อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
จากกรณีดราม่า ค่าสินสอด กลายเป็นประเด็นเมื่อวันที่ 11 ส.ค.64 ซึ่งมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้ โพสต์ เรื่องราวของ “ค่าสินสอด” ว่าหากฝ่ายชายเสียค่าสินสอดเป็นแสน แล้วคาดหวังทักษะจากฝ่ายหญิง เช่น ทำแกงส้มได้ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ถ้าไม่มีทักษะ ก็ควรจะฟรี
โดยข้อความของโพสต์ต้นเรื่องได้พิมพ์ไว้ ดังนี้
“ไม่เห็นแปลกเลย ถ้าอุตส่าห์เสียสินสอดเป็นแสนแล้วคาดหวังสกิลเล็กๆน้อยๆเช่นทำแกงส้มได้ ถ้าไม่มีสกิลอะไรที่จะมาเป็นประโยชน์ในชีวิตครอบครัวหลังแต่งงานเลย แล้วคาดหวังให้ผู้ชายต้องจ่ายเป็นแสนนี่สิ แปลก ไม่มีสกิล = ฟรี ก็ควรจะถูกแล้วป่ะ? ฟรีก็แต่งได้หนิ ไม่เห็นแปลก”
หลังโพสต์ ค่าสินสอด เผยแพร่ออกไปก็ถูกชาวเน็ตแชร์ต่อรวมถึงแคปหน้าโพสต์มาวิจารณ์ท่วมท้น บางคนพาดพิงหลักการอิสลามที่เข้าใจผิด ดังนั้นผู้เขียนขอชี้แจงดังนี้
#สินสอด (มะฮัร)
สินสอด ภาษาอาหรับเรียกว่า มะฮัร ตามหลักศาสนบัญญัติหมายถึง ทรัพย์ซึ่งฝ่ายชายจำเป็นจะต้องให้แก่หญิงคู่สมรส ในขณะที่สินสอด ตามกฎหมายไทย เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณีเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุส้าคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดย มีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ท้าให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียก สินสอดคืนได้
อย่างไรก็แล้วแต่มุสลิมไทยก็เรียกมะฮัรเป็นสินสอดเพื่อง่ายต่อการเข้าใจ
สำหรับสินสอด(มะฮัร)ตามทัศนะอิสลามมันมิใช่องค์ประกอบหลักของการสมรส หรือเงื่อนไขในองค์ประกอบดังกล่าว เพียงแต่จะมีผลด้านนิติบัญญัติหากฝ่ายชายปฏิเสธการให้สินสอดแก่ฝ่ายหญิง ที่สำคัญส่งเสริมให้ขานจำนวนของสินสอดในการประกอบพิธีสมรส ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาพิพาทที่จะเกิดขึ้นระหว่างคู่สมรสทั้งสองอัลลอฮฺได้โองการไว้ ความว่า“และสูเจ้าทั้งหลายจงนำมาให้แก่บรรดาหญิง (คู่สมรส) ซึ่งสินสอดของพวกนางด้วยความเต็มใจ” (อัน-นิสาอฺ : 4)
ในขณะที่ท่านนบี มุฮัมมัดจะทำการสมรสให้ชายผู้หนึ่งท่านได้กล่าวแก่ชายผู้นั้น กล่าวว่า : “ท่านจงมอบอาภรณ์แก่นาง” ชายผู้นั้นกล่าวว่า : “ฉันไม่มี” ท่านนบี กล่าวว่า : ท่านจงมอบให้แก่นางถึงแม้ว่าจะเป็นแหวนที่ทำจากเหล็กก็ตาม”
สิทธิและอัตราของสินสอด
สินสอดเป็นสิทธิของฝ่ายหญิงเพียงผู้เดียว ซึ่งย่อมมีสิทธิที่จะจัดการอย่างไรก็ได้ ไม่ว่าจะยกให้ผู้ปกครอง ญาติ, บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือแม้กระทั่งมอบกลับคืนให้กับสามีก็ได้
ศาสนบัญญัติมิได้กำหนดอัตราสินสอดที่แน่นอน เพียงแต่ให้เป็นทรัพย์ หรือสิ่งที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์ได้ หรือเป็นประโยชน์ก็ตามเช่นการสอนอัลกุรอาน เป็นต้น บันทึกโดยอิหม่าม บุคอรี :4341 / มุสลิม : 1425
(อ้างอิงจากหนังสือ อนาคตกฎหมายอิสลามในประเทศไทย หน้า 113-114
https://deepsouthwatch.org/sites/default/files/archives/docs/naakhtkthmaay_islaam_10_-_1_-_54.pdf)
ดังนั้นหากจะสรุปจากคำนิยามตามกฎหมายอิสลามกับกฎหมายไทย สินสอดหรือมะฮัรตามกฎหมายอิสลามจึงไม่เหมือนกับสินสอดตามกฎหมายไทย แม้สังคมมุสลิมไทยจะเรียกว่ามันว่า สินสอด ซึ่งดร.วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ
