พฤษภาคม 14, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ข้อเสนอแนะเฉพาะ “เด็กและสตรี”ชายแดนภาคใต้ฝ่าวิกฤตโควิด

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

📌 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เป็นผลให้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 รัฐบาลได้ออกมาตรการใหม่เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล ซึ่งรวมทั้งสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเข้มงวด
.
📌 ส่งผลให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องประสบปัญหาต่างทับซ้อนกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยังดำรงอยู่ อีกทั้งจังหวัดชายแดนใต้เป็นพื้นที่หน้าด่านของการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่
.
📌 จนถึงขณะนี้ (1 กรกฎาคม 2564) พบจำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จำนวน 2,180 ราย จังหวัดนราธิวาส จำนวน 2,158 ราย และจังหวัดยะลา จำนวน 1,989 ราย ขณะที่พบผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสโควิด-19 จังหวัดปัตตานี จำนวน 7 ราย จังหวัดนราธิวาส จำนวน 5 ราย และจังหวัดยะลา จำนวน 13 ราย
.
📌 สถานการณ์ของสตรีและเด็กรวมทั้งกลุ่มเปราะบางต่างๆ มีรายละเอียดเป็นการเฉพาะ
.
#ข้อเสนอแนะ (เสวนาสาธารณะ “ผู้หญิงและเด็กชายแดนใต้ กับสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่” เป็นอย่างไร? 4 กรกฎาคม 2564 เวลา 11.00 น.-13.00น.
.

เริ่มตั้งแต่แยกสถิติพวกเขาเฉพาะเพื่อสะดวกในดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องเด็กและสตรีท้ายสุดให้มีโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตั้งแต่สาธารณสุข เยียวยา ให้คำปรึกษาหารือ ทักษะชีวิตและอาชีพ
ในขณะที่ด้านการศึกษา พบว่า เด็กได้รับกระทบมากๆดังนั้นรัฐ จะต้องมีนโยบายสาธารณะที่สามารถ “ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา”เช่นพัฒนาคุณภาพบุคลากรครูอาจารย์และการเรียนการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนในชนบทและที่ห่างไกล นำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนทางไกล ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะใหม่ๆหรือพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันกับโลกยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล แต่ต้องไปสนับอุปกรณ์ การติดตั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงฟรีเป็นต้น
นายชากิรีน สุมาลี ผู้บริหารโรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ อันเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาแห่งหนึ่ง ได้ใช้ศักยภาพของโรงเรียนในเบื้องต้นในการแก้ปัญหานี้ ด้วยการสำรวจ และลงพื้นที่แก้ปัญหา โดยทำโครงการ “
โครงการสมาร์ทโฟน​/แทปเลตเพื่อน้อง” ท่านกล่าวว่า จากการสำรวจความพร้อมในการเรียนออนไลน์ของนักเรียนโรงเรียนมุสลิมสันติธรรมมูลนิธิ​ พบว่า​ มีนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมในการเรียนออนไลน์ประมาณ​ 20​% เนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ในการเรียน(แทปเลต สมาร์ทโฟน​ โนตบุค)​ ขณะนี้ทาง​ ร.ร.กำลังรวบรวมข้อมูลนี้อยู่เพื่อหาทางช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มนี้​ต่อไป
ด้วยฐานะยากจนของนักเรียนที่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วประกอบกับสถานการณ์โควิดมาซ้ำเติมทำให้​ ผู้ปกครอง(ผปค.)ขาดรายได้​เพื่อลดความเหลี่ยมล้ำทางการศึกษามีช่องทาง
หนึ่งที่พอจะช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มนี้ได้คือ​ ขอบริจาค​ สมาร์ทโฟน​ / แทปเลต​ ที่เหลือใช้​ และคาดว่าจะเป็นขยะอิเลคโทรนิค”

หมายเหตุ

เสวนาสาธารณะ “ผู้หญิงและเด็กชายแดนใต้ กับสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่” เป็นอย่างไร? 4 กรกฎาคม 2564 เวลา 11.00 น.-13.00น.
เสวนาโดย
🔸พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
🔸โซรยา จามจุรี ผู้ประสานงาน Civic Women
🔸รอกีเย๊าะ นิมะ ประธานอสม. บ้านแยะใน อ. กาบัง จ. ยะลา
🔸เกาซัร อาลีมามะ กรรมาธิการ CAP Women
และผู้เขียน
🔸ดำเนินรายการโดย รอมฎอน ปันจอร์

ฟังฉบับเต็มใน
https://fb.watch/6wXgvXJiMH/

 3,887 total views,  2 views today

You may have missed