อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
อำเภอหนองจิก จ.ปัตตานี เป็นอีก 1 ใน 4 เมืองต้นแบบ ภายใต้แนวคิด “เมืองต้นแบบเกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน” อนึ่ง ในปี พ.ศ.2557 หน่วยบูรณาการงานวิจัยเพ่ือพัฒนาพื้นท่ี (Area-Based Collaborative Research Unit: ABC Unit) สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ร่วมกับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ศอ.บต. และหน่วยพันธกิจมหาวิทยาลัยกับสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สร้างกลไกการทำงานเพื่อการ พัฒนาพื้นที่ใช้ชื่อว่า คณะทำงานขับเคลื่อนการจัดการความรู้เพ่ือสนับสนุนการแก้ไขปัญหาและพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรในพื้นที่ ได้ทำรายงานเชิงวิชาการ
ซึ่งในรายงาน ระบุ ส่วนหนึ่งว่า “อำเภอหนองจิก ถือได้ว่าเป็นเมืองหน้าด่านสาคัญของจังหวัดปัตตานี และเส้นทาง สามเหลี่ยมเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนใต้ ท้ังนี้เพราะเป็นจุดกลางของเส้นทางที่เชื่อมไปยังอำเภอจะนะ เทพา จังหวัดปัตตานียะลาและ นราธิวาส ปัจจุบันหนองจิก ถือได้ว่าเป็นเมืองสาคัญด้านปาล์มนำ้มัน เพราะมีการลงทุนปลูกปาล์มนำ้มัน มากกว่า 6 หมื่นไร่ และมีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมนำ้มันปาล์มท่ีสามารถรองรับพื้นท่ีปลูกปาล์มนำ้มัน กว่า หนึ่งแสนสองหมื่นไร่ พื้นท่ีนี้จึงได้รับความสนใจในการลงทุนด้านเกษตรกรอุตสาหกรรม เช่น โรงงาน แปรรูปอาหาร โรงงานไฟฟ้าชีวมวล โรงงานพัฒนาปุ๋ยจากเศษวัสดุของเหลือจากอุตสาหกรรมปาล์มนำ้มัน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อน่ึง นอกจากพ้ืนที่ปลูกปาล์มนำ้มันแล้ว หนองจิกยังเป็นพื้นท่ีที่มีการปลูกข้าว อินทรีย์ตามโครงการนาแปลงใหญ่ของกรมชลประทาน ดังน้ัน รัฐบาลจึงให้ความสนใจที่จะพัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นพื้นท่ีผลิตวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมนำ้มันปาล์ม และอุตสาหกรรมอาหาร (ฮาลาล) ของภาคใต้ตอนล่าง โดยยกระดับความสามารถของเกษตรกรในพื้นท่ีผ่านกระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกษตรกร รายย่อยสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางการเทคโนโลยีการผลิต และเช่ือมโยงการพัฒนาใน ทุกมิติท่ีเกี่ยวข้อง ซึ่งเป้าหมายหลักของโครงการนี้ “เป็นเมืองที่มีความสงบ ประชาชนมีงานทา เศรษฐกิจดี” โดยผ่านกระบวนการดังนี้
1.การสร้างกลไกและพัฒนารูปแบบของเกษตรกรรมให้มีความยั่งยืนตามบริบทของพื้นที่เพื่อ สร้างเศรษฐกิจฐานราก
2. การพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อรองรับนโยบายภาครัฐแบบยั่งยืน
3. การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้าน
4. รูปแบบการจัดการปศุสัตว์แบบผสมผสาน”(โปรดดูhttps://www.trf.or.th/component/attachments/download/4197)
อย่างไรก็แล้วแต่หลังโครงการนี้ศอ.บต.เอาไปขับเคลื่อนและดำเนินการพบปัญหาหลายประการเช่น ทุจริตซื้อขายที่ดินเอื้อประโยชน์แก่บางคน(อ่านเพิ่มเติมใน https://www.isranews.org/article/south-news/south-slide/92897-newroad.html) การหลอกนักลงทุนนอกพื้นที่เพื่อเอื้อคนของรัฐและเครือข่ายจนนักลงทุนจำเป็นต้องหนี ( อ่านเพิ่มเติมใน https://mgronline.com/south/detail/9630000104696)
จะเห็นได้ว่า โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทุจริตคอรัปชั่น และเป็นเรื่องtalk of the town “ใน อุตสาหกรรมความมั่นคง”ที่สร้างความร่ำรวยแก่ผู้มีอำนาจและเครือข่ายตลอด17ปีไฟใต้สอดคล้องกับแถลงข่าวของBRNในเดือนนี้โดยแถลงการณ์ว่า “ความขัดแย้งที่ปาตานีไม่ใช่พื้นที่เพื่อฉวยโอกาส และไม่ใช่สนามสำหรับธุรกิจความมั่นคงของใคร อย่าปล่อยให้ชาติของเรากลายเป็นเดิมพัน เพราะเงินทองไม่สามารถซับน้ำตาเลือดหรือทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้น พวกเราต้องรวมใจกับปกป้องมรดกที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ทรัพยากรธรราชาติในแผ่นดินของเราให้มีอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์สำหรับประชาชน “
.
