เมษายน 19, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

นักการเมืองและนักวิชาการประสานเสียง ชายแดนภาคใต้ “การจัดการนำ้อย่างยั่งยืนแก้ปัญหาผลกระทบน้ำท่วม”พร้อมกระทู้ถามในสภา

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


ในขณะที่คนไทยทั่วประเทศกำลังสนใจกับปัญหาโควิด จังหวัดชายแดนภาคใต้เผชิญวิกฤตน้ำท่วมครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 40 ปี และที่สำคัญ วิกฤตนี้ไม่ได้มาจากธรรมชาติ แต่เกิดจากการระบายน้ำจากเขื่อนบางลาง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ช่อ พรรณิการ์ วานิช จากคณะก้าวหน้าได้กางข้อมูลจากพื้นที่ให้ดูว่า น้ำท่วมครั้งนี้ เกิดจากการบริหารน้ำในเขื่อนที่ผิดพลาดตรงไหน พร้อมอัพเดทความช่วยเหลือจากพรรคก้าวไกล คณะก้าวหน้า และบริษัทส้มจี๊ด เอ็นเตอร์ไพรส์ ที่กำลังเร่งส่งถุงยังชีพไปช่วยพี่น้องผู้ประสบภัยในพื้นที่ อีกทั้งเตรียมข้อมูลเต็มพิกัดให้ส.ส.พรรคก้าวไกลตั้งกระทู้ในรัฐสภา

(อ้างอิงจากhttps://www.facebook.com/ThailandProgressiveMovement/videos/1348467015496159/)หมอเพชรดาว โต๊ะมีนาจากพรรคภูมิใจไทยซึ่งลงพื้นที่อย่างถึงลูกถึงคนฟังทั้งชาวบ้าน ประชาสังคมและนักวิชาการให้ทัศนะว่า
“ลงพื้นที่มา 3 วัน ครั้งนี้ต้องมานั่งฟังทฤษฎี หาความรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์อาจารย์สมพร ช่วยอารีย์#ฝนตกน้ำท่วม #ฝนไม่ตกน้ำก็ท่วม #เขื่อนบางลาง เป็นโจทย์ใหญ่ จะปล่อยน้ำอีกระลอก ปล่อยแบบไหน ใครสื่อสาร ภาษาสื่อสารต้องง่ายๆ ชาวบ้านอย่างเราต้องฟังรู้เรื่อง จะเตรียมรับมืออย่างไร ใครเยียวยาใคร ต้องล้างบ้านกันอีกกี่รอบ นั่นคือขณะเกิดน้ำท่วม หลังน้ำท่วม ฟื้นฟูกาย ใจ โครงสร้างพื้นฐาน Data Center (สำคัญมาก)ลุ่มน้ำปัตตานี หน่วยงานต่างๆไม่ค่อย open data เพื่อเตรียมพร้อมรับมือครั้งหน้าอย่างเป็นระบบ ขอบคุณอาจารย์สมพร ช่วยอารีย์อย่างยิ่ง วิเคราะห์ข้อมูลทางเดินน้ำจากฝน จากเขื่อนบางลางให้เห็นได้อย่างดี คงต้องรบกวนอาจารย์อีกหลายรอบ ทั้งเรื่องกัดเซาะชายฝั่ง เรื่องพลังงานสะอาด รวมทั้งอาจารย์ยะห์ สุพรรณี Yah Supannee มีข้อมูลงานวิจัยจากการสำรวจสภาพแม่น้ำปัตตานี ไม่มีใครนำไปดำเนินการต่อ การจัดการน้ำท่วมต่อนี้ไปต้องติดตาม ตามติด ไม่รอวัวหายล้อมคอก จะขอคิวกระทู้ถามในสภา InShaAllah”

