อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
วันที่ 25 – 26 มีนาคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จัด “โครงการสร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่ประชาชนและสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมมีบทบาทร่วมดำเนินงานกับศูนย์ศึกษาและประสานงานด้านสิทธิมนุษยชน จังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้แทนกลุ่มเยาวชน ภาคประชาชน องค์กรภาคประชาสังคม และหน่วยงานรัฐในพื้นที่กว่า 120 คนเข้าร่วมการอบรม ณ โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ ปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ในการอบรมวันแรก นายบุญเกื้อ สมนึก เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษในหัวข้อ “บทบาทสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้” โดยมีพันเอก.เดชพัฒน์ วิภาวนิช ผู้แทนกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า และคุณอำพล พ่วงศิริ ผู้แทนสำนักงานยุติธรรมจังหวัดปัตตานี เข้าร่วมในพิธีเปิดด้วย จากนั้นในช่วงสายถึงช่วงเย็นมีการทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อระดมความความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยวิธีการจัดกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม โดยวิทยากรสำนักส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน สำนักงาน กสม. เพื่อนำไปสู่การสร้างเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่และเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเสนอแนะจากประชาชนในการดำเนินกลไกการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนประเด็นต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายภาคแดนใต้
กิจกรรมในวันที่สอง ช่วงเช้ามีการบรรยายในหัวข้อ “พันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีและกลไกการคุ้มครอง” โดยนางสาวอัจฉรา ฉายากุล รองเลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จากนั้นในช่วงบ่ายมีการอภิปรายหัวข้อ “โอกาสและความท้าทายของการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนใต้” วิทยากรประกอบด้วย (1) รศ.ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (2) คุณอับดุลกอฮาร์ อาแวปูเตะ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม จังหวัดปัตตานี (3) คุณรักชาติ สุวรรณ์ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ และ (4) คุณซูกริฟฟี ลาเดะ ประธานสหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียนและเยาวชนปาตานี โดยมีคุณสันติ ลาตีฟี รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานพันธกรณีและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ สำนักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เป็นผู้ดำเนินรายการ
#ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี นักวิจัยสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ (CSCD) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และ ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch) เปิดเผยว่า “ความจริงกฎหมายพิเศษชายแดนภาคใต้มีมากกว่า3 ฉบับตามที่เราเข้าใจ(พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 )แต่ยังมีพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ. ๒๕๕๓แต่ภายหลังคสช.ยึดอำนาจจนกระทั่งปัจจุบันงดเว้นการใช้บางมาตราซึ่งในทางพฤตินัยนั้นอยู่ภายใต้ปีกกอ.รมน.ภาค4 การเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้กับยุทธศาสตร์ของ กอ.รมน.และศอ.บต. ต้องดำเนินการมาตรา 9 (16) วรรคสาม ที่บัญญัติไว้ว่าในการจัดทำแผนปฏิบัติการตาม (2) คือจัดทำแผนปฏิบัติการที่จะดำเนินการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นไปตาม ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ ศอ.บต. หารือกับหัวหน้าหน่วยงานที่กำกับดูแลยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงด้วย เพื่อให้แผนปฏิบัติการดังกล่าวสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงตาม กฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อีกประการในขณะที่ การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่นกรณีทหารยิงชาวบ้านตาย 3 ศพ บนเขาตะเว จ.นราธิวาส
