อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ที่ จ.สงขลา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี มอบหมาย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงาน และนายประสาน หวังรัตนปราณี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ พล.อ.ประวิตร พร้อมคณะ ลงพื้นที่อ.จะนะ จ.สงขลา ตามสัญญาท่ามกลางกองทัพสื่อมวลชนทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นซึ่งเดิมกำหนดการพบกับชาวบ้าน 3 จุด คือ หาดสวนกงตำบลนาทับ บ้านปากบางสะกอมและโรงเรียนศาสนบำรุงอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา แต่เพิ่มอีก 2 จุด คือ หนึ่ง
ในนามกลุ่มชุมชนจะนะต้นแบบ นำโดยนายอัฐนนท์ เต็มยามา ประธานกลุ่มชุมชนจะนะต้นแบบ (โปรดดู https://www.facebook.com/115623456886995/posts/202097498239590/?d=n)
ซึ่งเคยเดินทางไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีสนับสนุนโครงการนิคมอุตสากรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตอำเภอจะนะ จ.สงขลาเมื่อ17 ธันวาคม 2563 และกลุ่มสนับสนุนโครงการอีกกลุ่ม ซึ่งเป็นชาวบ้านในกลุ่มขับเคลื่อนเมืองต้นแบบ จะนะ (ดูได้ใน https://www.facebook.com/108089914231642/videos/424971501884434/)
อย่างไรก็แล้วแต่หลังร้อยเอกธรรมนัส พบทุกกลุ่มก็มีการพูดคุยสรุปที่ห้องประชุมโรงเรียนศาสนบำรุง อำเภอจะนะต่อหน้าทุกภาคส่วนของหน่วยงานราชการ และประชาชนรวมทั้งต่อหน้าสื่อมวลชนที่สามารถถ่ายทอดสดผลการประชุมพูดคุยตั้งแต่ต้นจนจบ โดยมีบุคคลสำคัญนำเสนอเวทีนี้ เช่นหนึ่งบาบอฮุสนี บินหะยีคอเนาะในฐานะเจ้าของสถานที่ และที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลาซึ่งท่านได้เล่าว่า
“ทำไมโต๊ะครู โรงเรียนสอนศาสนา นักเรียนต้องต่อสู้ร่วมกับชาวบ้านกรณีค้านจะนะเมืองอุตสาหกรรม”
(ฟังคลิปฉบับเต็มในนาทีที่1-7.45
https://www.facebook.com/zinstudio3233/videos/1044967942687986/)
ร.อ.ธรรมนัส กล่าวพอสรุปใจความว่า “ตั้งใจมาหาตามที่ได้พูดคุยกันไว้ที่หน้าทำเนียบรัฐบาลว่า ก่อนปีใหม่ตนพร้อมคณะจะเดินทางมาในพื้นที่ และจะได้เห็นพื้นที่จริง พร้อมรับฟังปัญหาของพี่น้องที่มีความคิดเห็นในเรื่องการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จ.สงขลา
โดยได้พบปะหารือร่วมกับตัวแทนชาวบ้านที่คัดค้านและได้รับผลกระทบจากโครงการ “จะนะเมืองต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต” โดยโครงการดังกล่าวประชาชนในพื้นที่มีความเห็นต่างแยกออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้สร้างโครงการได้แบบมีเงื่อนไขด้วยการขอให้ประชาชนมีร่วมความเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้า, กลุ่มผู้คัดค้าน และกลุ่มผู้สนับสนุน พวกเราต้องการมาฟังจริงๆเพื่อที่จะเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์นำเสนอกับพล.อ.ประวิตร ในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบ ยืนยันว่าจะต้องฟังทุกส่วน ที่เกิดความแตกแยกในความคิด เพราะรัฐบาลอยากให้คนสงขลาเดินไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นการมาวันนี้มาตามคำสัญญาที่ได้สัญญาไว้ว่าจะลงพื้นที่ และการมารับฟังความคิดเห็นในวันนี้หากประชาชนในพื้นที่มีข้อมูลอะไรก็ให้บอกมาได้”
