พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เปลี่ยนสังคม เปลี่ยนความคิด ประชารัฐร่วมใจ เสริมสร้างสันติสุขจังหวัดยะลา

แชร์เลย

นายดนัย บาเหมสะอิ ประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันทุกภาคส่วนอย่างสันติสุข ในพื้นที่ โดยยึดหลัก แนวทางสันติวิธีในการดำเนินชีวิต โดยมีผู้นำ 4 เสาหลักในหมู่บ้าน ชุมชนเข้มแข็ง กลุ่มสตรี และผู้นำศาสนาในพื้นที่เข้าร่วมจำนวน 100 คน ที่ ห้องประชุมกังสดาล โรงแรมแกรนด์พาเลช จังหวัดยะลา

ทั้งนี้ได้จัดกิจกรรมเวทีเสวนาประชารัฐ ร่วมใจ เสริมสร้างสันติสุขจังหวัดยะลา “ทำดีเพื่อพ่อ สานต่อที่พ่อทำ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยมีนายสัมพันธ์ มูซอดี ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต ๖ สงขลา ร่วมเสวนาและบรรยายพิเศษ นโยบายการประชาสัมพันธ์ เน้น ๓ ออน ออนแอร์ ออนกล่าว และออนไลน์ พร้อมใช้คำง่ายๆในการประชาสัมพันธ์ เวทีเสวนาครั้งนี้ให้มีการกระจายข้อมูลอย่างกว้างขวาง

นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา กล่าวว่า ทางภาครัฐมีความตั้งใจที่จะพูดคุยสันติภาพกับกลุ่มบุคคลที่มีความเห็นต่างจากภาครัฐทุกระดับของกลุ่มขบวนการเพื่อเจราสันติภาพกำหนดยุทธศาสตร์ และร่วมกันแสวงหาทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ อย่างไรกระบวนการสันติภาพจะไม่สัมฤทธิ์ผลได้เลย หากขาดกระบวนการในส่วนของภาคประชาสังคม ชุมชน หมู่บ้าน กลุ่ม องค์กรต่างๆ สื่อมวลชนและกลุ่มนักศึกษาในพื้นที่ กลุ่มสตรีจะมีบทบาทมากในการประสานระหว่างผู้มีอิทธิพลทางความคิดในชุมชน ต้องรับฟังความคิดเห็นและความต้องการของคนในพื้นที่ พร้อมพลักดันความคิดเห็นต่างๆนั้น ให้เป็นรูปธรรมและนำไปสู่การทำข้อเสนอทางการเมืองที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนให้ได้

การจัดเวทีเสวนาสันติสุข ให้กลุ่มสตรีในพื้นที่ได้แสดงความคิดเห็น ความต้องการของคนในพื้นที่จริงๆ สันติสุขไม่จำเป็นที่ต้องใช้การรบอย่างเดียว แต่สันติสุขจะเกิดขึ้นอยู่กับการสร้างอาชีพของประชาชน เชื้อว่าสันติสุขจะเผยแพร่ออกมาทางนี้เมื่อชาวบ้านมีความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ โดยการจัดการจากหมูบ้าน ตำบล สู่จังหวัดต่อไป และเชื้อว่าสตรีมีบทบาทมากในการร่วมพูดคุยสันติสุข เพราะพลังของสตรีมีความหวานและคำคมที่ลึกในความคิดและกล้าทำในสิ่งที่คิดเมื่อโอกาสนั้นมา นิเดาะ อิแตแล นายกสมาคมสวัสดิการมุสลีมะฮ์ จังหวัดยะลา กล่าวภายหลังเสวนา

การดึงสตรีมาร่วมพูดคุยเสวนาสันติสุข เป็นการเปิดโอกาส และเสรีภาพทางความคิดของกลุ่มสตรี ให้มีการสะท้อนแนวคิด ความเจ็บปวดจากเหตุความไม่สงบ หรือจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ เชื้อว่าสตรีจะไม่เป็นเครื่องมือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ในเวที่พูดคุยสันติสุขแม้ว่าเวทีไหนๆก็ตาม

ด้านผู้นำดะวะห์ มองเวที่การพูดคุยสันติสุขเป็นกิจกรรมที่ดีมาก เหมือนกลุ่มดะวะห์ที่พยายามแก้ปัญหาลงสู่รากหญ้า ด้วยการเดินเคาะประตู่แต่ละบ้าน พูดคุยสิ่งที่ดีโน้มน้าวให้ประชาชนรักในความดี อยู่อย่างสันติสุข เหมือนชื่อของศาสนาอิสลาม คือสันติสุขอยู่แล้ว แต่เราขาดการสนทนาพูดคุยที่จริงใจ และหลักการที่หมัดใจชาวบ้านได้ เพราะการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้องไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ยิ่งแก้ยิ่งพัวพันมากขึ้น ฉะนั้นทางภาครัฐก็ต้องเข้าใจในหลักการที่ศาสนากำลังทำดะวะห์สันติสุขอยู่ ดะวะห์ไม่ใช่ปฏิบัติศาสนกิจส่วนตัว แต่เป็นภาระกิจของมุสลิมทั่วโลก ต้องทำการดะวะห์ปรับปรุงตัวเองไปสู่สิ่งที่ดีงาม จากความชั่วให้สร้างความดี เมื่อเราดะวะห์พูดคุยในความดี ผลที่จะได้รับในความดีและโทษทัณฑ์จากการทำความชั่วว่ามันน่ากลัวขนาดไหน ที่จะเกิดขึ้นต่อหน้าและหลังความตาย เชื่อว่าการดะวะห์ก็เป็นเวที่พูดคุยสันติสุขสมบูรณ์แบบอีกเวที่หนึ่งในระดับประเทศ

งานดะวะห์ เป็นการแก้ปัญหาและสร้างสันติสุขได้จริงด้วยการตามรอยของท่านศาสดา ที่พยายามแก้ผู้เลวเหลกในเมืองอาหรับ มาแล้ว 13 ปี เพราะการเข้าถึง เข้าใจ และเข้าหาด้วยความจริงใจ การพูดพร้อมการกระทำจะเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์การสร้างสันติสุขในพื้นที่นั้นเอง อีหม่ำมะกูดี สาและ โตะอีหม่ำมัสยิด อำเภอกาบัง จ.ยะลา กล่าว

กระบวนการพูดคุยสันติภาพ มุ่งให้เห็นถึงการนำหลักคุณธรรม จริยธรรมตามหลักศาสนาทุกศาสนา ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตตามแนวทางสันติวิธี และทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เมื่อความคิดดี สังคมก็ดี ประชารัฐก็สุขใจ
………………………
Pierre Sanaa-lee / SPMC news / Yala

 1,775 total views,  6 views today

You may have missed