พฤษภาคม 13, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

การสื่อสารประเด็นโควิด:โจทย์ใหญ่ที่ชายแดนภาคใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
#Club House จังหวัดชายแดนภาคใต้กับโควิด 2 เวทีเมื่อ 29 มิถุนายน และ 1 กรกฎาคม 2564 สะท้อนในหลายประเด็น แต่ในประเด็นการสื่อสารพบว่า เป็นโจทย์ใหญ่โจทย์หนึ่งซึ่งคุณนวลน้อย ธรรมเสถียร ได้สะท้อนว่า “
#โจทย์ใหญ่: การสื่อสารในเชิงสุขภาพ หลักสำคัญคือ การเน้นให้ความมั่นใจกับประชาชนว่า รัฐบาลมีความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ เช่นหลายคนเห็นว่ามีปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่นการปิดร้านก็สื่อสารไม่ทัน หลายร้านมีทหารเดินไปบอก นอกจากนั้นบางร้านที่มีเพื่อนหรือคนรู้จักไปนั่งกินข้าวด้วยกันก็เกือบโดนปรับที่โรงพักถึงสองหมื่นแต่เจรจาจนรอดไปได้ แต่บางคนเจรจาไม่ได้ผลโดนปรับไปเยอะมาก มีบางรายบอกว่ามีอาการเหมือนล่อซื้อก็มี ตอนนี้แม้จะมีคำสั่งห้ามละหมาด แต่มัสยิดบางแห่งยังละหมาดวันศุกร์อยู่ คุมเรื่องนี้ไม่ได้ ปชช.บางส่วนเห็นว่า มาตรการที่ใช้ไม่ยุติธรรมเพราะในตลาดหรือตามสถานที่ที่ยังเปิดอยู่ก็ไม่ได้เคร่งครัดมากมายทำให้เกิดการเปรียบเทียบ เกิดความไม่พอใจไม่อยากทำตาม”
แม้การรณรงค์ให้คนฉีดวัคซีนในระยะที่ผ่านมาลำบาก เช่นแถบชายแดน แต่พอมาถึงสถานการณ์ตอนนี้ พบว่าหลายคนพร้อมและยินดีจะฉีด แต่ไม่มีวัคซีน หลายคนได้รับการบอกเล่าว่าต้องรอวัคซีนล็อตถัดไปแต่ไม่มีข้อมูลว่าจะมาเมื่อไหร่

เรื่องของการไม่รับวัคซีน มีรากฐานจากหลายอย่าง อันหนึ่งมาจากความไม่ไว้วางใจในรัฐ มีคนสงสัยแม้กระทั่งว่ามีเชื้อโรคนี้จริงหรือไม่ หรือว่าเป็นของที่ทำขึ้น ชาวบ้านจำนวนหนึ่งไม่เชื่อว่ามีโควิด คิดว่ามีเรื่องของการสร้างเรื่องจะเอางบประมาณก็มี นอกจากนั้นยังมีคนที่รู้สึกว่าเรื่องนี้ไม่รุนแรงเพราะประสบการณ์การระบาดรอบแรกที่รอดมาได้ ปัญหาอีกอย่างของการรณรงค์ฉีดวัคซีนคืออาการไม่ลงรอยกัน กลุ่มผู้นำศาสนาเคยขอให้ฝ่ายปกครองใช้ความยืดหยุ่นเรื่องการให้ละหมาดในมัสยิด แต่ไม่ได้รับการขานรับ เรื่องนี้เป็นห่วงว่าอาจส่งผลต่อเรื่องการร่วมมือกันรณรงค์เรื่องวัคซีน ซึ่งในที่สุดแล้วสำหรับกลุ่มที่ปฏิเสธนั้น ยังจำเป็นต้องอาศัยผู้นำศาสนาเป็นกลุ่มที่ควรจะมีบทบาทช่วยในเรื่องการรณรงค์ทำความเข้าใจ นอกจากเรื่องนี้แล้วพบว่า ผู้นำศาสนาบางคนยังไม่เชื่อเรื่องมีโควิดก็มี
.
ขณะที่อีกด้านพบว่ายังไม่ได้มีการทำความเข้าใจกับปชช.อย่างจริงจัง เผยแพร่ข้อมูลชนิดที่เข้าถึงได้ในเรื่องโรค วัคซีน ฯลฯ
.

.
ในขณะที่พท.นี้มีความท้าทายอย่างหนักมากในเรื่องทัศนะต่อวัคซีน แต่การสื่อสารในเรื่องนี้ยังไม่มากพอ คนตัวเล็กตัวน้อยยังไม่มีใครสื่อสารให้ มีผู้ถามว่า ภาคประชาสังคมจะมีใครที่จะแสดงบทบาทในเรื่องของการผลักดันในเชิงนโยบาย เพราะนักการเมืองก็ไปวุ่นทำงานสนับสนุนการปฏิบัติการเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่การช่วยเหลือปชช.แท้ที่จริงแล้วยังต้องการการผลักดันในเรื่องทิศทางการบริหารจัดการ ความเหมาะสมของนโยบาย มีเสียงถามหาแอคเตอร์ภาคประชาสังคม”
#
ดังนั้นอะไรคือข้อเสนอแนะ?
นางสาวพรเพ็ญ คงคจรเกียรติ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมกรุณาสรุปเป็นข้อเสนอแนะในประเด็นนี้ว่า
การสนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการรับมือกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งสายพันธุ์ปกติ และสายพันธุ์ใหม่ ไปจนถึงความสำคัญของการเข้ารับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสดังกล่าว กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะชุมชนห่างไกล เพื่อสร้างความเข้าใจ และลดการไม่เข้าใจกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน เช่น

