พฤษภาคม 5, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

#โควิด:มาเลเซียไปไกลจ่ายซะกาตออนไลน์ สะท้อนระบบการจัดการซะการก่อนหน้านี้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
#การจัดการซะกาตในมาเลเซีย
ปีนี้(2564)นับเป็นปีที่สองของวิกฤติโควิดทำให้หน่วยงานจัดการระบบซะกาต มาเลเซีย คิดนวัตกรรมสมัยใหม่ สะดวกสบาย รวดเร็ว เหมาะสมกับยุคโควิด ที่มีมาตราการเข้มงวด ไม่ผู้ป่วย ผู้สัมผัสผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองด้วยกัน จ่ายซะกาตอนไลน์ซึ่งความเป็นจริงแล้วมันถูกพัฒนามาตลอดอันเนื่องมาจากการวางระบบซะกาตที่ดีที่ร่วมมือกันระหว่างรัฐบาล นักการศาสนา และนักวิชาการด้านต่างๆรวมทั้งการขับเคลื่อนของภาคประชาสังคม
อาจารย์รุสนันท์ เจ๊ะโซ๊ะ ชาวไทย อาจารย์ด้านภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมลายา ประเทศมาเลเซีย ให้ทัศนะว่า “ในมาเลเซียจะเป็น Cashless เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่เว้นแม้แต่การบริจาคให้มัสยิด ก็สามารถสแกนจ่ายผ่าน eWallet ได้เลย เมื่อก่อนจะทำเป็นตู้คล้ายตู้ ATM ให้กดโอนเงิน แต่ตอนนี้ไม่ต้องแล้ว สแกนไปเลยง่ายมาก”

#รัฐบาลมาเลเซียได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของบทบาทของซะกาตในการแก้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจดังที่กล่าวและทราบว่าหากไม่จัดระบบการจัดการที่ดี เป้าประสงค์ของซะกาตจะไม่สามารถบรรลุสู่เป้าหมายที่สมบูรณ์ได้เพราะงานสวัสดิการสังคม การทำงานในเชิงรุก ย่อมทำให้เกิดการพัฒนา และเกิดผลดีกับผู้ใช้บริการมากที่สุด  การมีระบบบริหารจัดการที่ดีและถูกต้องตามหลักการของศาสนาแล้ว จะสามารถแก้ปัญหาความเป็นอยู่พื้นฐานในสังคมได้ สิ่งที่รัฐบาลมาเลเซียได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เพราะในอดีตพบว่าการปล่อยให้การจ่ายซะกาตเป็นเรื่องปัจเจกบุคคลที่ทำกันเอง ไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีองค์กรกลางบริหารจัดการในการจัดเก็บทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและขาดทิศทาง เงินและทรัพย์สินที่จ่ายเสมือนเบี้ยหัวแตก