เลขานุการ กอจ.นครศรีธรรมราช ได้สรุปไว้น่าสนใจดังนี้
1. “มะฮัร ” ไม่เท่ากับ สินสอด
2. “มะฮัร” ไม่ใช่ราคาการซื้อขายส่งมอบฝ่ายหนึ่งให้อีกฝ่ายหนึ่งในฐานะเป็นราคาของสิ่งนั้น
3. “มะฮัร” ถูกกำหนดมาเพื่อด้อยค่าเรื่องการตั้งราคาฝ่ายหนึ่งเป็นดั่งสินค้า ซึ่งในยุคมืดที่บิดามารดาเป็นผู้ตั้งราคาและเป็นเจ้าของสินสอดนั้น
4. “มะฮัร “ มันมี Sense ของของขวัญ การผูกสัมพันธ์ ผูกมัด ความพึงใจ การรวมความรู้สึกร่วมระหว่าง 2 ฝ่ายอยู่ด้วย
5. “มะฮัร “เป็นสิทธิของเจ้าสาวล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับพ่อแม่
6. สมฐานะสตรี อันนี้ไม่ได้แปลเป็นราคาหรือมูลค่าของทรัพย์สินอย่างเดียว แม้เงื่อนไขของสิ่งที่นำมาเป็น “มะหัร” ได้ ต้องตีราคาออกมาเป็นมูลค่าการซื้อขายทรัพย์ที่เป็น “มะหัร” นั้นได้ แต่มันยังมี Sense ในเรื่องมูลค่าทางจิตใจด้วย
7. “มะฮัร ” หมายถึงองค์ประกอบของการตกลงที่จะผูกมัดสองฝ่ายเข้าด้วยกัน เป็นองค์ประกอบของการโอนย้ายหน้าที่ในการดูแล ปกป้อง คุ้มครอง ทะนุทนอม ซึ่งแต่เดิมเป็นหน้าที่ของวะลี (บิดา) สู่ผู้เป็นสามี
8. “มะฮัร” ดูเหมือนจะให้ความสำคัญของความพึงพอใจของเจ้าสาวอยู่มากเพราะเธอเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใน “มะหัร” นั้น น่าจะต้องฟังความพึงใจของเธอให้มาก ไม่ใช่คำนึงแต่ความพึงพอใจของครอบครัวของเธอ
9. ในเมื่อมันมี Sense ของทรัพย์ที่มากกว่าทรัพย์สินรวมอยู่ด้วย อิสลามจึงกำหนดเรื่อง “นาฟาเกาะฮฺ” มาผูกมัดสำทับผู้เป็นสามีอีกที ว่าคิดดีๆ ก่อนคิดจะทำหน้าที่สามี อันนี้ดิ้นยาก หนักกว่ามะหัรซะอีกหนุ่มๆ เอ๋ย
10. ทำความเข้าใจเรื่อง “มะฮัร ใน sense นอกกระแสแล้ว มันรุ้สึกโรแมนติก พรือโฉ้ อะครับ(คำในภาษาใต้)
#อนึ่งในเชิงประจักษ์(ศึกษาปี 2558 – 2559 )
จากงานวิจัย“การกำหนดมะฮัรในการแต่งงานในจังหวัดปัตตานี” ศึกษาโดยมูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจาภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)และพะเยาว์ ละกะเต็บ (อาจารย์ประจาภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)พบว่า “คู่แต่งงานนิยมจัดพิธีในช่วงปลายเดือนมากท่ีสุด คิดเป็นร้อยละ 41.7 และจัดพิธีในช่วงเช้า ระหว่าง เวลา 10.00 – 11.00น. นิยมแต่งงานในช่วงมกราคม –เมษายน และจัดพิธีท่ีมัสยิด คิดเป็นร้อยละ 76.9 ส่วนอายุ เฉลี่ยของฝ่ายชายจะสูงกว่าฝ่ายหญิง คือ ฝ่ายชายมีอายุเฉลี่ย 29.06 ปี ขณะท่ีฝ่ายหญิงมีอายุเฉลี่ย 25.89 ปี และ มูลค่าของมะฮัรมีค่าเฉลี่ย 65,814.75 บาท ตำ่สุด 100 บาท และสูงสุด 250,055 บาท สาหรับปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการกาหนดมูลค่ามะฮัร พบว่ากลุ่มท่ีแต่งงานในช่วงเดือนมกราคม –เมษายน อยู่ในกลุ่มมีค่ามะฮัรตำ่(ไม่เกิน 66,000 บาท) ช่วงเดือนที่แต่งงานมีความสัมพันธ์กับการกาหนดมูลค่ามะฮัรอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติท่ี 0.05 อายุของฝ่ายหญิง ในกลุ่ม14-26 ปี อยู่ในกลุ่มมีค่ามะฮัรสูง (มากกว่า 150,000 บาท)โดยใช้การศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งเก็บข้อมูลจากหนังสือสาคัญแสดงการสมรสของคู่บ่าว สาว จานวน 417 คู่ ตั้งแต่ปี 2558 – 2559 และสัมภาษณ์ผู้นำศาสนาเพื่อศึกษามุมมองที่มีต่อการกำหนดมะฮัร(อ้างอิงจาก
http://wb.yru.ac.th/bitstream/yru/807/1/1.%20การกำหนดมะฮัรในการแต่งงานในจังหวัดปัตตานี.pdf)
9,188 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.