✓ มีข้อเสนอว่าต้องจัดหาวัคซีนให้ได้มากชนิด และเลือกได้ ที่มีคุณภาพป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสหลายสายพันธุ์ เพราะจังหวัดชายแดนใต้เป็นด่านแรกติดชายแดนติดกับประเทศที่มีการแพร่กระจายของสายพันธุ์ใหม่ๆ และมีการเข้าออกของบุคคลต่อเนื่อง เพื่อมาฉีดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายให้ได้ ป้องกันการแพร่กระจายไปยังพื้นที่อื่นๆของประเทศไทย
✓ มีประเด็นเรื่องความเชื่อและความไม่เชื่อมั่นในวัคซีนที่รัฐบาลจัดหาให้ ประชาชนจำนวนมากไม่ต้องการฉีดวัคซีน และไม่ให้ความร่วมมือในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือเป็นด่านหน้าซึ่งเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19สายพันธุ์ใหม่มากกว่าพื้นที่อื่น โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งเจ้าหน้าที่หน่วยลาดตระเวนชายแดนถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สุดต่อการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสดังกล่าวมากกว่าพื้นที่อื่น
✓ เร่งหาแนวทางการสื่อสารให้ประชาชนท้องถิ่นเข้าใจเรื่องโรคระบาด และอาจใช้ช่องทาง G to G หรือการบริจาคเอกชน ที่ให้ประเทศมุสลิมทางอาหรับจัดส่งวัคซีน เช่น Sinopharm หรือ Pfizer เป็นต้น หรือวัคซีนตัวอื่นๆ ที่เหมาะสำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และยอมรับว่าวัคซีนแอสตร้าซีนิก้า Sinovac เป็นชนิดวัคซีน viral vector ไม่คลุมสายแอฟริกันใต้ที่ระบาดในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ในขณะนี้
✓ รัฐเอกชนร่วมออกแบบการสื่อสารที่ชัดเจนมากขึ้นจากทางรัฐ เอกชนและชุมชนต้องมีส่วนร่วมเพื่อให้ประชาชนหลายกลุ่มเท่าทันสถานการณ์ ให้ชุมชนรับรู้ปัญหาโดยเร็ว โดยไม่ต้องบังคับ การสื่อสารในภาวะวิกฤต แบ่งกลุ่มทั่วไป เฉพาะกลุ่ม ชุมชน
✓ กรณีตัวอย่างเรื่องปัญหาเรื่องการสื่อสาร เช่นการปิดร้านก็สื่อสารไม่ทัน หลายร้านมีทหารเดินไปบอก นอกจากนั้นบางร้านที่มีเพื่อนหรือคนรู้จักไปนั่งกินข้าวด้วยกันก็เกือบโดนปรับที่โรงพักถึงสองหมื่นแต่เจรจาจนรอดไปได้ แต่บางคนเจรจาไม่ได้ผลโดนปรับไปเยอะมาก มีบางรายบอกว่ามีอาการเหมือนล่อซื้อก็มี
✓ การสื่อสารในแต่ละกลุ่มเรื่องวัคซีน มีความสำคัญ เช่น มีคนหลายกลุ่มที่ไม่ต้องการฉีดเลยเพราะไม่เอาวัคซีนที่รัฐจัดให้ กลุ่มนี้มีทั้งส่วนที่ไม่รับวัคซีนเลยไม่ว่าจะวัคซีนอะไรก็ตาม กับกลุ่มที่ไม่เอาวัคซีนที่รัฐจัดให้เพราะไม่เชื่อมั่นโดยเฉพาะซิโนแวค ยังมีกลุ่มที่ลังเลไม่อยากฉีด เช่น พนง.ในร้านอาหารหรือคนขับรถส่งของ แต่เจ้าของร้านหรือผู้ประกอบการมักจะพยายามให้พนง.ฉีดเพราะเป็นคนทำงานในร้านเจอคนเยอะ
✓ ผู้ประกอบการบอกว่าปฏิกิริยาคนจำนวนมากคือไม่อยากฉีดเพราะไม่มั่นใจวัคซีน แต่ส่วนใหญ่ก็ตกลงฉีดในที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการบางรายพยายามขอความช่วย้หลือให้จนท.ไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมแก่พนักงานแต่ก็ยังรออยู่ ประเด็นถัดมาก็คือ หลายคนเห็นว่า แม้การรณรงค์ให้คนฉีดวัคซีนในระยะที่ผ่านมาลำบาก เช่นแถบชายแดน แต่พอมาถึงสถานการณ์ตอนนี้ พบว่าหลายคนพร้อมและยินดีจะฉีด แต่ไม่มีวัคซีน หลายคนได้รับการบอกเล่าว่าต้องรอวัคซีนล็อตถัดไปแต่ไม่มีข้อมูลว่าจะมาเมื่อไหร่

 6,182 total views,  6 views today

You may have missed