พฤษภาคม 5, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

สถาบันสอนศาสนา ชายแดนภาคใต้ กับข้อเสนอแนะ การรับมือโควิด :ข้อเสนอจากยะหา

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
#สภาพสถาการณ์สถาบันสอนศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
อันเนื่องมาจากการเรียนศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นวิถีชีวิต มีการจัดการการสอนศาสนาในพื้นที่ หลากหลายรูปแบบแต่ในที่นี้จะกล่าวถึง สถาบันการสอนศาสนาสองส่วนเท่านั้น “สถาบันปอเนาะและสถาบันฮาฟิซ “

สถาบันปอเนาะ จะเน้นสอนศาสนาหลากหลายวิชา ในขณะที่สถาบัน ฮาฟิซ จะเน้นท่องจำอัลกุรอาน ทั้งสองสถาบันมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 300 แห่ง มีจำนวนนักเรียนจากทั่วภาคใต้รวมทั้งจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (บางสถาบันมีนักเรียนจากต่างประเทศเช่นมาเลเซีย กัมพูชาและเมียนมาร์)มากน้อยแล้วแต่ความมีชื่อเสียงของสถาบัน ตั้งแต่50 -2,000 คน เช่นสถาบันสอนศาสนา “มัรกัซยะลา มีชื่อเสียงมากๆด้านท่องจำกุรอาน มีนักเรียนไม่ต่ำกว่า 500 คน “
นักเรียนต้องอยู่ประจำเท่านั้น การเปิดปิดเรียนสถาบัน เน้นปฏิทิน ศาสนา คือ จะปิด ปีละสองครั้งใหญ่ “ช่วงเดือนเมาลิดนบีรำลึก” เดือนรอมฎอน และจะเปิดหลังจากนั้น ซึ่งปีนี้ เปิดประมาณ 24 พฤษภาคม 2564 หลังวันตรุษอีดิลฟิตร์ 10 วัน ดังนั้นในความเป็นจริง ณ ตอนนี้ ส่วนใหญ่มีนักจำนวนมากเรียนประจำอยู่ แม้สถาบันเหล่านี้จดทะเบียนกับทางการ ภายใต้การดูแลสำนักงานการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการซึ่งประกาศเปิดเรียน “สามัญ” วันที่ 14 มิถุนายน 2564
#บทเรียน “มัรกัซยะลา”จะแก้ปัญหาอย่างไร?
เมื่อสถานการณ์ความเป็นจริงเป็นของสถาบันสอนศาสนาในพื้นที่ดังที่กล่าวทางออกที่ดีที่สุด ที่จะไม่ให้เหตุการณ์ซำ้รอยมีข้อเสนอแนะไหม?
ผู้เขียนได้ดร.ฮาฟิซ ฮิเล ประธานเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ท่านได้ให้ผู้เขียนดู “คำสั่งจังหวัดยะลา ที่112/2564 )ซึ่งพบว่า คำสั่งจังหวัดยะลาน่าเป็นกรอบให้ทุกภาคส่วนทำงานง่ายขึ้น เพราะ อย่าลืม ความเป็นจริงสถาบันสอนศาสนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนนี้ “มีนักเรียนอยู่ประจำจากหลากหลายพื้นที่ทั่วภาคใต้”และการเปิดสถาบันใช้ปฏิทินอิสลามคือหลังอีดประมาณสองอาทิตย์ หรือ 1มิถุนายน 2564 เพราะวันอัดคือ13 พฤษภาคม 2564 เเละอีกไม่กี่วัน อาจมีการปล่อยนักเรียนกลับบ้านรับอีดิลอัฎฮา ประมาณ 19 กรกฎาคม 2564 ดังนั้นคำสั่งนี้น่าจะช่วยให้ทุกภาคส่วนร่วมหาทางออกที่ดีที่สุด

