พฤษภาคม 18, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รายงานพิเศษ..สถานการณ์โควิด-19 วอนรัฐให้การช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนจากการปิดหมู่บ้าน

แชร์เลย

ตูแวดานียา มือรีงิง   รายงาน.

“เราเริ่มปิดหมู่บ้านมาตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค ที่ผ่านมา ยังไม่มีหน่วยงานหลักที่เข้ามาช่วยเหลือ เมื่อวานได้ข่าวมีหน่วยงานแต่ไม่แน่ชัดว่าหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยบางส่วนแต่ยังไม่ถั่วถึง วันนี้ท่าน สส.วัชระ ยะวอหะสัน เข้าสำรวจข้อมูลเพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป แต่จากหน่วยงานจากอำเภอ จังหวัดและ ศอ บต ยังไม่เข้ามาให้การช่วยเหลือ” มะหามะสุกรี ลาะเต๊ะ กำนันตำบลเกาะสะท้อน กล่าวกับสำนักข่าวอามาน


การปิดหมู่บ้านและตำบลเกาะสะท้อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาสซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียโดยมีเพียงแม่น้ำสุไหงโก-ลกแคบๆ เป็นเขตแดนง่ายต่อการเดินข้ามหรือลักลอบเข้ามา การปิดทั้ง 9 หมู่บ้านเนื่องจากมีชาวบ้านในหมู่บ้านซึ่งอาศัยในมาเลเซียและได้ลักลอบเข้ามาในพื้นที่โดยใช้ช่องทางธรรมชาติและไม่แจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทราบจนนำไปสู่การแพร่ระบาดในกลุ่มชาวบ้านและญาติๆ เป็นจำนวนมาก


“เราเลือกที่จะใช้มาตรการปิดหมู่บ้านปิดทั้งตำบลหลังจากพบว่ามีการติดเชื้อจำนวนมากในตำบลแห่งนี้เพื่อป้องกันการขยายของเชื้อโควิค 19 สู่ภายนอก เราปิดและเราดูแลกันเอง” มะหามะสุกรี ลาะเต๊ะให้เหตุผลต่อการบังคับใช้มาตรการปิดตำบลในครั้งนี้
ปัจจุบันมี 9 หมู่บ้านประกอบด้วย ม. 1 บ้านปูยู ม.2 บ้านเกาะสะท้อน ม.3 บ้านศรีพะงัน ม.4 บ้านตะเหลี่ยง ม.5 บ้านโคกกะเปาะ ม.6 บ้านสันติสุข ม.7 บ้านจาแบปะ ม.8 บ้านราญอ และ ม.9 บ้านชุมบก มีครัวเรือนทั้งหมด 1000 กว่าครัวเรือนประชากรกว่า 1 หมื่นคน และที่เดือดร้อนเนื่องจากต้องกักตัวทั้งหมด 200 กว่าคน มีผู้ติดเชื้อแล้ว 38 รายและผู้เสี่ยงสูงหรือสัมผัสใกล้ชิดอีกกว่า 300 คน
สำหรับผู้ที่จะได้รับการอนุญาตให้ออกจากหมู่บ้านได้ต้องมีความจำเป็นจริงๆ และต้องได้รับการอนุญาตจากปลัดที่รับผิดชอบในเรื่องนี้เท่านั้น

“เราจะไม่อนุญาตให้คนที่ทำงานที่อำเภอหรือทำงานข้างนอกออกไปโดยเด็ดขาด เช่น อส.หรือทำงานอื่นๆ แต่เราจะอนุญาตให้ชาวบ้านที่มีร้านค้าในชุมชนได้ออกไปซื้อของอาหารสดเข้ามาจำหน่ายในหมู่บ้านได้หากเราไม่ทำเช่นนี้ชาวบ้านจะประสบปัญหาอาหารการกิน ตรงจุดนี้ที่เราอยากให้ทางหน่วยงานของรัฐเข้ามาช่วยเหลือโดยเฉพาะถุงยังชีพให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อนจากการปิดตำบลด้วย” กำนันตำบลเกาะสะท้อนกล่าว
และมีชาวบ้านอีกจำนวนหนึ่งที่สามารถออกไปได้คือคนแก่หรือคนป่วยที่หมอนัดเพื่อการรักษาเช่นสตรีที่ท้องแก่
ในด้านการรักษาความปลอดภัยตามตะเข็บชายแดนและเฝ้าระวังการละลอบเข้ามาอย่างผิดกฏหมายในพื้นทีแนวชายแดนอำเภอตากใบ ร.อ.ธนาคาร ทองขำ ผบ.ร้อย.ปชต.ที่ 2 กล่าวว่าทางหน่วยกำลังได้มีการเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง


“ ในการลาดตระเวรและเฝ้าตรวจตามแนวชายแดนตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งทางบกและทางเรือ หลังจากที่มีการแพร่ระบาดเกิดขึ้น ทางหน่วยได้จัดกำลังเฝ้าระวังเพิ่มความเข้มเต็มตามแนวชายแดนในตอนนี้ เพิ่มความเข็มในการลาดตระเวนทางน้ำ เพิ่มการตรวจที่เป็นจุกหล่อแหลม 24 ชั่วโมง แล้วก็ทำข้อมูลเรือของมาเลเซียที่มีความเสี่ยงที่จะลักลอบเอาคนหรือพ่อแม่พี่น้องฝั่งโน้นนำกลับมาก และจะมีการเดินประชาสัมพันธ์กับพี่น้องฝั่งไทยว่าช่วงนี้ขอความร่วมมือหากจำเป็นที่ต้องกลับมาขอให้เข้าทางช่องทางที่ถูกต้อง” ร.อ.ธนาคาร ทองขำ ผบ.ร้อย.ปชต.ที่ 2 กล่าว


แต่หากมีชาวบ้านจะลักลอบเข้ามาทางหน่วยจะมีการประสานกับฝ่าย. สาธารณะสุขอำเภอ อสม พร้อมประสานฝ่ายปกครองและฝ่ายปกครองจะส่งรถมารับและส่งไปยังสถานีตำรวจเพื่อดำเนินคดีทางกฏหมายหลังจากนั้นส่งไปยังศูนย์กักตัว 14 วัน
“สิ่งที่กังวลคือความร่วมมือจากชาวบ้านในการแจ้งเบาะแสหรือเป็นหูเป็นตาและจะเดินประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านเข้าใจการแพร่บาดของโรคโควิค 19 และหากะมีญาติพี่น้องที่ต้องการกลับเข้ามาขอให้เข้ามาทางช่องทางที่ถูกต้องที่รัฐบาลกำหนดเท่านั้น” ผบ.ร้อย.ปชต.ที่ 2 กล่าวย้ำการกลับเข้ามาของคนไทยให้ปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด

 8,916 total views,  2 views today

You may have missed