พฤษภาคม 5, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ชาวบ้านร้องให้ช่วยทั้งนำ้ตา:ใครจะช่วยได้จริงๆเวทีรับฟังประเด็นปัญหาความเดือดร้อนของชาวประมงพื้นบ้านรอบอ่าวปัตตานี

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


(24 มกราคม พ.ศ. 2564) ณ ที่ทำการชมรมประมงพื้นบ้านบ้านบูดี ตำบลแหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตานี จัด “เวทีสะท้อนปัญหาควาเดือดร้อนจากตัวแทนชุมชนรอบอ่าวปัตตานี”

โดย เวลา 13.15 – 13.30 รายงานสรุปประเด็นปัญหาความเดือดร้อนของประมงพื้นบ้าน ของชุมชนรอบ อ่าวปัตตานี โดย นายอัลอามีน มะแต ตัวแทนชาวบ้าน ชุมชนรอบอ่าวปัตตานี ซึ่งท่านสะท้อนว่า “มีสี่ผลกระทบ
จากการศึกษาของท่านและดร.อลิสา หะสาเมาะ(นักวิชาการในพื้นที่สัมผัสชาวบ้าน)

ของการทิ้งวัสดุขุดลอกผิดแบบ ทำให้โครงการขุดลอกอ่าวปัตตานีไม่ได้แก้ไขปัญหาความตื้นเขินของอ่าวปัตตานี ชาวบ้านประสบปัญหาดังนี้
๑. ทรัพยากรสัตว์น้ำทะเลชายฝั่งและแหล่งอาหารของสัตว์น้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านจับสัตว์น้ำทะเลลดลง อย่างไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งสาเหตุมาจากทางโครงการได้ทิ้งตะกอนทราย หรือวัสดุขุดลอก ไปทับถมบริเวณที่ทำมาหากินของชาวบ้านเป็นบริเวณกว้าง ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ หญ้าทะเล สาหร่ายผมนาง
๒. ระบบนิเวศทางทะเลเปลี่ยนแปลงไป จากผลของการทิ้งตะกอนกลางอ่าวปัตตานี มีการเกิดขึ้นของเกาะแก่ง หรือ เนินทรายเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านไม่คุ้นชินกับระบบนิเวศใหม่ ชาวประมงพื้นบ้านเล่าว่า ปกติตนเองใช้เวลาในการทำประมง ๕-๖ ชั่วโมงต่อวัน แต่ตั้งแต่มีการขุดลอกอ่าวปัตตานี ส่งผลกระทบทำให้กระแสน้ำขึ้นน้ำลงเปลี่ยนแปลงไป คือ น้ำขึ้น ๓ ชั่วโมง และน้ำลง ๓ ชั่วโมง เวลาในการทำประมงน้อยลง เกิดภาวะน้ำเปรี้ยว และนำไปสู่ภาวะน้ำนิ่ง (หรือน้ำตาย) ส่งผลกระทบต่อการอยู่รอดของสัตว์น้ำและปัญหาแมงกะพรุนไฟกระทบกับชาวประมงที่ทำอวนลอย
๓. การสัญจรทางทะเลมีความลำบากมากขึ้นและมีต้นทุนเพิ่มขึ้นในการทำประมง เพราะการเกิดขึ้นของสันดอนทรายกลางอ่าว ส่งผลให้เส้นทางสัญจรทางน้ำเดิมที่ชาวบ้านใช้สัญจรในการออกทำการประมง บางพื้นที่ไม่สามารถสัญจรได้ในช่วงเวลาน้ำลงต่ำ จากเดิมมีรายได้วันละ ๑,๐๐๐ บาท ปัจจุบันเหลือ ๒๐๐-๓๐๐ บาท
๔. รายได้ที่ลดลงจากเดิม อย่างเห็นได้ชัด เศรษฐกิจชุมชนได้รับความเดือดร้อนเป็นห่วงโซ่ บางครอบครัวถึงขั้นไม่สามารถส่งเงินให้ลูกไปเรียน จนต้องออกจากการเรียนหนังสือกลางคัน นอกจากนี้ประชาชนรอบอ่าวปัตตานีที่รับจ้างแรงงานในร้านอาหารต้มยำกุ้ง ในประเทศมาเลเซีย ไม่สามารถเดินทางไปประกอบอาชีพหาโอกาสทางเศรษฐกิจจากประเทศเพื่อนบ้านได้ เนื่องจากการปิดประเทศจากสถานการณ์โรคระบาดโควิค-๑๙”หลังจาก
13.30 – 14.30 ตัวแทนชาวบ้านสะท้อนปัญหา(ทั้งนำ้ตา)ควาเดือดร้อนและขอทุกท่านรีบแก้ปัญหาให้ได้จริงๆ สำหรับตัวแทนชุมชนรอบอ่าวปัตตานีที่นำเสนอเช่น
1. ตัวแทนชุมชนบ้านบูดีและดาโต๊ะ ตำบลแหลมโพธิ์
2 ตัวแทนชุมชนบ้านบางปูและบ้านบาลาดูวอ ตำบลบางปู
3. ตัวแทนชุมชนบ้านปาเระ ตำบลบาราโหม
4. ตัวแทนชุมชนบ้านตันหยงลุโละ ตำบลตันหยงลุโละ
5. ตัวแทนชุมชนบ้านบานา ตำบลบานา
6. ตัวแทนชุมชนบ้านแหลมนก ตำบลบานา

14.30 – 15.30 สส. จังหวัดชายแดนภาคใต้ ออกมาตอบปัญหาต่อชาวบ้าน
15.30 – 16.00 สรุปแนวทางขับเคลื่อนการแก้ปัญหาประมงพื้นบ้านของชุมชนรอบอ่าวปัตตานีปิดเวทีการประชุม โดย นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารจังหวัด ปัตตานี
“การแก้ปัญหาสามช่องทาง หนึ่งผ่านกรรมาธิการคณะต่างๆที่สส.ชายแดนใต้ทั้งหมด สอง การบริหารส่วนท้องถิ่นโดย อบจ.และสามการบริหารส่วนภูมิภาคโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งขับเคลื่อนตามกฎหมายที่ปฏิบัติได้เลย กับวางแผนในอนาคต “อย่างไรก็แล้วแต่สำหรับผู้เขียน มีทัศนะว่า “สามฝ่ายต้องทำงานร่วมกันได้ทันทีคือชาวบ้าน สส.(ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน)และอบจ.ให้เป็นรูปธรรมจึงจะซับนำ้ตาชาวบ้านได้ซึ่งความจริงวิกฤตอ่าวปัตตานีและสิ่งแวดล้อมชาวบ้านเขาเดือดร้อนก่อนปี48 เสียอีก
(ลองดูงานวิจัย
1.
https://lek-prapai.org/home/view.php?id=139
2. https://www.facebook.com/690997514672816/posts/1136817333424163/?d=n
)หมายเหตุฟังคลิปย้อนหลังใน
1. https://www.facebook.com/wartanimap/videos/177181154195110/
2. https://www.facebook.com/wartanimap/videos/1068902450271458/

 3,602 total views,  2 views today

You may have missed