หลังจากนั้นนายมังโสด หมะเต๊ะ ขอนำเสนอก่อนจะสรุปการพูดคุยครั้งนี้ถึงความไม่ชอบมาพากลของโครงการจะนะเมืองอุตสาหกรรม สรุปว่า “นอกจากความไม่ชอบธรรมในการทำเวทีแก่ชาวบ้าน ที่นำโดยศอ.บต. มีการนำเสนอหุ้นลมแก่ชาวบ้านแต่ชาวบ้านต้องลงชื่อพร้อมสำเนาบัตรประชาชน แล้วยังมีความผิดปกติในที่ดินอำเภอจะนะที่กำลังจะกลายเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม…โดยมีการใช้อำนาจทางการเมือง (ชาวบ้านทราบดีว่าใคร)ระบบราชการ นายหน้าหาประโยชน์ และกลุ่มทุน ทำงานกันอย่างเป็นระบบ ทั้งข่มขู่ ครอบงำ บังคับซื้อ ฟ้อง เผาทำลายต้นขั้ว และอื่นๆ กับชาวบ้านในพื้นที่ พวกเขาทำกันมานาน ทำมาเรื่อยๆ จนเคยชิน เพราะคิดว่าชาวบ้านโง่ คิดอะไรไม่เป็น หลายคนยอมถอยด้วยความกลัว หลายคนยอมรับค่าที่ดินในราคาถูกกว่าที่ควรจะเป็น แต่หลายคนยังสู้ อย่างชาวบ้านที่นำหลักฐานมายื่นกับท่านธรรมนัส”
(ฟังคลิปเต็มใน
https://www.facebook.com/zinstudio3233/videos/394444954996466/)
สำหรับไฮไลต์สำคัญคือการลงรายละเอียดในข้อตกลงเดิมท่านธรรมนัสทำMoUกับชาวบ้านและครม.รับทราบกล่าวคือข้อตกลงร่วม 2 ฝ่าย คือ 1.ให้ยุติการดำเนินโครงการ ทั้งกรมโยธิการและผังเมืองยกเลิกการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ที่จะเปลี่ยนผังเมืองจากสีเขียวเป็นสีม่วง และเวทีประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่จะทำ 4 ฉบับในวันที่ 6 ม.ค.2564 ก็ได้สั่งให้ยกเลิกเช่นกัน
และ 2.จะมีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมา 1 ชุด โดย ร้อยเอกธรรมนัส เป็นประธาน ขณะที่โครงสร้างจะมีทั้งตัวแทนภาคประชาชน นักวิชาการ และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง โดย ไม่มี ศอบต. เข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อกำกับติดตาม รวมถึงการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA ว่ามีความจำเป็นต้องมีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กว่า 2 หมื่นไร่หรือไม่ โดยคำนึงคนในพื้นที่เป็นหลัก ส่วนทุนเป็นปัจจัยรอง และต้องสร้างชุดข้อมูลที่มีคุณภาพ ซึ่งมีรายละเอียด 8 ข้อโดยภาพรวมฝ่ายท่านธรรมนัส ไม่มีปัญหาเพียงแต่ขอปรับเนื้อหาบางส่วนเล็กๆน้อยๆโดยฝ่ายภาคประชาชนขอให้ท่านลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรทำให้บรรยากาศที่ประชุมตึงเครียดจนสุดท้ายท่านธรรมนัสยืนยันด้วยลูกผู้ชายต่อหน้าสักขีพยานไม่ว่ารัฐและประชาชนพร้อมสื่อทั้งส่วนกลางและพื้นที่(บางส่วนมีการถ่ายทอดสด)ภาคประชาชนที่เสนอก็ยอมรับ
นายสมบูรณ์ คำแหงสะท้อนต่อเรื่องนี้ว่า
“มันคือก้าวแรก ในการยุติความขัดแย้งนิคมอุตสาหกรรมจะนะอันจะเป็นบทพิสูจน์ความจริงใจรัฐบาลโดยสิ่งที่ได้จากการลงพื้นที่ของรัฐมนตรีธรรมนัสและคณะครั้งนี้ คือ การทำให้เห็นว่ามีชาวบ้านในพื้นที่ทั้ง 3 ตำบล(ตลิ่งชัน นาทับและสะกอม) และรอบๆได้ออกมาแสดงพลังไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้อย่างชัดเจน พร้อมกับมีข้อมูลหลายมิติ นำเสนอให้คณะของท่านธรรมนัสได้รับทราบเบื้องต้นในระหว่างการเดินทางไปแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน บางเรื่องมีการยื่นหลักฐานที่เป็นเอกสารเพื่อให้มีการตรวจสอบต่อไปโดยเฉพาะประเด็นที่ดินในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่พบว่ามีกลุ่มการเมือง ข้าราชการ และกลุ่มธุรกิจอยู่เบื้องหลังผลประโยชน์อันมหาศาลนี้โดยมีการทำเรื่องนี้กันอย่างเป็นขบวนการซึ่งความผิดปกติดังกล่าวเห็นได้ถึง 3 ประเด็นคือ การออกเอกสารสิทธิ์ครอบที่ดินของประชาชนในพื้นที่จำนวนหลายร้อยไร่ การเข้าครอบครองพื้นที่สาธารณะอีกจำนวนหลายร้อยไร่ และยังพบข้อมูลว่ามีการสลับ หรือโยกย้ายระหว่างที่ดินสาธารณะกับที่ดินเอกชน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ได้ยื่นเอกสารบางส่วนเพื่อให้มีการตรวจสอบหลังจากนี้ต่อไป
