต่กลางปี 2555 เป็นต้นมา ด้วยฐานคิดที่เชื่อว่าความขัดแย้งเชิง โครงสร้างระหว่างอานาจรัฐแบบรวมศูนย์ของส่วนกลางกับการไร้อานาจบริหารจัดการตนเองอย่างแท้จริงของท้องถิ่น เป็นสาเหตุประการสาคัญของความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นเป็นอาการของความรุนแรงที่ต่อเนื่องยืดเยื้อเรื้อรังมาตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
รอฎอน ปัญจอร์ หนึ่งในคณะทำงานอีกครั้ง สะท้อน ว่า “เมื่อพิจารณาว่าความขัดแย้งในชายแดนใต้ หรือ (“ปาตานี” ในอีกนัยความหมายหน่ึง) นั้นว่าเป็น ปัญหาทางการเมือง วิธีที่เราจะจัดการกับความขัดแย้งดังกล่าวก็จะต้องแสวงหาทางออกทางการเมืองด้วยเช่นกัน และ ด้วยเหตุนี้ เสียงสะท้อนความกังวลและความต้องการของประชาชนในพื้นท่ีขัดแย้ง ตลอดจนเหตุผลท่ีประชาชนใช้ พิจารณาทางเลือกต่างๆ จึงสาคัญอย่างย่ิง เพราะจะเป็นหลักประกันและฐานรองรับความชอบธรรมต่อทางออกทาง การเมืองนั้นๆ ให้มีความยั่งยืนและได้รับความยินยอมพร้อมใจมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”
อย่างไรก็แล้วแต่เมื่อมีการปฏิวัติรัฐประหาร วันที่ 20 พฤษภาคม 2557 โดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และท่านยังบริหารประเทศถึงเจ็ดปี “มันยังไม่เห็นวี่แววที่จะขยับเดินหน้า เพราะแม้แต่การเลือกตั้ง อบต.ทั้งประเทศก็พึ่งประกาศให้เลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายนหน้า”
หมายเหตุอ่านฉบับเต็มใน
http://k4ds.psu.ac.th/index.php/2013-05-03-12-01-51
5,995 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.