พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รัฐราชการรวมศูนย์อำนาจคืออุปสรรคการแก้ปัญหาโควิดชุมชน

แชร์เลย

 

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

14 สิงหาคม 2564 สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการภาคใต้ Thaipbsจัด เวทีรับฟังความคิดเห็นเชิงสถานการณ์และบริบท กลุ่มพหุวัฒนธรรม ศาสนาและส่งเสริมประชาธิปไตย
เรื่อง ชุมชนท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมในการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด (โควิด –19)

โดย นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงากรุณาเล่า ถึงบทบาทท่าน
ใน “ การส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด –19)
หลังจากนั้น มีวงเสวนา “กระจายอำนาจ” สู่ชุมชน ตอบโจทย์การจัดวิกฤติโควิดระดับชาติหรือไม่ ? โดย
1.นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา
2.ภญ.ชโลม เกตุจินดา สมาคมผู้บริโภคสงขลา
3.บาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะ ผู้จัดการโรงเรียนศาสนบำรุงและที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา

ดำเนินรายการโดย นายปิยะโชติ อินทรนิวาส สมาชิกสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ภูมิภาคใต้ และคุณติชิลา พุทธสาระพันธ์ หัวหน้าศูนย์ข่าวภูมิภาคหาดใหญ่
ซึ่งวิทยากรทั้งสามคนสะท้อนตรงกันว่า “

รัฐราชการรวมศูนย์อำนาจคืออุปสรรคการแก้ปัญหาโควิด”กล่าวคือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงและกระจายอย่างรวดเร็วมากขึ้น ทั้งในด้านจำนวนผู้ป่วย และอัตราการเสียชีวิตของประชาชน ถือเป็นสถานการณ์ที่อาจจะเกินกำลังที่รัฐบาลจะบริหารจัดการได้เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นการใช้อำนาจรวมศูนย์ การยึดติดอยู่กับระเบียบกฎหมายมากเกินไป รวมถึงการออกแบบการใช้งบประมาณที่ไม่สอดรับกับสถานการณ์ที่ไม่ปกติดังกล่าวยิ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องเร่งทบทวน เพื่อนำไปสู่การสร้างกระบวนการแก้ไขปัญหาที่มีศักยภาพมากขึ้นแล้วอะไรคือทางออก ? ทางออกสำคัญที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ คือการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่นอย่างแท้จริงกับทุกภาคส่วน รวมถึงการคลี่คลายกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อสถานการณ์ ด้วยการกระจายอำนาจการบริหารจัดการและการปรับแก้ระเบียบบางอย่างเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมสำคัญในการเข้าไปจัดการหรือออกแบบแก้ไขกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในทุกระดับและทุกมิติได้เอง
นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา ได้สะท้อนช่วงหนึ่งว่า “การแก้ปัญหาโควิดครั้งนี้ถ้ามีการกระจายอำนาจทั้งภารกิจ คน งบประมาณ การแก้ปัญหาจะสามารถทำได้ดีกว่านี้ เพราะองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเข้าใจบริบทในแต่ละพื้นที่ บางเรื่องต้องคิดนอกกรอบกล้าตัดสินใจ เช่นเรื่องการจัดซื้อวัคซีนที่รัฐบาลส่วนกลางไม่อนุญาตในช่วงแรก การมีนวัตกรรมให้เปิดการขายออนไลน์(โครงการหลาดยะลา)ในรูปแบบคล้ายไหม Glab แทนที่ราคา30 % ผู้บริโภคต้องจ่ายให้กับบริษัทแต่หากเทศบาลทำเองจะลดภาระต่อผู้บริโภค ทำให้เศรษฐกิจในเทศบาลหมุนเวียน วินมอเตอร์ไซด์มีงานทำช่วงโควิด สำหรับการเลือกตั้งประชาชนจะได้มีอำนาจ 4 ปีเลือกครั้ง หากไม่ดีเขาก็ไม่เลือก กระบวนการประชาธิปไตยประชาชนเขามีพลวัตรการเรียนรู้ เคารพในการตัดสินใจประชาชน เคารพในพี่น้องนักการเมืองท้องถิ่น”
สำหรับโครงการหลาดยะลา (Yala Market) เป็นแพลตฟอร์มตลาดออนไลน์ที่ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงินในพื้นที่ โดยการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้เศรษฐกิจเกิดการเติบโต และยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน อันเป็นเศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy) ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะนำไปสู่ยะลาเมืองอัจฉริยะ (Yala Smart City) ทั้งนี้ การจัดทำโครงการหลาดยะลา (Yala market) จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพผู้ให้บริการต่าง ๆ อาทิ วินมอเตอร์ไซค์ ช่างซ่อมต่าง ๆ แม่บ้าน ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ช่วยผู้ที่ไม่มีความรู้ทางด้าน Digital ให้เข้าถึงบริการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเทศบาลทำหน้าที่เป็น Back Office ที่คอยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง พร้อมทั้งเพิ่ม Value Chain หรือห่วงโซ่คุณค่า โดยสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ เพิ่มรายได้ให้ร้านค้า โดยที่ร้านค้าไม่เสียค่าธรรมเนียม ตลอดจนให้เกิดการหมุนเวียนของเม็ดเงิน โดยการอัดเงินเข้าในระบบได้เร็วขึ้น ลดเวลาการเบิกจ่าย โดยเทศบาลฯ เป็นตัวกลาง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย สำหรับผู้ที่สนใจสั่งสินค้า สามารถเข้าไปได้ที่ Line Official Account : @yalacity ไปที่คำว่า “หลาดยะลา” หรือกด https://yalamarketplace.com/
ภญ.ชโลม เกตุจินดา สมาคมผู้บริโภคสงขลา สะท้อนว่า “พวกเราในนามเครือข่ายภาคประชาชนติดตามโควิดสงขลาเคยยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา สสจ . จังหวัดสงขลา เพื่อแก้ปัญหาโควิดอย่างมีส่วนร่วม หลังจากนั้นเรามีการถอดบทเรียนทั้งก่อนและหลังจะนะโมเดลในภารกิจโรงพยาบาลสนามที่ขับเคลื่อนโดยหมอสุภัทรและผู้นำศาสนาอย่างบาบอฮุสณี และคนอื่นๆ”
บาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะ ผู้จัดการโรงเรียนศาสนบำรุงและที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา ท่านกรุณาเล่าถึงการกำเนิดโรงพยาบาลสนามโรงเรียนศาสนบำรุง (เฉพาะสตรีและเด็ก)ที่เกิดขึ้นมาได้นั้นเพราะความร่วมมือร่วมใจระหว่าง นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจกับผู้นำศาสนาและการศึกษา(ปอเนาะ) อย่างไรก็แล้วแต่สำหรับผู้เขียนมองว่า จุดสำคัญไม่แพ้กันคือทุนทางสังคมที่ทั้งหมอและผู้นำศาสนาสั่งสมมาก่อนหน้านี้และการทำงานร่วมระหว่างหมอกับผู้นำศาสนาในการลุกขึ้นมาต่อสู้กับอำนาจรัฐที่จะสร้างมหาโปรเจกต์ “จะนะเมืองอุตสาหกรรม”
บาบอฮุสณีได้ฝากทิ้งท้าย ว่า การกระจายอำนาจที่สำคัญคือประชาชนได้เลือกผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอเอง”