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และเลขาธิการพรรคประชาชาติให้ทัศนะว่า “ส.ส.ประชาชาติของเราทุกคนได้ลงพื้นที่ ช่วยเหลือประชาชนพร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆซึ่งเราจะรวบรวมข้อเสนอแนะดังกล่าวสะท้อนผ่านสภาผู้แทนราษฏรรวมทั้งเห็นด้วยอย่างที่จะนำวาระ การบริหารจัดการนำ้ จะต้องให้ประชาชนในชุมชนและท้องถิ่นได้ร่วมบริหารจัดการน้ำเนื้องจากปัญหาในแต่ละภูมิภาค และพื้นที่ของประเทศต่างกัน ภูมิปัญญาในการจัดการน้ำได้สะสมเป็นองค์ความรู้ของท้องถิ่น และต้องบริการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ครบวงจร เป็นวาระแห่งชาติของภาคใต้และชายแดนภาคใต้ “
ในส่วนภาควิชาการร่วมกับประชาสังคมทั้งชายแดนภาคใต้และนอกพื้นที่จัดเวทีเสวนา ออนไลน์ ถอดบทเรียนต่อเรื่องนี้หลายเวทีเช่น
สองเสวนาถอดบทเรียน “นำ้ท่วมชายแดนภาคใต้อันเนื่องมาจากการจัดการน้ำเขื่อนบางลาง”
1.
“…ว่าด้วยการบริหารการจัดการเขื่อน การรับมือจากสถานการณ์น้ำท่วม และก้าวต่อไปในอนาคต…”
โดยพบกับวิทยากรทั้ง 4 ท่าน ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์
1.นายแพทย์อมีน สะอีดี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลปัตตานี
2.ผศ.ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี
3.คุณวรรณกนก เปาะอิแตดาโอะ กลุ่มลูกเหรียง
4.คุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทย
ดำเนินรายการโดย ผศ.เอกรินทร์ ต่วนศิริ อาจารย์ประจำแขนงวิชาการปกครองท้องถิ่น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ท่านสามารถรับชมได้ที่ เพจคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อังคาร ที่ 12 มกราคม 2564 เวลา 16.00 น.

(ติดตามในลิ้งค์ https://www.facebook.com/PoliticalSciencepnpsu/videos/687265415293751/
สอง “บทเรียนน้ำท่วมและการรับมือกับน้ำท่วมในอนาคต”
วิทยากรร่วมเสวนา
1.
รอมฎอน ปันจอร์ บรรณาธิการเว็บไซต์ Deep South Watch
2. ดร.นพ.มูฮัมหมัดฟะฮ์มี ตาเละ
3. นายจตุรนต์ เอี่ยมโสภา (สจ .ปัตตานี คนล่าสุด)
4.
มูซา เจ๊ะแว

(https://www.facebook.com/deepsouthwatch/videos/523395371887004/)
กล่าวโดยสรุป ในเวทีเสวนา พยายามสะท้อนการบริหารจัดการน้ำที่ต้องมีประสิทธิภาพมากกว่านี้ หากพูดให้แรงก็คือทำอย่างไรที่จะต้องเห็นหัวประชาชนมากกว่านี้
เพราะบทเรียนอุทกภัยในครั้งนนี้และทุกๆครั้งพบว่า สาเหตุไม่ได้มาจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียวที่จะส่งผลให้การบริหารจัดการน้ำไม่ประสบความสำเร็จ แต่สาเหตุหลักอีกประการคือ ความสับสนของข้อมูลจริง ณ ห้วงเวลานั้น (real-time) ทำให้การประเมินปริมาณน้ำเชิงตัวเลขและเชิงพื้นที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้การบริหารจัดการไม่สำเร็จตามไปด้วย? เช่นฐานข้อมูลกายภาพของพื้นที่ ทิศทางการไหลของลำน้ำสาขาในธรรมชาติ การสำรวจพื้นที่อย่างต่อเนื่อง การคำนวณพื้นที่เสี่ยงภัย ในทุกระดับมาตราส่วน ตั้งแต่ระดับลุ่มน้ำ (watershed) จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน โดยเฉพาะอย่างระบบเตือนภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ที่ขาดประสิทธิภาพในการสื่อสารอันเป็นมาตรการที่สามารถบรรเทาความเสียหายจากภัยน้ำท่วม โดยสามารถเตือนภัยน้ำท่วมล่วงหน้าให้กับพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อมีการจัดเตรียมรับมือภาวะน้ำท่วม ซึ่งสามารถลดความเสียหายได้เป็นอย่างมาก

ดังที่ชาวบ้านสะท้อนว่า
“ความที่ว่าไม่มีใครแจ้งหรือบอกข้อมูลในยามวิกฤต ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นพอ ๆ กับการช่วยเหลือเฉพาะหน้าอื่น ๆ การไม่รู้สถานการณ์ทำให้วิกฤตซ้อนวิกฤตครับ”

ดังนั้นรัฐ ต้องรีบแก้ปัญหา ถึงขั้น ปฏิรูป การบริหารจัดการนำ้ ใหม่ ให้ถือ เรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ หรือ ชายแดนภาคใต้ แต่ต้องให้ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะตัวแทนประชาชนมีส่วนร่วมการบริหารจัดการนำ้ “ตั้งแต่ต้นนำ้ กลางนำ้และปลายน้ำ” อย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้มิฉะนั้น ก็จะเหมือนกับการปัญหาน้ำท่วมของรัฐในหลายพื้นที่อื่นที่หมดงบประมาณจำนวนเป็นเเสนๆล้านแต่เอื้อประโยชน์ผู้มีอำนาจและนายทุน

 741 total views,  4 views today

You may have missed