อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
ผู้เขียนและคณะกลุ่ม Shabab Cairo จำนวน 8 คน เดินทางจากจะนะ ไปสงขลา รับเพื่อน อีก 2 คน บึงรถไปตามถนนลพบุรี ราชเมศ ไปเส้นทางพัทลุงรับเพื่อนอีกคนที่บางแก้วพัทลุงแล้วมุ่งตรงบ้านทับจาก อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง (11 กุมภาพันธ์ 2564 ) เพื่อนำเงินไปสบทบงานมัสยิดที่เขาจะจัดเมื่อ 30 มกราคม 2564 แต่จัดไม่ได้เพราะพิษโควิด ทั้งที่เจ้าของงานลงทุนเตรียมจัดงานหมดไปเป็นแสนซึ่งพวกเราคิดแล้วว่าวันนี้จะนำเงินส่วนหนึ่งไปช่วยงาน
สำหรับเมืองตรังหรือจังหวัดตรังขึ้นชื่อว่าเป็น “เมืองน่าอยู่”เพราะมีอาหารอร่อย มีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และที่สำคัญ ชาวตรังไม่ว่านับถือศาสนาใดได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมานานแล้ว
จังหวัดตรังมีประชากรประมาณ 6 แสนกว่าคน ประมาณร้อยละ 18 หรือประมาณ 1แสนกว่าคนเป็นชาวมุสลิม (ประมาณร้อยละ 80 เป็นชาวพุทธ ประมาณร้อยละ 2 เป็นชาวคริสต์ และนับถือศาสนาอื่น ๆ)
บอบอมังโสด อับดุลอาซีซ รองประธานกรรมการอิสลามจังหวัดพัทลุง(มาด้วยกัน)ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงเรียนพัฒนาวิทยามูลนิธิ(ปอเนาะท่าเนาะ ) 16 หมู่ที่ 6 หมู่บ้านท่าเหนาะ, ถนนชะรัด-ไร่เหนือ, ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง สะท้อนว่า “ความเป็นจริงคนพัทลุงบ้านท่านกับทับจาก ย่านตาขาว เป็นญาติกันเชื้อสายเดียวกัน พวกเขาเมื่อก่อนมีอาชีพในภูเขาลูกเดียวกันข้ามไปข้ามมาเลยแต่งงานกัน”
อิหม่ามอิสมาแอล (สราวุธ)สูเด็น ประจำมัสยิดทับจาก ซึ่งมาต้อนรับเรา ได้สะท้อนวิถีชีวิตมุสลิมที่นี่ ทีมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้านต่างศาสนิกชนซึ่งผู้เขียนได้สัมผัสเอง ในขณะที่ท่านทักทาย เพื่อนต่างศาสนิกที่ขับรถผ่านบ้านท่านอย่างเป็นกันเอง
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ชาวมุสลิมในจังหวัดตรังมีความประสงค์ที่จะมีมัสยิดกลางหรือมัสยิดประจำจังหวัดเช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ ที่มีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เพื่อรองรับพี่น้องประชาชนชาวมุสลิมชาวจังหวัดตรัง ซึ่งมีกว่า แสนคน โดยได้ขอใช้ที่ดินบริเวณหมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ซึ่งอยู่ติดกับโรงเรียนกีฬาจังหวัดตรัง รวมประมาณ 40 ไร่
ทั้งนี้ ทาง อบจ.ตรัง ได้จัดสรรงบประมาณในการดำเนินการก่อสร้าง เป็นเงินทั้งสิ้น 32,600,000 บาท โดยตัวอาคาร “ มีขนาดความกว้าง 45 เมตร และมีความยาว 41 เมตร หอซาน มีขนาดความสูง 35 เมตร โดมใหญ่ มีขนาดความสูง 5.70 เมตร และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 เมตร ส่วนโดมเล็ก จำนวน 4 โดม มีขนาดความสูง 2 เมตร และมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร นอกจากนั้น ภายในตัวมัสยิดชั้นใต้ดิน