#สำหรับผู้เขียนแล้ว ในเชิงประจักษ์นับต้ังแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2564 ) นับเป็นเวลากว่าสองทศวรรษท่ีประเทศไทย ได้ดําเนินนโยบายการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นถอยหลังอย่างชัดเจนหลังปฏิวัติรัฐประหาร 2 ครั้ง และแต่ละท้องถิ่นแต่ละชุมชนสัมผัสได้ เมื่อรัฐบาลที่เป็นรัฐราชการรวมศูนย์อำนาจที่กรุงเทพมหานครล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เวทีวันนี้สะท้อนเหมือนกัน ไม่ว่านายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลาและในนามนายกสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ภญ.ชโลม เกตุจินดาจากสมาคมผู้บริโภคจังหวัดสงขลา และบาบอฮุสณีย์ บินหะยีคอเนาะในนามผู้นำศาสนาและการศึกษา” ความท้าทายอีกประการคือการส่งไม้ต่ออย่างไรให้กับเยาวชนให้ประเทศไทยมีความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ที่เต็มใบ ที่กินได้ เพราะการกระจายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปราศจากประชาธิปไตยที่สมบูรณ์และภายใต้ “รัฐราชการรวมศูนย์อย่างปัจจุบัน

หมายเหตุ
1.ฟังย้อนหลังใน
https://www.facebook.com/SapaThaiPBSsouth/video

2.รายงานการจัดเวทีสภาผู้ชมThaipbs ที่ผ่านมาสามารถอานได้ใน https://sapa.thaipbs.or.th

 8,409 total views,  4 views today

You may have missed