พฤษภาคม 18, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

”#ครบรอบ17 ปีกรือเซะ(28 เมษายน 2547)

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

เครดิตภาพ thaipbs

นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรมผู้ที่ใช้ชีวิตที่วนเวียนอยู่กับการติดตามคดีด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนตั้งแต่หลังเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ปะทุใหม่ๆ รวมทั้งมัสยิดกรือเซะ สะท้อนว่า

“แม้กรือเซะจะเต็มไปด้วยความทรงจำที่โหดร้ายที่ผู้นำรัฐบาลสมัย(ทักษิณ)นั้นบอกว่า “จำไม่ค่อยได้ทั้งๆเหตุการณ์วันที่28เมษายน2547
ถ่ายทอดสดออกทีวีและมีคนเหตุการณ์นับร้อยด้วยตาตนเองแต่ในชั้นศาลคดีไต่สวนการตายเหตุการณ์การเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์และนักรบปาตานี(รัฐเรียกว่าคนร้าย)รวมแล้ว32รายมีประจักษ์พยานที่ยินดีให้การที่ศาลจังหวัดปัตตานีเพียงหนึ่งคน ซึ่งทุกวันนี้มัสยิดกรือเซะก็ยังคงอยู่อย่างสง่างามต้อนรับพวกเราทุกคนไปค้นหาความจริง”

ส่วนติชิลา พุทธรักษา นักข่าวไทยพีบีเอส ผู้มากประสบการณ์ในการลงพื้นที่เกาะติดไฟใต้ตลอด 17 กว่าปี อธิบายมัสยิดกรือเซะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ในวันนี้ว่า “มัสยิดกรือเซะยังเป็นศาสนสถานสำคัญที่ชาวมุสลิมเดินทางมาประกอบศาสนกิจ โดยเฉพาะในช่วงเดือนถือศีลอด โดยวันนี้เป็นวันครบรอบเหตุการณ์มัสยิดกรือเซะช่วงเช้าที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้มีการดูเเลความปลอดภัยอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการก่อเหตุรุนเเรงในวันสำคัญเชิงสัญลักษณ์ วันที่ 28 เมษายน 2547 ที่กลุ่มผู้หลงผิดได้เข้าโจมตีฐานปฏิบัติการ ของเจ้าหน้าที่รัฐนับสิบจุดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเกิดการปะทะกัน มีผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ฝ่ายกว่า 100 คน โดยหนึ่งจุดสำคัญคือ ที่มัสยิดกรือเซะ ที่ผู้หลงผิดเข้าไปซ่อนตัวภายใน เเละถูกเจ้าหน้าที่ปิดล้อมนานกว่า 9 ชั่วโมงก่อนยิงปะทะกัน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 32 คน “

ด้านพลโทเกรียงไกร ศรีรักษ์ เเม่ทัพภาคที่ 4 ได้สั่งการให้ทุกหน่วยเตรียมความพร้อมเเละระมัดระวังในการปฎิบัติหน้าเพื่อป้องกันเหตุรุนเเรง โดยเฉพาะเหตุก่อกวน เพราะก่อนถึงวันครบรอบเหตุการณ์กรือเซะ ได้เกิดเหตุขว้างระเบิดใส่ฐานปฎิบัติการของเจ้าหน้าที่หลายครั้ง
ในขณะเดียวกันท่าน (พลโท เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 )ได้ให้สัมภาษณ์ “17 ปี เหตุรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ : แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์”

โดยให้ทัศนะว่า “สันติสุขจะเกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพราะทุกคนคือส่วนสำคัญที่จะนำสันติสุขกลับคืนมา…เป็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์(ฟังฉบับเต็มได้ที่
https://www.facebook.com/watch/?v=794762164495055)

อย่างไรก็แล้วแต่คำถามใหญ่ในวันนั้นคือรัฐจัดการผู้เห็นต่างเกินกว่าเหตุในมัสยิด? ทั้งๆพวกเขามีเพียงมีดพร้าและปืน 1 กระบอก “สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานในขณะนั้นว่าสื่อมวลชนได้ถามนายสุจินดาว่าเจ้าหน้าที่ใช้กำลังเกินกว่าเหตุภายในมัสยิดกรือเซะหรือไม่ ซึ่งเขาตอบว่า “ใช่ ผมรู้สึกเช่นนั้น”
“มีหลักฐานจำนวนมากที่ทำให้ผมเชื่อว่าทหารใช้อาวุธหนัก…ปืนกล ขณะที่กลุ่มติดอาวุธมีเพียงมีดพร้าและปืน 1 กระบอก และกระสุนปืนที่ขโมยมาจำนวนไม่มากนัก”(อ่านเพิ่มเติมใน https://www.bbc.com/thai/thailand-56171082)

(และอ่านเพิ่มเติมใน https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_1425)

