อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
ด้วยสถานการณ์โควิดจะนะ นับวันตัวเลข ยิ่งเพิ่มขึ้น หลายชุมชนในอำเภอจะนะ แต่เป็นที่หน้ายินดีว่าทุนทางสังคมเดิมในอำเภอจะนะมีอยู่แล้ว โดยเฉพาะการทำงานร่วมระหว่างนายแพทย์สุภัทร ฮาสุวรรณกิจกับเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จึงเป็นการง่ายที่โรงพยาบาลจะนะ หากจำเป็นต้องเปิดโรงพยาบาลสนามและ ศูนย์กักชุมชน CIC ในขณะเดียวกันชุมนุมใดมีความเข้มแข็ง ชุมชนนั้นจะดูแลกันเอง เพียงแต่โรงพยาบาลหนุนในเรื่องแพทย์ พยาบาล และอุปกรณ์สาธารณสุข
ปัจจุบันอำเภอจะนะ มีการเปิด ศูนย์กักชุมชน CIC 2 แห่ง โดยความสมัครใจของชุมชน คือ โรงเรียนตาดีกามัสยิดโคกเค็ต ซึ่งผู้เขียนได้สะท้อนแล้ว เมื่อวันเสาร์ที่26 มิถุนายน 2564 (อ่านเพิ่มเติมใน #บทบาท ผู้รู้และโรงเรียนสอนศาสนาในการลุกขึ้นแก้วิกฤตโควิดจะนะ:สานต่อภารกิจอุลามาอ์จะนะในอดีต
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) http://spmcnews.com/?p=41581) สองศูนย์กักชุมชน CICโรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยาซึ่ง นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ได้สะท้อนว่า “
เมื่อเตียงโควิดโรงพยาบาลจะนะล้น โรงเรียนรุ่งโรจน์ลุกขึ้นมาจัดการตนเอง
โรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยา ตั้งอยู่หมู่ที่7 ตำบลบ้านนา หมู่บ้านข้างๆคือหมู่6 โควิดระบาดหนักมาก จากการตรวจกลุ่มเสี่ยงในชุมชน พบครูติดเชื้อ5คน จนนำมาสู่ active management โดยทีมงานของโรงเรียนเอง
บาบอดิง นัสรูดิน กะจิ ผู้บริหารโรงเรียนได้ประสาน มาที่โรงพยาบาลเพื่อให้มาตรวจswabครู100% ทำswabนั้นไม่ยาก รพ.ทำให้ได้ สิ่งที่ยากคือ หากพบเชื้อโควิดแล้วจะนอนกักตัวรักษาที่ไหน นีคือจุดตายในสถานการณ์ที่โรงพยาบาลมีผู้ป่วยล้นเตียง
คำตอบสั้นและชัด บาบอดิงยืนยันว่าโรงเรียนจะรับครูไว้พักกักที่โรงเรียน ขอแค่หมอพยาบาลออกมาดูแล อย่างอื่นเช่นอาหาร ที่พัก ทางโรงเรียนดูแลให้หมด
เมื่อแนวทางการดูแลชัด การทำสวอปก็เริ่มต้นไปเมื่อวันอาทิตย์ที่20มิถุนายน พบครูมีการติดเชื้อ33คน ทุกคนได้นอนกักตัวที่โรงเรียนนับตั้งแต่วันที่ตรวจพบเป็นต้นมา เพื่อไม่ให้กลับไประบาดในชุมชน เมื่อครบ14วัน ทุกคนจะได้กลับบ้าน“
ดังนั้นโมเดลชุมชน และโรงเรียนสอนศาสนาเอกชนที่มีบุคลากรจำนวนสามารถเป็นแบบอย่างในชุมชนอื่นและสถานประกอบการอื่นๆแต่ชุมชนนั้น ผู้นำโรงเรียนนั้น หรือสถานประกอบการนั้นต้องเข้มแข็งพร้อมรับภาระหลังจากเปิดไปแล้ว โดย นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า “
