พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

#ยกเลิกพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดแล้ว (ยาเสพติดประเภท 5)

แชร์เลย

“ยกเลิกพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดแล้ว เหตุผลที่แบนกระท่อม เพราะผลประโยชน์ฝิ่น 2486 ผลวิจัยเผยเคี้ยวใบสด ต้ม ชง ไม่มีผลต่อสมอง แต่มีประโยชน์ ล่าสุดราชกิจจาฯ ลงแก้ไข พ.ร.บ.ยาเสพติดยกเลิก “พืชกระท่อม” จากยาเสพติดประเภท 5”

โดยเมื่อวันที่ 26 พ.ค.2564 เว็บไซต์ราชกิจจาได้เผยแพร่ การแก้ไข พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ พ.ศ. 2564 ลงเมื่อวันที่ 25 พ.ค.64 โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญของการแก้ไข พ.ร.บ.ว่า โดยที่ปัจจุบันพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แต่ในหลายประเทศมิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษประกอบกับอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 และพิธีสารแก้ไขอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1972 มิได้กำหนดให้พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลและบริบทของสังคมไทยในบางพื้นที่ที่มีการบริโภคพืชกระท่อมตามวิถีชาวบ้าน สมควรยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


สส.เขต 7 สงขลา ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ กล่าวว่า “1 ภาระกิจและหน้าที่ ของ ส.ส. คือ การแก้กฎหมาย ผมได้ทำหน้าที่อภิปราย เรื่องยกเลิกใบกระท่อมจาก พ.ร.บ. ยาเสพติด และ สภาผู้แทนราษฏรได้แต่งตั้งผมเป็น โฆษกกรรมาธิการวิสามัญพิจารณายกร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2564 (พืชกระท่อม) ผมได้จัดกิจกรรมรับฟังความคิดเห็น เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม “ทุ่งเหลโมเดล “ ณ ร้านนำ้ชาบังดล 4 แยก บ้านทุ่งแหล ตำบลนาหมอศรี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 63 เพื่อประกอบการพิจารณา บัดนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าว ได้ประกาศ ราชกิจจานุเบกษา มีผลให้พืชกระท่อมยกเลิกจาก พ.ร.บ.ยาเสพติด นับตั้งแต่วันที่ 26พฤษภาคม 64 ไปอีก 90 วัน 🇹🇭สรุปวันที่ 25 สิงหาคม 64 พืชกระท่อมจะไม่ผิดกฎหมาย ครับผม 🙏ขอขอบคุณ รัฐสภา ,รมต.สมศักดิ์ ,กรรมาธิการ,พี่น้องประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกันแก้กฎหมาย ด้วยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และคนบ้านเรา #เดอะหนุ่ย ส.ส.ณัฏฐ์ชนน ศรีก่อเกื้อ 27 พฤษภาคม 64”

ในขณะที่ ผศ.ดร.สมชาย ศรีวิริยะจันทร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (เภสัชวิทยา) คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. เปิดเผยว่ายคณะวิทยาศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์ ได้ดำเนินงานวิจัยพืชกระท่อมพัฒนาเป็นเภสัชตำรับ ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน พบว่า การใช้พืชกระท่อมแบบวิถีชุมชนดั้งเดิม ที่เคี้ยวใบสดหรือต้ม/ชงใบพืชกระท่อมแห้งเป็นประจำ ไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถภาพด้านความคิดและการรับรู้ การทำงานระบบประสาทอัตโนมัติและการทำงานของสมอง
.
เหตุผลที่แท้จริงของการออก พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ.2486 เนื่องจากฝิ่นที่รัฐเป็นผู้ผูกขาดผลิตฝิ่นสุก ฝิ่นดิบ มีราคาแพง ทำให้คนหันมาสูบกระท่อมแทนฝิ่น
.
รัฐเลยใช้มาตรการทางกฎหมายจัดการกับกระท่อม ซึ่งเป็นพืชยาชนิดนี้เพื่อให้รัฐจัดเก็บภาษีฝิ่นได้ตามเป้าหมาย
.
ต่อมา กระท่อมจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ตามความหมายในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 7 ได้แก่ กัญชา และพืชกระท่อม
.
จึงไม่ต้องแปลกใจที่สังคมเกษตรแต่ก่อนเก่า ก่อนที่กระท่อมจะกลายเป็นยาเสพติด ผู้ใช้แรงงานในท้องไร่ท้องนา หรือแม้แต่ทหารเดินทัพออกศึกในอดีตก็ได้กระท่อมเสริมพลัง กินใบกระท่อมช่วยให้ทำงานกลางแจ้งได้ทนนานขึ้นนั่นเอง
.
ฤทธิ์ทางเภสัชของ ไมทราไจนีน (Mitragynine) ที่ลดอาการเจ็บปวดได้ เมื่อให้กินทางปากในขนาด 200 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งมีฤทธิ์เทียบเท่ากับการได้รับมอร์ฟีนในขนาด 5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
.
กระท่อมจึงเป็นยาที่นำมาใช้เพื่อลดอาการขาดยาจากสิ่งเสพติดอื่น เช่น ฝิ่นและมอร์ฟีน เป็นต้น
และมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามอร์ฟีนเมื่อใช้ในระยะเวลาที่จำกัด
.
กระท่อมยังนำมาใช้แทนแอมเฟตามีน (ยาบ้า) เพื่อเพิ่มพละกำลัง
ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการใช้กระท่อมในลักษณะนี้ในหลายประเทศทั่วโลก
.
การใช้ของต่างประเทศพบว่า ใช้เป็นยารักษาอาการเรื้อรังต่างๆ เช่น ช่วยลดความดันโลหิต บรรเทาเบาหวาน แก้ไอ แก้ระบบย่อยอาหารไม่ปกติ เช่น ท้องเสีย บิดมีตัว ปวดท้องและกำจัดพยาธิในเด็ก และใช้เป็นการกระตุ้นร่างกายให้ทำงานหนักได้
.
“อย่ามัวล่าช้าปล่อยให้บริษัทยาต่างชาติทยอยจดสิทธิบัตรกระท่อมและกัญชาไปมากกว่านี้เลย”
บทความเรื่องกระท่อม โดย อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

“ปลดล็อกแน่” เตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ตำรับยา“กระท่อม” /ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์


.
ขอบคุณ
-White Chenal
-มติชนสุดสัปดาห์
-ราชกิจจานุเบกษา
-ไทยรัฐ
-อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์�คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต

 7,648 total views,  2 views today

You may have missed