เยียวยา จากรัฐ หลังจากนั้น 7 ปี

คณะกรรมการเยียวยาฯ (ในสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร ซึ่งมี พ.ต.อ.ทวี สอดส่องเป็นเลขาธิการศอ.บต.)มีมติในวันที่ 10 มิถุนายน 2555 ให้เงินเยียวยาจำนวน 7.5 ล้านบาทกับผู้ได้รับผลกระทบในเหตุการณ์ 28 เมษายน 2547 กรณีสะบ้าย้อยจำนวน 19 ราย ในขณะที่กรณีกรือเซะให้เพียงรายละ 4 ล้านบาท

นายแพทย์อนันต์ชัย ไทยประทาน หนึ่งในกรรมการของคณะกรรมการเยียวยาฯ อธิบายฐานคิดของตัวเลข 4 ล้านว่า “เหตุการณ์มัสยิดกรือเซะเป็นกรณีที่มีการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่รัฐก็กระทำเกินกว่าเหตุ (อ่านเพิ่มเติมใน https://deepsouthwatch.org/dsj/th/3384)
จะเห็นได้ว่า การเยียวยา เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ
องค์ประกอบที่สำคัญ 4 ด้านในการให้ความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน”ซึ่งจะนำไปสู่สันติภาพอย่างยั่งยืน

คือ การค้นหาความจริง การนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ การช่วยซ่อมสร้างชีวิตและศักดิศรีของผู้เสียหาย (การชดใช้เยียวยา) และการสร้างหลักประกันว่าการละเมิดสิทธิ์เหล่านั้นจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก (การปฏิรูปเชิงสถาบัน)

หนึ่งในข้อเสนอกอส.ที่ถูกพับเก็บเข้าลิ้นชัก

26 มิ.ย.2549 รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร พับข้อเสนอแนะคณะกรรมการยุติธรรมเพื่อความสมานฉันท์ (กอส.)ที่จะใช้ภาษามลายูเป็นภาษาทำงานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพิ่มเติมอีกภาษาหนึ่ง เพื่อลดอุปสรรคการติดต่อระหว่างประชาชนกับทางราชการหลัง
“ป๋าเปรม “พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ออกมาขวางใช้ภาษามลายูดังกล่าว

(ให้ภาษามลายูเป็นภาษาทำงานอ่านเพิ่มเติม

  1. https://mgronline.com/politics/detail/9490000082461
    2.
    รายงานข้อเสนอกอส.ใน https://prachatai.com/journal/2006/06/8609

อย่างไรก็แล้วแต่แม้รัฐบาลจะไม่ให้ภาษามลายูเป็นภาษาทำงานแต่ รัฐก็หนุนเสริมในรูปแบบอื่นๆโดยเฉพาะในสมัยที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เป็น เลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ระหว่างปี 2554-2557 (รัฐบาลยิ่งลักษณ์ น้องสาวทักษิณ ชิณวัตร)ได้มีการเปิดพื้นที่ทางภาษาและวัฒนธรรมมลายูอย่างมีนัยยะสำคัญ เช่น จัดตั้งช่องทีวีภาษามลายู 24 ชั่วโมง, วิทยุภาษามลายู 24 ชม. โดย สถานีวิทยุการจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดยะลา ทางคลื่น 95.0, การจัดตั้งสถาบันภาษามลายูแห่งประเทศไทย (Dewan Bahasa dan Pustaka Melayu Thailand) เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการใช้ภาษามลายูในประเทศไทย และริเริ่มการใส่ภาษามลายู ตัวยาวี ในป้ายสถานที่ราชการ อย่างไรก็ตาม ช่องทีวีภาษามลายู 24 ชม. ก็ถูกล้มเลิกไปหลังรัฐประหาร และเมื่อคณะรัฐประหารย้ายพ.ต.อ.ทวี สอดส่องไปประจำสำนักนายกรัฐมนตรีก็ไม่ได้มีความคืบหน้าอันใดอีก

นอกจากนี้ยังมีการริเริ่มโครงการทวิภาษา (ไทย – มลายูถิ่น) ในปี 2555 ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งเป้าไปที่เด็กอนุบาล 1 ถึง ประถม 6 ที่พูดภาษามลายูเป็นภาษาแม่ หัวใจหลักคือการเรียนโดยใช้ภาษามลายูถิ่นเชื่อมโยงไปยังภาษาไทย ผ่านเครื่องมือที่สำคัญที่สุดคือ ระบบการเขียนภาษามลายูโดยอักษรไทย ในชั้นอนุบาลเด็กจะเรียนรู้การเขียนและสะกดภาษามลายูโดยใช้สระและพยัญชนะไทย ซึ่งมีการเพิ่มเสียงเข้าไปอีกแปดเสียง เช่น กฺ ยฺ รฺ เมื่อเด็กเข้าใจการเขียนและสะกดอักษรไทยแล้ว จึงเริ่มเรียนภาษาไทย และเรียนวิชาอื่นๆ เป็นภาษาไทยตามลำดับ โครงการดังกล่าวอ้างว่า วิธีการเรียนแบบนี้ ทำให้เด็กมลายูมีความสุขในการเรียน และมีผลการเรียนดีขึ้น (อ้างอิงจากhttps://prachatai.com/journal/2016/06/66072)

 8,611 total views,  4 views today

You may have missed