เมษายน 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ลดความเลื่อมล้ำ ได้ด้วยรัฐสวัสดิการ

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เวทีรับฟังความคิดเห็นตามบริบทและสถานการณ์ กลุ่มสังคมและคุณภาพชีวิต
“ลดความเลื่อมล้ำ ได้ด้วยรัฐสวัสดิการ”
(รูปแบบ On line ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม ZOOM Meeting)
จัดโดย สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ส.ส.ท. กลุ่มประเด็นสังคมและคุณภาพชีวิต ภูมิภาคใต้โดยมีวิทยากร 3 ท่าน คือ
คุณนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair)
คุณจุฑา สังฆชาติ ผู้แทนเครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้
คุณมาเรียม ชัยสันทนะ สมาคมฟ้าใสส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนชาแดนใต้/ผู้แทนเครือข่ายเด็กเท่ากันภาคใต้/สภาประชาสังคมชายแดนใต้

ดำเนินรายการโดย นายปิยะโชติ อินทรนิวาส สมาชิกสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ภูมิภาคใต้

คุณนิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์
เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair)ให้ทัศนะช่วงหนึ่งว่า

“การจัดสรรงบฯ ทำเหมือนไม่เคยมีวิกฤตโควิด-19 เงิน 100 บาทถึงมือประชาชนแค่ 11.37 บาท แต่ข้าราชการได้ไป 40.11 บาท เรากำลังจะฟ้องนักการเมืองหาเสียงด้วยนโยบายรัฐสวัสดิการ แต่ไม่เคยทำตาม”
ในขณะที่

คุณจุฑา สังฆชาติ ผู้แทนเครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ให้ทัศนะว่า
“รัฐสวัสดิการที่ชัดเจนคือ ระบบหลักประกันสุขภาพ ช่วยลดค่าใช้จ่ายมหาศาล ต่อไปต้องนำค่ารักษาพยาบาล 3 กองทุน ข้าราชการ-ประกันสังคม-หลักประกันสุขภาพ มาหลอมรวมกันใหม่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ”

สำหรับคุณมาเรียม ชัยสันทนะ สมาคมฟ้าใสส่งเสริมสุขภาวะเด็กและเยาวชนชาแดนใต้/ผู้แทนเครือข่ายเด็กเท่ากันภาคใต้ /สภาประชาสังคมชายแดนใต้ ยำ้แม้นายกรัฐมนตรีบอกว่า “เงินไม่มี เราก็ยังขับเคลื่อนเงินสวัสดิการ เด็กถ้วนหน้า 600 บาท ต่อไปอย่างไม่ย้อท้อ


“สวัสดิการเด็กเล็กน่าสงสารที่สุด ยิ่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ต่อเนื่องมา นอกจากอาหารกลางวันเด็กแล้ว กรณีวัคซีนเด็กยิ่งเหลื่อมล้ำอย่างมาก เรื่องนี้ฝากพวกเราทุกเครือข่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันสู้ต่อไป”
(ฟังฉบับเต็มใน https://www.facebook.com/SapaThaiPBSsouth/videos/1036275210476245/)
ทัศนะของคุณมาเรียม ชัยสันทนะ สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวภาคประชาชนเมื่อ
11 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมาซึ่งอาจารย์สุนี ไชยรส ผู้แทนคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กสู่ถ้วนหน้า ในนาม “เครือข่ายเด็กเท่ากัน” กล่าวถึงที่มาการอุดหนุนสวัสดิการเด็กเล็ก ว่า “ช่วงเริ่มแรกรัฐบาลให้เงินอุดหนุนเด็กเล็ก 0 – 1 ปี จำนวน 400 บาทต่อเดือน เป็นการนำร่อง ก่อนจะขยายเป็น 0 – 3 ปี พร้อมกับเพิ่มเงินอุดหนุนเป็น 600 บาทต่อเดือน แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็น 0 – 6 ปี แต่ปัจจุบันจ่ายให้เฉพาะครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปีดังนั้นทำให้มีเด็กเล็กประมาณ 1.3 ล้านคนเท่านั้น ที่เข้าถึงสิทธิ ในขณะที่เด็กเหล่านี้มีประมาณถึง 4 ล้านคน

