อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
.
เมื่อ วันที่ 11 เมษายน 2564 คณะตัวแทนครูนักเรียนจากสมาคมสมาพันโรงเรียนเอกชนภาคใต้(หรือเป็นที่รู้จัก “ปอเนาะ”ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้คือสงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส พร้อมพันตำรวจเอกทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและเลขาธิการพรรคประชาชาติ นายนิคม บุญวิเศษ สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรและหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย พร้อมตัวแทนพรรคร่วมฝ่ายค้านอื่น ได้ร่วมเยี่ยมเยียน มอบเครื่องอุปโภคบริโภค ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสัมผัสชีวิตจริง ณ ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง กล่าวว่า “เมื่อไปถึงตัวแทนชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอยให้การต้อนรับ พาเยี่ยมชมสภาพชีวิต เล่าข้อเท็จจริง ประสบการณ์การกดทับทางวัฒนธรรม และปัญหาที่สะท้อนถึงผลกระทบจากนโยบายและกฎหมายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ที่ปัญหาชุมชนเกิดจากนโยบายและกฎหมาย การจัดการทรัพยากรที่ดิน-ป่าไม้ของของรัฐได้สร้างผลกระทบต่อเนื่องกับประชาชนและบั่นทอนศักยภาพของประเทศมาตลอดยุคสมัย ที่รัฐนั้น คือ ผู้ผูกขาดรวมศูนย์อำนาจการจัดการ การบังคับให้อพยพโยกย้ายโดยอ้างว่าได้มีการจัดพื้นที่รองรับไว้แต่รัฐมุ่มเพียงใช้จ่ายเงินงบประมาณไม่ได้ถามชุมชนและไม่มีส่วนรวม และมีการทำลายพืชผลอาสินและห้ามเข้าทำกิน การยึดพื้นที่และห้ามเข้าทำกินหรือถูกให้ออกจากพื้นที่ การจับกุมดำเนินคดี การข่มขู่บังคับให้ลงลายมือชื่อยินยอมออกไปจากที่ดินทำกิน
การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายด้านป่าไม้ที่สำคัญหลายฉบับในปี 2562 ชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบางกลอย-ใจแผ่นดินที่ถูกจับกุมดำเนินคดีอีกระลอกจำนวน 22 คน ที่ปรากฏต่อสังคม ผู้แทนชุมชนเห็นว่าความขัดแย้งที่ฝากให้รัฐนำไปทบทวนการใช้กฎหมายและนโยบายบังคับให้เปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอัตลักษณ์ วิถีชีวิตความเชื่อ จะทำให้ปัญหาใหม่อีกหลายปัญหาตามมาที่นับวันจะรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ สิทธิทางชาติพันธุ์ สิทธิการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น กระบวนการยุติธรรม อำนาจของหน่วยงานรัฐ นโยบายจัดการที่ดินป่าไม้ ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องโครงสร้างอำนาจของประเทศที่ไม่อาจมองเป็นเพียงรายกรณีปัญหาได้”
.
ดร.มังโสด หมะเต๊ะ จากสมาคมสมาพันโรงเรียนเอกชนภาคใต้ “ครั้งนี้เรามาครั้งที่สองตามที่สัญญาไว้กับชาวบางกลอย เมื่อเดือนที่ผ่านมาซึ่งได้เห็นเรื่องความไม่ยุติธรรม ที่ชุมชนกะเหรี่ยงบางกลอย ได้กรุณาถ่ายทอดความปวดร้าว ข่มขืน ให้คณะที่มาเยี่ยม ได้ทราบ ไม่ว่าจะเป็นการถูกรัฐขับไล่ให้ย้ายถิ่นด้วยวิธีการรุนแรง เผาบ้านเรือน จาก ‘บางกลอยบน’ และ ‘ใจแผ่นดิน’ ซึ่งเป็นชุมชนดั้งเดิมที่อยู่มานานตั้งแต่บรรพบุรุษ ระหว่างปี 2553ถึงต้นปี 2554 ประมาณ 99 หลัง ก่อนที่ประกาศเป็น ‘อุทยานแห่งชาติ’ ต่อมาในปี 2555 ตัวแทนกะเหรี่ยงได้ยืนฟ้องศาลปกครอง และศาลปกครองสูงสุดได้อ่านคำพิพากษาเมื่อ 12 มิถุนายน 2561 (คดีหมาเลขแดงที่ ส.660/2559) การขับไล่ด้วยวิธีการรุนแรง เผาบ้าน ทำลายสิ่งของโดยเจ้าหน้าที่อุทยาน เป็นการกระทำโดยมิชอบ ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอน ต้องชดใช้ให้ชาวกะเหรี่ยง พร้อมรับรองว่าใจแผ่นดินเป็นชุมชนดั้งเดิม มีมานานก่อนจะมีอุทยาน การตายของ อ.