ดร.ฮาฟิซ ฮิเล ให้ทัศนะว่า “กรณีโควิดวิดนักเรียนมัรกัซยะลาน่าจะเป็นบทเรียนในการแก้ปัญหา ซึ่งสามารถพูดคุยปรึกษาหารือกับโต๊ะครู ผู้นำศาสนา สำนักงานการศึกษาเอกชน และทุกภาคส่วน โดยเริ่มจากอำเภอยะหา เป็นโมเดลนำร่องก่อน”ท่านกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า
“สืบเนื่องจากคำสั่งฉบับนี้ ทางอำเภอยะหาได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับอำเภอ โดยมี นายอำภอเป็นประธาน และ ผอ.สช.อำเภอเป็นเลขานุการ สำกรับอำเภอยะหา พรุ่งนี้ (23 มิถุนายน)จะมีการประชุมคณะกรรมการชุดนี้ ที่ ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอยะหา”
ท่านขอเสนอ

“2 ข้อใหญ่ๆ ที่จะต้องร่วมมือกันแก้ไข
1.ปอเนาะที่ปิด ขอให้ชะลอการเปิด เบื้องต้นน่าจะเปิดหลังรายอฮัจญ์ (ถ้าสถานการณ์ดีขึ้น)
2.ปอเนาะที่เปิดอยู่ ศบค.อำเภอ/สสจ./สช.อำเภอ และประธานปอเนาะอำเภอ ร่วมประชุมหารือกับโต๊ะครู ก่อนเด็กจะกลับบรายอ ต้องไม่มีเด็กติดโควิคจากปอเนาะ
3.เมื่อเด็กกลับรอยอฮัจญ์ ให้โต๊ะครูปอเนาะเปิดปอเนาะตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือ ศบค.ประกาศ เหมือนที่ประกาศเลื่อนเปิดเรียนในโรงเรียนเอกชน
4.ให้มีผู้รับผิดชอบเพื่อประสานงานแต่ละจังหวัด ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา
5.เสนอให้ สช.จังหวัด สสจ. และชมรมสถาบันศึกษาปอเนาะจังหวัด เป็นเจ้าภาพร่วมกัน โดยมีผู้ประสานงานจังหวัดร่วมประสานและแก้ปัญหา”
ผู้เขียนได้พูดคุยกับ ผอ.สช.อำเภอยะหา จังหวัดยะลา นายนาวี สะแปอิง ให้ข้อมูลสอดคล้องกับดร.ฮาฟิซ ฮิเล ว่า ก่อนจะนำเรื่องเข้าที่ประชุมนั้นการลงพื้นที่พบปะโต๊ะครู เจ้าของสถาบันปอเนาะ สอบถามความคิดเห็นข้อเสนอแนะก่อนมีความสำคัญ ซึ่งข้อมูลพื้นฐาน สถาบันปอเนาะในอำเภอยะหา จังหวัดยะลานั้นพบว่า
-จดทะเบียน 15 แห่ง เปิด 8 แห่ง ปิด 7 แห่ง
-ยังไม่จดทะเบียน 8 แห่ง เปิด 4 แห่ง ปิด 4 แห่ง
ปอเนาะที่ปิดการเรียนการสอนในช่วงนี้ ตกลงกันว่ายังไม่เปิดก่อน ส่วนปอเนาะที่เปิด มีมาตราการตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา รวมทั้งโต๊ะครู ได้ขอความร่วมมือผู้ปกครองไม่ให้มาเยี่ยมลูกที่ปอเนาะ ขาดเหลืออุปกรณ์ส่งไปรษณีย์ ขาดเงิน ใช้ระบบโอน เป็นต้น “

จากกรอบข้อเสนอดร.ฮาฟิซ ฮิเล และผอ.สช.อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ซึ่งได้นำร่องที่ยะหาน่าจะเป็นโมเดลในอำเภออื่นๆของแต่ละจังหวัดชายแดนภาคใต้

 6,520 total views,  2 views today

You may have missed