โรงพยาบาลจะนะต้องขอชื่นชมทีมโรงเรียนรุ่งโรจน์อย่างมาก ที่ช่วยประคองความวิกฤตเตียงล้น ด้วยการแบกรับภาระในการดูแลบุคลากรของตนเองร่วมกับทีมโรงพยาบาล นี่คือความรับผิดชอบทางสังคมที่น่าเคารพยิ่ง นี่คืออีกรูปแบบการสู้ภัยโควิด Organization Isolation Center (OIC) หรือศูนย์กักระดับองค์กร”
นอกจากนี้โรงพยาบาลจะนะได้เปิดโรงพยาบาลสนามแล้ว 1 แห่ง แต่ไม่เพียงพอ บาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะ เป็นทั้งผู้รู้ศาสนาและผู้บริหารโรงเรียนศาสนบำรุง (โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา)จึงยื่นความจำนงอาสาช่วยโรงพยาบาลแต่ด้วยโรงเรียนนี้อยู่ในชุมชนตลาดจะนะจึงทำให้บางส่วนออกมาคัดค้านอย่างไรก็แล้วแต่ด้วยความเป็นผู้นำทางการแพทย์ของนพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ และผู้นำศาสนาของบาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะ สามารถสร้างความเข้าใจต่อคนพุทธที่อยู่รอบโรงเรียนและได้รับการสรรเสริญจากโลกโซเชี่ยลเกินขาด
#โดยบาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะกล่าวว่า “ขอชื่นชมและขอบคุณอย่างสูงพี่น้องพุทธที่ออกมาสนับสนุนให้โรงเรียนศาสนบำรุงตั้งโรงพยาบาลสนาม ในครั้งนี้”
#ครับเราในนามมุสลิม ขอบใจ พี่น้องพุทธเป็นอย่างมาก ที่ช่วยออกมาส่งเสียง “จะนะเราต้องรอดด้วยความร่วมมือชุมชนพุทธ-มุสลิม”
ที่
ประชุมผ่านซูมในเครือข่าย COVID SONGKHLA WATCH
ร่วมเรียนรู้
#รูปธรรมการสู้กับโควิดด้วยวิธีจัดการตัวเองของชุมชน
มีทั้งทำอาหารให้ผู้กักตัวด้วยชุมชนเอง
ทั้งการปรับเปลี่ยนโรงเรียนสอนศาสนาเป็นโรงพยาบาลสนาม ได้สรุปตรงกันว่า “เป็นการทลายCOVIDด้วยภาคประชาชนที่นำโดยหมอและผู้นำศาสนาอันเป็นทุนทางสังคมที่สำคัญมากเวลาเจอวิกฤตที่ต้องการหาทางออก”
…
หลังประชุมจบผู้เข้าร่วมประชุมท่านหนึ่งซึ่งไม่พูดอะไรสักคำในที่ประชุมแจ้งมาในกล่องข้อความว่ากำลังประสานแพทย์แผนไทยเพื่อหนุนเครือข่าย
เราต้องไปให้ถึงการดูแลรักษาและป้องกันด้วยตัวเอง
(ประชุมผ่านซูม เสาร์ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๔)
อย่างไรก็แล้วแต่การแก้ปัญหาโควิดอย่างยั่งยืนอยู่ที่รัฐสามารถบริการจัดการให้ประชาชนได้ฉีดวัคซีนทุกคน ได้หรือไม่เพราะมิฉะนั้นปัญหาก็จะวนเวียนเปิดโรงพยาบาลสนามไม่สิ้นสุดอันจะนำไปสู่ระบบทางสาธารณสุขล้มดังที่ท่านสัมภาษณ์ข่าวเช้าวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2564 ทาง Voice TV(https://m.youtube.com/watch?v=Al6xmUsO8WE)
5,462 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.