ป๊อด-ทัศน์กมล โอบอ้อม ผู้เห็นต่างจากเจ้าหน้าที่รัฐในการแก้ไขปัญหาชาวกะเหรี่ยงที่รัฐให้การอพยพพวกเขาออกจาก “ใจแผ่นดิน”ได้นำพากลุ่มชาติพันธุ์ฟ้องร้องเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ถูกคนร้ายดักสังหารเสียชีวิต เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2554 กรณี ‘บิลลี่’ พอละจี รักจงเจริญ หลานชายแท้ๆ ของ ‘ปู่คออี้’ ที่รู้ภาษาไทย เป็นผู้กล้าหาหลักฐานเพื่อดำเนินการกับผู้ฆ่า อ.ป๊อก และนำเรื่องห้องศาลปกครองกรณีการขับไล่ด้วยวิธีการรุนแรง เผาบ้านบ้านเรือน จนในที่สุด บิลลี่ ได้ถูกทำให้หายตัวไปเมื่อปี 2557 จนต่อมา กรมสอบสวนคดีพิเศษ แถลงยืนยันว่า ‘บิลลี่ตายแล้วและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน 4 คน กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินคดี มีความเห็นสั่งฟ้องเจ้าหน้าที่ฯ จำนวน 7 ข้อหารวมถึงข้อหาร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (ฆ่าบิลลี่) ด้วย แต่อัยการคดีพิเศษมีคำสั่งไม่ฟ้องเจ้าหน้าที่ฯ จำนวน 6 ข้อหา สั่งฟ้องต่อศาลทุจริตฯ เพียงข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ (ม. 157) เพียงข้อหาเดียว คดี บิลลี่ ปัจจุบัน กรมสอบสวนคดีพิเศษ ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการจึ่งมีความเห็นแย้งให้ฟ้อง ส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาชี้ขาด เมื่อ สิงหาคม 2563 ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างรอคำสั่งอัยการสูงสุดว่าจะสั่งฟ้อง หรือไม่ฟ้อง
– กรณีการกดทับทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม อัตลักษณ์ ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่สิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้อยค่าลง ฯลฯ ทั้งหมดสามารถได้ว่า ความทุกข์และไม่ยุติธรรมแห่งนี้รุนแรงมาก จำเป็นต้องช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันซึ่งเด็กปอเนาะส่วนหนึ่งที่ได้สัมผัสกับเด็กๆที่นี่ แววตาของพวกเขาได้สะท้อนให้ผมรู้ว่า คุณค่าความเป็นมนุษย์ เรียกร้องให้เรามาที่นี่บางกลอย”
บาบอ(ครูสอนศาสนา)จากโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ สงขลา สะท้อนว่า
“ความเดือดร้อนของพี่น้องชาติพันธ์จากการถูกกระทำโดยเจ้าหน้าที่รัฐต่อชาวบางกลอยเราเข้าใจความรู้สึกนั้นและรู้สึกเห็นเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์และในความเป็นมนุษย์ที่มีศักศรีในความเป็นมนุษยที่เท่าเทียมกันทุกชาติพันธ์ เมื่อทราบเรื่องของชาวกะเหรี่ยงบางกลอยออกหน้าสื่อต่างๆเราจึงคิดว่าครั้งหนึ่งในชีวิตเราต้องมาถึงบางกลอยให้ได้เพราะอย่างน้อยก็เพื่อเป็นกำลังใจให้พี่น้องกะเหรี่ยงบางกลอยให้เขาได้ทราบว่าเขาไม่ได้ต่อสู้เพียงลำพัง เราอยากขอพรจากพระเจ้าให้ช่วยปกป้องคุ้มครองมนุษยชาติของพระองค์ ให้รอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวง”
หมายเหตุ
#ภาพและคลิปประวัติศาสตร์
1.เด็กปอเนาะช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเด็กบางกลอย
2.อาซานและละหมาดบนศาลา “บางกลอย”
#โดยสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนภาคใต้
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10225696318335145/?d=n
994 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.