อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
ยุคปัจจุบัน ผู้คนโดยเฉพาะนักเรียนใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศจำนวนมาก ผ่านสื่อดิจิทัลที่มีความรวดเร็วในขณะเดียวกันปัญหาภาพรวมจาก Social media เช่น ในทางที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดความรุนแรง ความเกลียดชัง ซึ่งผู้ใช้เองอาจจะยังขาดความเข้าใจและทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ข้อมูล
‘MIDL การรู้เท่าทันสื่อ’ คือ เท่าทันสื่อ Media เท่าทันสารสนเทศ Information เท่าทันดิจิทัล Digital Literacy
เท่าทันสื่อในความหมายของสากลไม่ใช่แค่การคอยติดตาม ถอดรหัส ตรวจสอบ คำว่าสื่อไม่ได้อยู่ในช่องทางแบบเดิมๆ อีกต่อไปแล้ว นั่นหมายถึงสื่อที่ไร้ขอบเขต
จำเป็นอย่างมากคือ สิ่งที่เราต้องสร้างขึ้นให้กับคนทุกวัย การสร้างวิจารณญาณในการปกป้องตนเอง และคนรอบตัว จากสื่อที่เป็นภัยไม่พึงประสงค์”
ในขณะที่พื้นทีความขัดแย้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ การรู้เท่าทันสื่อ เท่าทันความขัดแย้งชายแดนใต้ นั้นมีความสำคัญต่อเยาวชน
การรับรู้สื่อจากสังคมในหลายๆด้านจะทำให้เรามีเกราะป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเราเอง
#การรู้เท่าทันสื่อ 2 ปัจจัยหลัก
1. ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21
ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การเรียนรู้ 3R x 7C ทักษะการเรียนรู้ 3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้), และ (A)Rithemetics (คิดเลขเป็น) ส่วนทักษะการเรียนรู้ 7C ประกอบด้วย Critical Thinking and Problem Solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา) Creativity and Innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) Cross-cultural Understanding (ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) Collaboration, Teamwork and Leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ) Communications, Information, and Media Literacy (ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ) Computing and ICT Literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) และ Career and Learning Skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)
2. การเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning)
ทักษะเหล่านี้ ( ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21)
สามารถทำได้ผ่าน การเรียนรู้แบบใฝ่รู้ (Active Learning)
(Active Learning) เป็นการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะความคิดระดับสูงอย่างมี
ประสิทธิภาพช่วยให้ผู้เรียนวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินข้อมูลในสถานการณ์ใหม่ได้ดีในที่สุดจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจจนสามารถชี้นำตลอดชีวิตในฐานะผู้ฝักใฝ่การ เรียนรู้ ธรรมชาติของการเรียนรู้แบบ Active Learning ประกอบด้วยลักษณะสำคัญต่อไปนี้
1. เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งลดการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนสู่ผู้เรียนให้น้อยลงและพัฒนาทักษะให้เกิดกับผู้เรียน
2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียนโดยลงมือกระทำมากกว่านั่งฟังเพียงอย่างเดียว
3. ผู้เรียนมีส่วนในกิจกรรมเช่นอ่านอภิปรายและเขียน
4. เน้นการสำรวจเจตคติและคุณค่าที่มีอยู่ในผู้เรียน
5. ผู้เรียนได้พัฒนาการคิดระดับสูงในการวิเคราะห์สังเคราะห์และประเมินผลการนำไปใช้และ
6. ทั้งผู้เรียนและผู้สอนรับข้อมูลป้อนกลับจากการสะท้อนความคิดได้อย่างรวดเร็ว
การเรียนรู้แบบใฝ่รู้ ถือได้ว่าเป็นการเรียนรู้ที่ต้องการกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลายที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองผ่านการจัดการตนเองให้ความรู้และช่วยพัฒนาเพื่อนร่วมชั้นซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์พัฒนาความรู้ความเข้าใจและทักษะที่หลากหลายเป็นกระบวนการที่ประณีตรัดกุมและผู้เรียนได้รับประโยชน์มากกว่าการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้อาจนำมาขยายความให้เห็นเป็นลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning ได้ดังนี้
1. เป็นการเรียนการสอนที่พัฒนาศักยภาพทางสมองได้แก่การคิดการแก้ปัญหาและการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
2. เป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้สูงสุด
3. ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกันร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
5. ผู้เรียนเรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกันการมีวินัยในการทำงานการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6. เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่านพูดฟังคิดอย่างลุ่มลึกผู้เรียนจะเป็นผู้จัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
7. เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นทักษะการคิดขั้นสูง
8. เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศและหลักการความคิดรวบยอด
9. ผู้สอนจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
10.ความรู้เกิดจากประสบการณ์การสร้างองค์ความรู้และการสรุปทบทวนของผู้เรียน
การส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการเรียนรู้แบบใฝ่รู้ มีส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ การมีวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ (Appealing Materials) ผู้เรียนมีโอกาสลงมือปฏิบัติ (Opportunities for Manipulation) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเลือกกิจกรรมและกลวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง (Choices for Children) ผู้เรียนได้สื่อสารเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังทำกับผู้อื่นการเรียนรู้ที่กระตือรือร้นการประเมินการจัดห้องเรียนกำหนดการประจำวันปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา การจัดการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนรู้แบบใฝ่รู้จะมีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับวิธีการใช้กิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งทำได้มากกว่าการสอนแบบบรรยายนั่นเอง
อ้างอิงจาก http://apr.nsru.ac.th/Act_learn/myfile/27022015155130_article.docx
Muhammad Dueramae อดีตกรรมการสภาผู้ชมThai PBS ชายแดนภาคใต้ให้ทัศนะสั้นๆสำหรับเยาวชนชายแดนภาคใต้ว่า “จะต้องสืบให้รู้ที่มา (ก่อน )สื่อให้รู้ที่ไป(หลังจากนั้น)”และท่านได้เสนอ “ผีเสื้อโมเดลเพื่อรู้เท่าทันสื่อ
เมื่อรู้เท่าทันสื่อสิ่งสำคัญอีกประการคือการมีทักษะผลิตสื่อตามที่น้องได้รับการอบรมตลอด 3 วัน ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติจนวันนี้ตัวแทนน้องๆได้รับรางวัลในประเภทต่างๆในวันนี้
(เวทีถอดบทเรียน “รู้เท่าทันสื่อ”
โรงแรมปาร์ค อินทาวน์-Park Intown Hotel
ปัตตานี
1 เมษายน 2564
จัดโดย # The Pen)
หมายเหตุ
หนึ่ง
1 เมษายน 2564 ร่วมเวที ถอดบทเรียน
การพัฒนาทักษะการผลิตสื่อสร้างสรรค์เยาวชนเท่าทันความขัดแย้งจากโซเชียลมีเดีย
.
ซึ่งจัดโดย THE PEN
โรงแรมปาร์ค อินทาวน์-Park Intown Hotel
ปัตตานี
สอง คลิป “ชีวิตชาวเลจะนะ” คว้าแชมป์ ผลงานของนักเรียนโรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยา จะนะ จังหวัดสงขลา
ติดตามได้ในhttps://drive.google.com/file/d/1yRXb6iaiqFQkPSSNK6tA9s93LZ5sSkca/view?usp=drivesdk
สาม คลิปการอบรม “รู้เท่ทันสื่อ”
https://fb.watch/4Fx8j19ghm/
837 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.