(โปรดดูแถลงการณ์BRNแปลโดยShintaro Haraใน
https://www.facebook.com/1710903737/posts/10209092964517186/?d=n)
ในขณะที่ 16 มีนาคม 2564 ตัวแทนวัยรุ่นหนองจิกจัดเสวนาต่อเรื่องนี้แสดงความกังวลต่อโครงการ(ผ่านlive
ใน Facebook ) อันจะเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่หากรัฐยังขับเคลื่อนแบบเดิมๆ “ไม่โปร่งใส กีกันกันมีส่วนร่วมโดยเฉพาะฝ่ายเห็นต่าง IOลดค่าฝ่ายเห็นต่าง ใช้เงินปิดปาก ทำเวทีแบบพิธีกรรม ใช้กลไกกฎหมายเอื้อนายทุน เหล่านี้คือบทเรียนอุตสาหกรรมจะนะที่รัฐไม่เคยจดจำอย่างไรก็แล้วแต่คนเห็นต่างก็เช่นกันต้องสร้างองค์ความรู้ ในหลากหลายมิติ ทั้งทางด้านกฎหมาย สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การทำงานเป็นเครือข่าย โดยเฉพาะกับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ตาดีกา ผู้นำศาสนา ด้วยความเป็นเอกภาพไม่แตกแยก “ กล่าวโดยสรุปแทนที่โครงการนี้จะนำไปสู่สันติภาพสันติสุขมันอาจนำไปสู่ความรุนแรงและกระทบสันติภาพในที่สุดก็เป็นไปได้
อนึ่ง 17 มีนาคม 2564
เครือข่ายเยาวชนก้าวหน้าเพื่อการพัฒนาสังคม (อำเภอหนองจิก) เดินหน้าส่งหนังสือ ศอ.บต คัดค้านการขยายพื้นอุตสาหกรรมหนองจิก
เครือข่ายเยาวชนฯ ขอเข้าพบเลขาธิการ ศอ.บต ที่สำนักงาน ศอ.บต โดยมี นายชนธัญ แสงพุ่ม หรือ “ดร.เจ๋ง” รองเลขาธิการ ศอ.บต มารับฟังและชี้แจงข้อมูลแทนเลขาธิการ
นายชนธัญ ให้ความเห็นเรื่องการขยายพื้นที่เขตอุตสหกรรม (พื้นที่สีม่วง) ในพื้นที่อำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานีกว่า 2,000 ไร่ว่า “ทาง ศอ.บต ไม่ทราบว่าจะมีการขยายพื้นที่ทำอุตสากรรมเฟอร์นิเจอร์กว่า 2 พันไร่ เรารับรู้เพียงว่าจะมีการขอใช้พื้นที่ขยายโรงงานเฟอร์นิเจอร์เพียง 200 กว่าไร่เท่านั้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องนี้ควรจะไปถามท้องที่ (จังหวัดปัตตานี) ว่ามีความเป็นมาอย่างไร”
ทางด้านมูฮำหมัดฮาฟีซี ลาเตะตัวแทนเครือข่ายเยาวชนฯ ชี้แจงเรื่องการประกาศเขตอุตสาหกรรมอำเภอหนองจิก ที่เหลือเวลาอีกเพียง 2 วันที่จะสิ้นสุดการส่งข้อคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า “ถึงแม้เราจะเหลือเวลาไม่มากแล้วแต่เราก็จะพยายามดำเนินเรื่องทุกช่องทางที่พอจะทำได้เพื่อจะให้เรารับรู้ข้อมูลมากที่สุด และเราจะเดินหน้าส่งต่อข้อมูลให้เป็นที่รับรู้ของชาวบ้านในพื้นที่ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อชุมชนของเราในอนาคต”
“สิ่งเร่งด่วนตอนนี้ผมคิดว่าอยากจะนำเสนอความคิดเห็นของชาวบ้านในพื้นที่เป้าหมายการขยายเขตอุตสาหกรรมให้มากที่ และนำเสนอข้อเท็จจริง ผลกระทบที่ชาวบ้านประสบจากโรงงานปาล์มที่มีอยู่แล้ว”
ซุกริฟฟี ลาเต๊ะ ประธานสหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี (PerMAS) ” เราไม่ได้คัดค้านโครงการการพัฒนา แต่เราอยากมีกระบวนการที่ทุกคนมีส่วนร่วมมากที่สุด พร้อมเปิดเผยข้อมูล ศึกษาข้อดีข้อเสียอย่างรอบด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีคุณภาพ”
วันเดียวกันกลุ่มเครือข่ายเยาวชนฯ ได้ไปส่งหนังสือสำนักโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดปัตตานี , ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดปัตตานี กรณีการไม่เห็นด้วยในเรื่องของกระบวนการ เพราะประชาชนไม่ได้รับรู้ข่าวสารและไม่ได้ให้ความรู้และให้ความเข้าใจอย่างทั่วถึงกับประชาชน ซึ่งอาจจะความขัดแย้งในอนาคต
(อ้างอิงจากhttps://www.facebook.com/221459898603693/posts/916698989079777/?d=n)
หมายเหตุฟังคลิปฉบับเต็มใน
https://www.facebook.com/PataniResources/videos/446327449958109/
3,675 total views, 2 views today
More Stories
คณะกรรมาธิการสันติภาพฯ ถกแนวคิดหารือทางร่วมข้อคิดเห็น ข้อเสนอระดับพื้นที่ เตรียมผลักดันร่างพรบ.สันติภาพ
ส่งมอบความสุขแก่เด็กและเยาวชน เนื่องในวันเด็กแห่งชาติปี 2566
มหาเดร์สอบตกในขณะอันวาร์ได้เป็นนายกรัฐมนตรีมาเลเซียกับวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งมาเลเซีย รวมทั้งความท้าทาย