แทนที่กสม.จะทำ แต่ กอ.รมน.กลับไปทำโดยตั้งคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กอ.รมน.4 ซึ่งมีพล.ต.ธิรา แดหวา ผู้อำนวยการศูนย์สันติวิธี กอ.รมน.4 เป็นประธานแม้จะจะตั้งคณะกรรมการร่วมจากภาคประชาสังคมที่หลากหลายมาร่วม เหล่านี้มันเป็นปัญหาและความท้าทายสิทธิมนุษยชนชายแดนใต้ภายใต้วาทกรรมบูรณาการงานเพื่อความมั่นคง”
ทนายอับดุลกออาร์ อาแวปูเตะ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมสะท้อนบทเรียนการทำงานกระบวนการยุติธรรมในนามภาคประสังคมที่ทำคดีให้ชาวบ้านตลอดไฟใต้ 17 ปีว่า “ภาคประชาสังคมท่านใดทำงานด้านสิทธิมนุษยชนให้ชาวบ้านแล้วโดนIO รัฐ เล่น ให้สันนิษฐานได้เลยว่า ทำงานเข้าเป้าตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชน”
รักชาติ สุวรรณประธานสภาประชาสังคมชายแดนภาคใต้ให้ทัศนะและโยนคำถามถึงกสม.ชายแดนภาคใต้ในความท้าทาย “ กสม.ทำงานจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไร ถึงเราพึ่งทราบว่า มีเมื่อวานนี้ว่ามีศูนย์อยู่ที่นี่”
และท่านกล่าวว่า “งานวันนี้. ขอบคุณ กสม. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. ให้ความสำคัญกับพื้นที่ เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้#ถ้าเราไม่เรียนรู้ไม่พัฒนาเราจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร”
นางสาอัญชนา หรือมุมตัส หีมมีนะ ซึ่งมากับคณะทำงานน้องๆในกลุ่มด้วยใจสะท้อนความรู้สึก หลังเสร็จสิ้นเวทีเสวนา ว่า “ความคับข้องใจ
2 เวทีที่ได้ไปร่วมงานทำให้ได้ใช้กระบวนการฟังอย่างตั้งใจต่อความคับข้องใจของคนไทยพุทธในพื้นที่ถึงความรู้สึกไม่ปลอดภัยและรู้สึกถึงการถูกเลือกปฏิบัติ และฟังเยาวชนที่สะท้อนสิ่งที่เขามองเห็นจากประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ผ่านมาของเขา เราสัมผัสได้ว่าคนในพื้นที่ทั้งพุทธและมุสลิมอยู่กับความคับข้องใจมาอย่างยาวนานไม่ต่างกันในมุมของตนเอง ความรู้สึกของตนเอง ประสบการณ์ของตนเอง
ทำให้เราคนที่อยู่กับข้อมูลรับรู้ได้ว่าในความขัดแย้งถ้าเราไม่พูดข้อมูล ความจริงที่เกิดขึ้นความคับข้องใจก็จะไม่คลี่คลายและกลายเป็นปม
เราอยากบอกเล่าข้อมูลที่รวบรวมทั้งจากการขอข้อมูลจาก DSW คือจำนวนเหตุการณ์ จำนวนคนที่เสียชีวิตและบาดเจ็บแยกตามศาสนา กับข้อมูลที่กลุ่มด้วยใจบันทึกได้ จากการร้องเรียน การลงพื้นที่และการเก็บข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ เราจึงเห็นภาพปัญหาการละเมิดทั้งจากการกระทำของขบวนการแบ่งแยกดินแดนการกระทำจากรัฐ เราจึงอยากบอกว่าไม่มีใครเจ็บปวดมากกว่าน้อยกว่า ไม่มีใครสูญเสียมากกว่าแต่พวกเราคือเหยื่อของความขัดแย้งนี้และเจ็บปวด”
เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของความท้าทายต่อสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม. )ในการดำเนินกลไกการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนประเด็นต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดชายภาคแดนใต้ในเชิงประจักษ์(ในอนาคต)และเป็นภารกิจคนทำงานของศูนย์ประสานงานในพื้นที่สองแห่งทั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ปัตตานี)และราชภัฏยะลา
#จงรำลึกอยู่เสมอ ว่า คนที่เป็นผู้นำองค์กร ต้อง เข้มแข็ง มีจุดยืน ดั่งที่หลักการอิสลาม สั่งไว้ ว่า “คนที่ยึดหลักกาหลักสัจธรรมในยุคต่อไป เปรียบเสมือนคนที่กำถ่านไฟเอาไว้”
หมายเหตุข่าวและประมวลภาพ
สำนักงาน กสม. จัดโครงการสร้างเสริมความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่เยาวชน-ภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ จังหวัดปัตตานี (ดูเพิ่มเติมใน)
https://www.facebook.com/165027406990322/posts/1807448822748164/?d=n
2,175 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.