เมษายน 27, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

จริยธรรมโมเดล : นวัตกรรมการจัดการศึกษาเพื่อสันติภาพ

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

#โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา นำเสนอ ในบูท การศึกษากับสันติภาพซึ่งผู้เขียน และครูฟอตอนา ขุนดุเร๊ะ มีโอกาส ได้ อธิบายให้
หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขชายแดนใต้ ซึ่งได้เยี่ยมชมบูธ โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ
ในงานกิจกรรมมอบโล่เกียรติยศของนายกรัฐมนตรี/ประธานกรรมการอำนวยการพูดคุยเพื่อสันติสุขชายแดนใต้ให้แก่ผู้ได้รับรางวัลการประกวดเรียงความ “สันติสุขชายแดนใต้ในความคิดของฉัน”
และเวทีการจัดเสวนาวิชาการเรื่อง “นานาทัศนะสันติสุขชายแดนตายโอกาสและความท้าทาย” เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ณ
คณะวิทยาการจัดการ มอ.หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

https://www.facebook.com/1245604111/posts/10225558481169302/?d=n
สำหรับรายละเอียดมีดังนี้
#ความเป็นมาของการขับเคลื่อน
พลวัตการศึกษาของโรงเรียนได้คัดเลือกจากตัวแทนคณะผู้บริหาร ตัวแทนครู ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนภาครัฐและประชาชน ซึ่งบางท่านใช้ชีวิต ตั้งแต่ เริ่มก่อกำเนิดโรงเรียน บางท่าน 20 ปี บางท่าน 10 ปี บางท่าน 5 ปี บางท่าน 1-4 ปีในสถานศึกษาแห่งนี้เพื่อถอดบทเรียนเรื่องนี้ โดยเป็นการศึกษาภาคสนาม ( Field Research ) การศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research ) Focus Group หลังจากนั้นวิเคราะห์สังเคราะห์จนสามารทราบว่าที่นี่มีพลวัตการพัฒนาสังคมอย่างมีส่วนร่วมผ่านการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างไร ใช้นวัตกรรมกรรมใดบ้าง มีผลสัมฤทธิ์อย่างไร จนนำไปสู่การ สร้างนวัตกรรมนี้ “ผ่านการถอดบทเรียน เกี่ยวกับพลวัตการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมผ่านการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้”


นางสาวฟอตอนา ขุนดุเร๊ะ ให้ทัศนะเพิ่มเติมว่า “การจัดการศึกษา ที่นี่เพื่อเห็นความสำคัญของคนในพื้นที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนของบุตรหลาน,เพื่อต้องการจัดการศึกษาที่เหมาะต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของชุมชนและสังคม ,เพื่อลดรายจ่ายในการศึกษาเพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าเรียนตามความถนัดและความต้องการในพื้นที่ใกล้บ้าน, เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมการศึกษา, เพื่อต้องการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพภายใต้กรอบแนวคิดประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมและหลักการศาสนา…การสามารถถอดรหัสทฤษฎีในหลักการศาสนามาบูรณาการหลักพัฒนาสังคมสังคมจากอดีตสู่ปัจจุบัน จากเรื่องชุมชนสู่นานาชาติโดยไม่ทิ้งรากเหง้า จากมุสลิมชายแดนใต้ สู่วิถีพลเมืองไทยและพลเมืองโลกตามวิถีมุสลิมในยุคดิจิทัล และโลกาภิวัตน์ ท่ามกลางสังคมพหุวัฒนธรรม


#ผลหรือการเปลี่ยนแปลงที่ส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่ เช่น การเข้าถึงสิทธิ ความเท่าเทียม เป็นธรรม การมีความรู้ ความชอบธรรม การมีส่วนร่วม เป็นต้น พบว่าการเข้าถึงการศึกษา100 เปอร์เซ็นต์ของคนในหมู่บ้าน จากระดับปฐมวัย สู่มัธยมศึกษาปีที่ 6 (การศึกษาขั้นพื้นฐาน) สู่ การแบ่งปันให้คนทั้งชาติและทุกภูมิภาคแม้แต่เวทีนานาชาติ
#ความยั่งยืน และแนวทางการพัฒนาหรือต่อยอดคือการส่งต่อผ่านคณะกรรมการอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนจากรุ่นสู่รุ่น

#บทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินงานที่สามารถสร้างให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันได้ เช่นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งระดับชุมชน อำเภอ จังหวัด จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชาติและนานาชาติ นำมาปรับใช้ในพื้นที่ให้ลงตัว โดยข้อที่น่าจะการันตีของความคุ้มค่า คือ MoU ด้านการศึกษากับต่างประเทศ 200 กว่าโรงและมีโรงเรียนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งต่างประเทศ( มาเลเซียและอินโดนีเซีย)มาศึกษาดูงานรายร้อยโรงซึ่งเฉลี่ย 2 โรง ต่อเดือนเพื่อนำบทเรียนไปปรับใช้ในโรงเรียนของพวกเขาที่มาดูงาน

สำหรับ
1.แผนภาพ จริยธรรมโมเดล : นวัตกรรมการจัดการศึกษาเพื่อสันติภาพ สามารถดูได้ใน
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10225561224677888/?d=n
2.ภาพรวมการจัดการการศึกษาชายแดนภาคใต้ดูได้ใน
https://www.facebook.com/1245604111/posts/10225560863228852/?d=n

 1,082 total views,  2 views today

You may have missed