ก็ยังจะมีการสร้างห้องสมุดไว้ด้วย เพื่อรวบรวมหลักคำสอนต่างๆ ของแต่ละศาสนา ไว้ให้ประชาชนทุกคนได้เข้าไปศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นมัสยิดที่ถ่ายรูปดูสวยงามมากๆ ครบวงจร ใช้สถานที่คุ้มค่าทั้งสามชั้น รอบๆ ใกล้กันยังใช้อาคารชั้นเดียวเป็นห้องน้ำและที่อาบน้ำละหมาด นอกจากนั้นยังมีทางเชื่อมระหว่างสองอาคารขุดเป็นอุโมงค์ซึ่งออกแบบไว้ดีมากๆ สำหรับอาคารมัสยิดชั้นล่างรองรับผู้ละหมาดชายได้ ประมาณ 700 กว่าคน ชั้นสองรองรับผู้ละหมาดหญิงได้ ประมาณ 500 กว่าคน ชั้นใต้ดินที่เชื่อมกับอาคารห้องน้ำเป็นส่วนของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด”
ทางอบจ.ตรัง คาดว่า “ โครงการก่อสร้างมัสยิดดังกล่าว ถือเป็นโครงการที่ดี ที่สามารถสร้างแหล่งเรียนรู้ทางด้านศาสนา ให้แก่พี่น้องประชาชนชาวมุสลิมในพื้นที่จังหวัดตรัง รวมทั้งยังเป็นจุดศุนย์กลางไว้ให้พี่น้องประชาชนชาวมุสลิมทุกคน ได้แสดงออกถึงความเคารพและศรัทธาในศาสนาของตนเองอีกด้วย “
อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ยังไม่เสร็จ คงเหลือต้องตกแต่งภายใน ด้านหน้าและรอบๆอีกประมาณไม่ถึง 10%
สำหรับการสร้างไม่แล้วเสร็จเป็นเพราะต้องใช้งบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสร้างทีละส่วน (ทั้งหมดเริ่มโดยคุณกิจ หลีกภัย นายก อบจ.ที่ดำรงตำแหน่งมานาน 5 สมัย เริ่มสร้างตั้งแต่ พ.ศ.2549 )
สำหรับคณะกลุ่มShabab Cairo ซึ่งเดินทางไปร่วมสมทบทุนบริจาคสาธารณกุศลของมัสยิดทับจาก ย่านตาขาว ตรัง เพื่อนำเงินบริจาคดังกล่าวพัฒนามัสยิดและศูนย์การเรียนรู้ศาสนาซึ่งจากสัมผัสยังต้องการความช่วยเหลือในการพัฒนาอีกมากและเกือบทุกแห่งในชุมชนมุสลิมตรัง “แม้มัสยิดกลางตรังจะสวยมากๆ แต่หลายมัสยิดก็ต้องการความช่วยเหลือโดยเฉพาะด้านการศึกษา”
พี่ใหญ่แห่งกลุ่มShababอาจารย์นาเซร์ เหมรัญ (ป๊าวสันต์) ขอบคุณทุกท่านโดยกล่าวว่า “ปิดจ้อบ งานการกุศลอิหม่ามแอล ตรัง โดยได้รับความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ จากเพื่อนพ้องน้องพี่ شباب และผู้มีจิตรศรัทธา จนทำให้งานการกุศลครั้งนี้สำเร็จไปด้วยดี ด้วยยอดบริจาครวม 49,164 บาท
อิหม่ามอิสมาอีล (สราวุธ สูบเด็น)ในนามเจ้าภาพขออัลเลาะห์ ทรงตอบแทนความดี แด่ทุกคน และครอบครัวตลอดไปด้วย
….เราจะสามัคคี ร่วมด้วยช่วยกันยึดในสายเชือกของอัลเลาะห์ เพื่อสะสมความดีตลอดไป….ان شاءالله
ก่อนลาผู้เขียนก็ได้กล่าวกับอิหม่ามที่นี่ว่า “ยินดีเป็นสื่อกลางหากอิหม่าม มีเยาวชนและเด็กๆมุสลิมตรังอยากเรียนศาสนาแต่ขาดแคลนโอกาส เพราะการศึกษาศาสนาจะเป็นรากฐานสำคัญพัฒนามุสลิมตรังและรองรับมัสยิดกลางตรังที่สวยงามและที่อื่นๆ”
2,071 total views, 2 views today
More Stories
มหกรรมคาราวาน OK BETONG BIKE WEEK 2024 ระหว่างวันที่ 2 – 3 สิงหาคม 2567
สตรีทฟู้ดแอนด์อาร์ท Betong Art Club ศิลปะภาพวาด ความหลากหลายเมืองเบตง
“ลูโบ๊ะดีแย แคมป์” ธรรมชาติบำบัด CAMPING กดไลค์ ใช่เลย!