มันจึงกีดกันสิทธิของเด็กที่เหลือ แล้วเรายังสำรวจพบว่าแม้แต่เด็กยากจนที่รัฐบาลคาดหวังว่าจะได้รับเงินอุดหนุน ก็ตกหล่นประมาณร้อยละ30 ดังนั้นเครือข่ายเราจึงยืนยันหลักการถ้วนหน้า พ่อแม่หลายคนอาจเคยมีรายได้เกินเกณฑ์ 100,000 บาทที่รัฐบาลกำหนด แต่พอพอโควิดวันนี้ทำให้พวกเขาว่างงาน ไม่มีรายได้ พวกเขากลายเป็น ‘คนจนใหม่’ ที่ไม่ได้รับเงินอุดหนุนช่วยเหลือ เพราะฉะนั้นในสถานการณ์แบบนี้ยิ่งต้องให้แบบถ้วนหน้า”
อย่างไรก็แล้วแต่ปีงบประมาณ 2565 รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่จัดงบอุดหนุนเด็กเล็ก ด้วยเหตุผลต่างๆซึ่งพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ (ปช.) ในฐานะกรรมาธิการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ยืนยันต่อเรื่องนี้และให้ทัศนะเพิ่มเติมว่า “น่าจะเกิดจากวิธีคิดที่เห็นความสำคัญการสนับสนุนเด็กเล็กน้อยกว่าซื้ออาวุธครับ”
#เครือข่ายเด็กเท่ากันภาคใต้:แถลงการณ์ประกาศเจตนารมณ์ ต่อรัฐสวัสดิการนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้าเพื่อให้เด็กใต้เข้าถึงได้ 100 %
โดย ภาคีเครือข่ายภาคใต้มากกว่า 100 องค์กร

ในพื้นที่ภาคใต้เด็กประสบภาวะทุพโภชนาการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน มีภาวะเตี้ย แคระเกร็นเกินค่ามาตรฐาน และระดับ IQ มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าของประเทศ และจัดอยู่ในอับดับรั้งท้าย หนึ่งในสาเหตุสำคัญของการเร่งให้ปัญหารุนแรงมากขึ้นคือปัญหาความเหลื่อมล้ำและความยากจน รายงานพบอัตราความยากจนกระจุกตัวมากที่สุดในจังหวัดทางภาคใต้ นอกจากนี้การระบาดของโรคโควิด 19 เป็นภาวะวิกฤติที่ตอกย้ำสถานการณ์ข้างต้นให้รุนแรงยิ่งขึ้น ครอบครัวที่มีเด็กเล็กอายุ 0-6 ปี ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจในสัดส่วนที่สูงกว่าครอบครัวที่ไม่มีเด็กเล็ก การที่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยปิดตามมาตรการรัฐ ส่งผลให้มีเด็กเล็กที่ขาดสารอาหารและทุพโภชนาการเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกาย สมอง ภาษาและการเรียนรู้ถดถอย เสี่ยงต่อความรุนแรงทางสุขภาวะและคุณภาพชีวิต
รัฐสวัสดิการ นโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้าเป็นความหวังของหลายครอบครัวที่จะช่วยแบ่งเบาและลดปัญหาข้างต้น แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่า การลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนในเงื่อนไขเดิมมีปัญหาและล่าช้า มีความเสี่ยงของการลงพื้นที่เพื่อคัดกรอง ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลต้องเร่งรีบจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กอายุ 0-6 ปี แบบถ้วนหน้า ให้ทันในปีงบประมาณ 2565 ตามมติคณะกรรมการส่งเสริมพัฒนาเด็กและเยาวชน (กดยช.) ในการที่จะสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคมเป็นพื้นฐานให้แก่เด็กเล็ก ซึ่งให้ผลตอบแทนกลับคืนมาในอนาคตได้มากถึง 7-10 เท่า ภาคีเครือข่ายมากว่า 100 องค์กร ในพื้นที่ภาคใต้ มีข้อเรียกร้องต่อหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
1. ขอให้รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินการเรื่องการจัดสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กอายุ 0-6 ปี แบบถ้วนหน้า เดือนละ 600 บาทต่อคน ให้เป็นไปตามมติ ของคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) โดยให้เริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2565
2. ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เร่งดำเนินการเรื่องการถ่ายโอนภารกิจแนวทางการปฏิบัติสนับสนุนเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ เพื่อให้ดำเนินการสนับสนุนเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าใด้ครอบคลุม และรวดเร็ว เกิดประโยชน์แก่เด็กเล็กและครอบครัว

3. ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 14 จังหวัดของภาคใต้ นำวาระสถานการณ์ปัญหาสุขภาวะ เด็ก 0-6 ปี ในพื้นที่ของแต่ละจังหวัด บรรจุเรื่องนี้เป็นวาระของจังหวัด และสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด เช่น สาธารณสุขจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ฯลฯ บูรณาการการดำเนินงานร่วมกัน และสนับสนุนงบประมาณตามแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาสุขภาวะเด็ก 0-6 ปี ในระดับจังหวัด

4. ขอให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดมาตรการเชิงรุกสำหรับครอบครัว และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเด็กเล็ก โดยกระจายอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด 19 สำหรับเด็กและครอบครัว รวมทั้งการดำเนินงานเพื่อให้เด็ก 0-6 ปี ในพื้นที่ภาคใต้ได้รับวัคซีนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นให้ครอบคลุมมากขึ้น
5. ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กำหนดนโยบายให้หน่วยงานในสังกัด ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล และเทศบาล ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ ดำเนินการจัดมาตรการลดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตเด็กเล็ก ในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เช่นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กที่ถูกปิด ให้สามารถเข้าถึงการดูแลด้านอาหาร การส่งเสริมโภชนาการแก่เด็กเล็กอย่างเต็มที่ รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กเล็กระหว่างรอสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยเปิดบริการ
6. ขอให้คณะทำงานเครือข่ายประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์ ระดับภาคใต้ นำวาระเรื่องเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าและการจัดการพัฒนาสุขภาวะเด็กในภาวะวิกฤติโควิด 19 หรือ อื่น ๆ เช่น เรื่องอาหาร ภาวะทุพโภชนาการ พัฒนาการทั้งทักษะด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ไปเป็นประเด็นขับเคลื่อนงานของเครือข่ายภาคใต้ และให้เชื่อมประสานงานในการขับเคลื่อนเรื่องนี้กับเครือข่ายประเด็นเด็กและเยาวชน ของทั้ง 14 จังหวัด
7. ขอให้คณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ โดยสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ และเครือข่ายสื่อทั้ง 14 จังหวัด ดำเนินการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งระดับครอบครัว องค์กรที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาเด็ก อย่างกว้างขวางและทั่วถึง และออกแบบการสื่อสารเพื่อผลักดันให้มีการดำเนินงานตามมติ กดยช.ในการสนับสนุนรัฐสวัสดิการ นโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้าเพื่อให้เด็กใต้เข้าถึงได้ 100%
อาจารย์สุนี ไชยรส ให้ทัศนะช่วงท้ายการประชุมว่า “เมื่อรัฐบาลประยุทธ์ถ่วงเวลาไม่ยอมช่วยตามข้อเรียกร้องนี้ ด้วยข้ออ้างงบประมาณประเทศไม่เพียงพอ เราในนามภาคีเครือข่ายจะนำแถลงการณ์นี้ไปยื่นนายกรัฐมนตรี
ในช่องทางต่างๆ”
หมายเหตุ
ฟังย้อนหลังใน
เวทีผนึกพลังภาคใต้ รัฐสวัสดิการ นโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็ดถ้วนหน้า เด็กใต้เข้าถึง 100%
วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เวลา 08.30 -12.30 น .
ซึ่งผู้เขียนได้ร่วมผ่านระบบ Zoom
https://www.facebook.com/ppi.psu.ac.th/videos/3059989930943453/

 11,095 total views,  2 views today

You may have missed