พฤษภาคม 18, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

#ภาคประชาชนจี้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาแก้ปัญหาโควิดอย่างมีส่วนร่วม “เริ่มที่โรงงาน”

แชร์เลย

รายงานโดย
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk,
http://www.oknation.net/blog/shukur
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ครือข่ายองค์กรภาคประชาชนจังหวัดสงขลาเพื่อติดตามสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-๑๙ (Covid​ Songkhla​ Watch)

ยื่นหนังสือต่อ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ใน วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 9.00 ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา โดยมีนายรุ่งโรจน์ และสุบ ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรม จังหวัด มารับหนังสือแทน
#สาเหตุการยื่นหนังสือ

เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-๑๙ ของจังหวัดสงขลาระลอกใหม่ตั้งแต่ ๑ เมษายน ๒๕๖๔ มีผู้ป่วยยืนยันสะสมถึง ๑,๔๕๔ คน ผ่านมาเกือบสองเดือนโดยยอดผู้ป่วยรายวันไม่ลดลง แม้จะมีมาตรการที่เข้มข้นกับประชาชน สถานศึกษา หน่วยงานราชการ รวมไปถึงชุมชน วัด มัสยิด ทั้งรักษาระยะห่าง ลดการเดินทาง การจัดกิจกรรมของชุมชน แต่พบว่ารูปแบบการระบาดในจังหวัดสงขลามีทิศทางเช่นเดียวกับหลายจังหวัดที่มีการระบาดก่อนหน้านี้ ตั้งแต่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดที่มีอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานต่างชาติจำนวนมาก ล่าสุดเกิดคลัสเตอร์ในโรงงานอาหารทะเลสยามอินเตอร์ จ.สงขลา มีพนักงาน 3,000 คน อ.จะนะ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 64 พบกลุ่มพนักงานทั้งไทย เมียนมา ติดเชื้อ 65 คน โดยจะครบกำหนด ครบ 14 วัน ของการปิดโรงงาน ในวันที่ 31 พ.ค. 64 เครือข่ายฯ มีความกังวลต่อการเปิดโรงงานของผู้ประกอบการว่า จะดำเนินการจัดระบบสายการผลิตระหว่างพนักงานคนไทยที่ไปกลับชุมชน และพนักงานชาวเมียนมา ที่อยู่อย่างแออัดภายในโรงงานมีที่พักอยู่เพียง 23 หลัง


#ข้อแสนอและข้อเรียกร้อง
จากความกังวลและคาดการณ์ว่าสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 จะมีความรุนแรงและยังอยู่กับสังคมไทยไปอีกนาน เพื่อจัดการวิกฤตินี้ร่วมกันให้เกิดความยั่งยืน เป็นการทำงานเชิงรุกร่วมกันระยะยาวทุกภาคส่วน เครือข่ายฯจึงร่วมทำข้อแสนอและข้อเรียกร้องต่อ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ดังนี้

1. บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน
• ขอให้มีการตรวจคัดกรองโรคโควิค-19 กับแรงงานข้ามชาติทุกคนเพื่อให้ได้รับการดูแลทางการแพทย์
• มีมาตรการช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย การกินอยู่ ไม่ให้เกิดความขาดแคลนในช่วงกักตัว
2. เพื่อป้องกันการระบาดสู่ชุมชน
• หากมีการเปิดโรงงานต้องมีมาตรการป้องกันการแพร่เชื้อระหว่างการทำงาน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ทั้งกับคนไทยและแรงงานข้ามชาติ โรงงานต้องมาตรการห้ามการเข้าออกทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ
• มาตรการการจัดการกับโควิด 19 ต้องใช้มาตรฐานเดียวกันกับจังหวัดอื่นๆ ในการกำหนดมาตรการความปลอดภัยและการระบาดของโควิดในโรงงาน
3. การสร้างกลไกเพื่อความมั่นใจในช่วงการระบาดระยะยาว
• ให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบมาตรการ ความปลอดภัยของโรงงานเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการแพร่กระจายของ COVID-19 ที่อาจกระจายสู่ชุมชนได้ รวมถึงการปฏิบัติต่อแรงงานตามมาตรฐานบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน
• ขอให้มีตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดสงขลา มีส่วนร่วมในการร่วมตัดสินใจและกำหนดมาตรการต่างๆ ของจังหวัดที่ส่งผลกระทบกับชุมชน
4. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันให้มีระบบข้อมูลเพื่อจัดการปัญหาอนาคต
• สาธารณสุขจังหวัด โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ควรมีการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ กรณีโรงงานเปิดดำเนินการต่อไปจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นบนสถานการณ์ร้ายแรงสุดอย่างไร เพื่อนำไปเป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจ

5. การจัดการต่อความกังวลในการดำเนินวิถีชีวิตตามบริบทสังคม
• ข้อกังวลโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่จะเปิดวันที่14 มิถุนายน2564 ถ้าคุมไม่อยู่ต้องเลื่อนการเปิด หรือโรงเรียนอาจจะเป็นคลัสเตอร์ต่อไป
• การแพร่ระบาดซึ่งมีสาเหตุจากแหล่งอื่นๆ ส่งผลให้ไม่สามารถประกอบศาสนกิจได้ เช่น ห้ามละหมาดวันศุกร์ ทั้งที่ มัสยิดในจังหวัดลงขลาไม่ได้เป็นคลัสเตอร์แต่อย่างใด

ทั้งนี้เครือข่ายองค์กรภาคประชาชนจังหวัดสงขลาเพื่อติดตามสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-๑๙ จะดำเนินการติดตามสถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด โดยจะสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสงขลา ให้มีมาตรการระเบียบกติกาและการบังคับใช้อย่างเคร่งครัดต่อทุกภาคส่วนเสมอกัน ทั้งนี้คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน ไม่ให้เกิดผลกระทบเสียหายทางเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม ซึ่งเครือข่ายฯจะดำเนินการสื่อสารต่อสาธารณะเป็นระยะต่อไป


​#องค์กรร่วมลงชื่อ

1. รศ.ดร.เริงชัย ตันสกุล นายกสมาคมผู้บริโภคสงขลา
2.นายมังโสด หมะเต๊ะ เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
3.อับดุลสุโก ดินอะ ผู้อำนวยการศูนย์อัลกุรอานและภาษาQlcc อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
4. บุลญา เหละหมัน มูลนิธิเพื่อการศึกษาดารุนอินฟากเพื่อเด็กกำพร้า
5.นายอับดุลโตเละ สู้หลง มูลนิธิการศึกษาดารุนนาอีม
6.นายฮุสนี บินหะยีคอเนาะ สมาคมตรวจสอบการใช้อำนาจภาครัฐภาคประชาชน(ส.ต.ป.)
7.วิรุฬห์ สะแกคุ้ม เลขาธิการ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ สาขาหาดใหญ่
8.พุดตาล สะแกคุ้ม ผู้ประสานงาน เครือข่ายเพื่อสิทธิแรงงานข้ามชาติ (MWRN) สาขาหาดใหญ่
9.ศุภวรรณ ชนะสงคราม ผู้จัดการ อาหารปันรัก
10. นาซอรี หวะหลำ ผู้ประสานงาน มหาวิทยาลัยชาวบ้านลานหอยเสียบ
11.นายฮานาฟี หมีนเส็น กลุ่มคนรุ่นใหม่กับการพัฒนาเมืองจะนะ
12.นายฮารน​ อันศอรียะห์กลุ่มพลังบริสุทธิ์
หมายเหตุสามารถดูคลิปการยื่นจดหมายย้อนหลังใน

 8,361 total views,  2 views today

You may have missed