จะเห็นได้ว่า ระบบซะกาต มีความสมบูรณ์ทั้งในแง่แนวคิดและวิธีการ แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ ในทางปฏิบัติระบบที่สมบูรณ์ลักษณะนี้ เป็นเพียงแนวคิดที่อยู่ในอัลกุรอาน เป็นแนวคิดที่มุสลิมทุกคนรู้จัก แต่ความสมบูรณ์ที่แท้จริงอยู่ที่การนำแนวคิด ความศรัทธานี้สู่การปฏิบัติจริง ในอดีตของสังคมมาเลเซีย มีหลายชุมชนที่ปฏิบัติตามหลักการ หลายชุมชนเฉยเมย โดยมีการบริจาคทานกันตามใจชอบ และตีความเข้าข้างการกระทำและความรู้สึกของตนว่าสิ่งนั้น เรียกว่า ซะกาต ทั้งๆที่การบริจาคเหล่านั้นมีค่าเพียง “ทานอาสา” มิใช่ “ทานบังคับ” แต่อย่างใด การหลีกเลี่ยงเช่นนี้ นอกจากจะทำให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคม ชุมชนนั้น ไม่ได้รับการดูแลแล้ว ยังถือว่าเขาไม่ปฏิบัติตามหลักการของศาสนา นั่นคือ การไม่ยึดมั่นในคำสั่งใช้ของพระเจ้า ซึ่งปัจจุบัน รัฐบาลมาเลเซียได้สนับสนุนงบประมาณอย่างเต็มที่ในการจัดตั้งองค์กรอิสระ เรียกว่าศูนย์รวบรวมซะกาตซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมอิสลามประจำประจำประเทศมาเลเซียโดยนำทรัพย์สินที่ได้รับจัดตั้งเป็นกองทุนซะกาต โดยมีรูปแบบและองค์ประกอบของคณะผู้บริหาร การบริหารจัดการและการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อทำให้เกิดความเชื่อมั่นแก่ผู้มีหน้าที่จ่ายซะกาต รวมทั้งทำให้ทรัพย์สินซึ่งเป็นซะกาตได้ถูกแจกจ่ายไปเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่คนยากจน คนขัดสน และบุคคลผู้มีสิทธิได้รับตามศาสนบัญญัติได้อย่างแท้จริง เต็มที่และทั่วถึง ในขณะเดียวกันได้นำระบบการจ่ายซะกาตทางธนาคารและอินเตอร์เนต มีระบบการคำนวณการจ่ายซะกาตในประเภทต่างๆที่ผู้จ่ายสามารถรู้ได้ทันทีโดยใส่จำนวนทรัพย์สินที่มีและผลของจำนวนในสิ่งที่จะต้องจ่ายทันทีโดยไม่ต้องสอบถามผู้รู้ด้านศาสนาเหมือนในอดีต
ด้วยระบบการจัดการทีถูกต้องตามหลักศาสนาและสามารถบูรณาการกับวิทยาการสมัยใหม่อย่างลงตัวพร้อมทั้งนำเทคโนโลยีเพิ่มความสะดวกสำหรับการจ่ายและจัดเก็บซะกาตและยังลดภาระและขั้นตอนต่อผู้ใช้บริการทำทรัพย์ที่ได้รับต่อปีไม่ต่ำกว่า 700 ล้านริงกิตมาเลเซียหรือประมาณ 7000 ล้านบาทต่อปีซึ่งทรัพย์สินจำนวนดังกล่าวสามารถแบ่งเบาภาระของรัฐในการแก้ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กล่าวโดยสรุป “ซะกาต” ได้เป็นรูปแบบเศรษฐกิจชุมชนสำหรับชาวมุสลิมมาเลเซียโดยมีรัฐบาลทีเข้าใจหลักการศาสนาและมีวิสัยทัศน์การนำเทคโนโลยี่มาบูรณาการ ในการบริหารจัดการ ปัจจัยความสำเร็จจะไม่สามารถเกิดจากฝ่ายรัฐเพียงอย่างเดียวหากประชาชนผู้จ่ายซะกาตไม่มีฐานรากจากศาสนาอย่างแท้จริง นั้นคือความศรัทธาที่นำไปสู่การปฏิบัติตามหลักการศาสนาของชาวมุสลิม
ผู้เขียนมองว่า ประเด็นอื่นๆ เป็นเพียงปัจจัยเสริมที่ทำให้การบริหารจัดการมีความเป็นธรรมและโปร่งใสเท่านั้นเอง เพราะ ซะกาต ต่างจากภาษีที่ถูกเรียกเก็บ ผู้ที่ไม่จ่ายซะกาต อาจรอดพ้นจากบทลงโทษในโลกนี้ แต่สำหรับโลกหน้า เขาจะได้รับการลงโทษอย่างสาหัสที่ไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งทุกคำสั่งใช้ของพระเจ้าเต็มไปด้วยเหตุผลและความทันสมัยในทุกยุค ทุกสถานการณ์ ที่ถูกกำหนดมาก่อนแล้ว เมื่อประมาณ 1,400 กว่าปี ก่อนหน้านี้ ดังที่อัลลอฮฺทรงวางโทษของคนมีทรัพย์ที่ไม่ยอมบริจาคในแนวทางของพระองค์ไว้ว่า
“และพวกที่สะสมทองคำและเงิน โดยไม่บริจาคซะกาต และไม่นำออกมาใช้จ่ายในวิถีทางศาสนาของอัลลอฮฺ มุฮัมหมัดจงแจ้งข่าวการทรมานอันสาหัสที่เป็นข่าวดีสำหรับพวกนั้น ณ วันที่ไฟนรก “ญะฮันนัม” จะทำให้เกิดความร้อนแรง แล้วมันจะถูกนำมารีดบนหน้าผาก สีข้าง และหลังของพวกนั้น นี้แหละผลร้ายของพวกเจ้าทั้งหลายที่พยายามสะสมไว้สำหรับการส่วนตัวของพวกเจ้า โดยไม่ยอมบริจาคซะกาต ดังนั้น พวกเจ้าจงลิ้มรสทรัพย์ที่พวกเจ้าได้สะสมมันไว้ โดยไม่ยอมบริจาคเถิด” (ซูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ (9) : 35)
ผู้เขียนเชื่อว่า บทลงโทษที่ปรากฏในอัลกุรอ่านข้างต้น มุสลิมผู้ศรัทธาอย่างแท้จริงจะไม่มีโอกาสได้สัมผัส ถึงความเจ็บปวดนั้น เพราะเขาเหล่านั้นได้บริจาคซะกาตตามหลักการศาสนา ในวันนี้ที่ระบบ ซะกาตของมาเลเซียได้พัฒนาและควรนำบทเรียนนี้จากมาเลเซียมาพัฒนากระบวนการจัดการการจัดเก็บซะกาตในชุมชของประเทศไทย
หมายเหตุ
1. มาเลเซียจ่ายซะกาตฟิตเราะหและอื่นๆออนไลน์ยุคโควิดปีที่2
https://www.zakat.com.my/?fbclid=IwAR2AcdzoPJHzMV0wEADJ4jmbbbIjnq1YV7FSHLEmEZDsnM72M5PQ8ktDvvA
2.เนื้อหาส่วนหนึ่งจากบทความผู้เขียนเดิมใน
http://oknation.nationtv.tv/blog/shukur/2008/09/20/entry-1

 7,538 total views,  2 views today

You may have missed