ส่วนการนำเสนอในที่ประชุม พวกเราได้ยกร่างบันทึกความเข้าใจซึ่งจะทำไว้ทั้งหมด 8 ข้อซึ่งโดยรวมแล้วคณะของรัฐมนตรีธรรมนัสเห็นด้วยในหลักการทั้งหมด ยกเว้นประเด็นสัดส่วนคณะกรรมการที่จะต้องมีการหารือกันอีกครั้งหลังจากนี้ ซึ่งข้อเสนอเหล่านี้จะนำไปสู่ภารกิจที่คณะอนุกรรมการกำกับติดตามและแก้ไขปัญหานิคมอุตสาหกรรมจะนะที่จะมีการแต่งตั้งหลังจากนี้จะต้องนำไปพิจารณาดำเนินการต่อไป โดยคาดว่าจะมีการแต่งตั้งในเดือนมกราคมและสามารถปฏิบัติงานได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 และอาจจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปีเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ปัญหาทั้งหมด รัฐมนตรีธรรมนัส ได้ให้คำมั่นในที่ประชุมอีกครั้งหนึ่งว่า ในระหว่างการทำงานของกลไกนี้จะไม่มีการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการเปลี่ยนสีผังเมือง การจัดทำ eia ทั้ง 6 ฉบับของบริษัท TPIPP. รวมถึงกิจการหรือโครงการอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จึงถือเป็นก้าวแรกที่จะทำให้เรื่องความขัดแย้งในโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ ถูกนำมาตั้งบนโต๊ะอย่างเป็นทางการ และมีตัวแทนของรัฐบาลมาเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ ซึ่งหวังว่าจะนำไปสู่ทางออกในการแก้ไขปัญหาทั้งหมดได้ หากทุกฝ่ายมีความตั้งใจ จริงใจ และมุ่งมั่นที่จะให้สันติสุขกับคืนมาในพื้นที่แห่งนี้อีกครั้ง
หลังจากการดำเนินการที่ผิดพลาดขององค์การบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. กว่า 1 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามพี่น้องในอำเภอจะนะก็ยังจะต้องลงแรงกันอย่างแข็งขันเพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นว่าทางเลือกในการพัฒนาที่ดีกว่านิคมอุตสาหกรรมยังมีความเป็นไปได้มากกว่าที่คนบางกลุ่มคิดฝัน…”
ในส่วนของสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามรู้สึกยินดีหากจะเพิ่มรายชื่อตัวแทนภาคประชาชนที่สนับสนุนโครงการด้วยเพราะเรายืนยันมาตลอดว่า “ชาวบ้านจะนะจะหนุนหรือค้านโครงการนี้เพื่อหาทางออกร่วมกัน ดังนั้น มาเริ่มนับหนึ่งออกแบบจะนะเมืองน่าอยู่ร่วมกัน ภายใต้สโลแกนทุกคนคือพี่น้องกัน หากเรามั่นใจว่าเป็นมุสลิมผู้ศรัทธา อย่าลืมว่าเราจะเป็นประชาชาติตัวอย่างก็ต่อเมื่อเราทำคุณประโยชน์ต่อสังคม” รวมทั้ง”เราจะขอติดตามอย่างใกล้ชิดต่อผลของสัญญาลูกผู้ชายท่านธรรมนัสครั้งนี้”
หมายเหตุ
หนึ่ง
ชมย้อนหลังร้อยเอกธรรมนัสและคณะลงพื้นที่จะนะที่ศาสนบำรุงก่อนสัญญาลูกผู้ชายเริ่มต้น กระบวนการโครงการใหม่ “จะนะเมืองอุตสาหกรรม”ผ่านคณะอนุกรรมการจากทุกภาคส่วน
28 ธันวาคม 2563
ณ โรงเรียนศาสนบำรุง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
1. https://www.facebook.com/zinstudio3233/videos/382775106351730/
2. https://www.facebook.com/zinstudio3233/videos/1044967942687986/
3. https://www.facebook.com/zinstudio3233/videos/394444954996466/
สองประมวลภาพ
https://www.facebook.com/203770230161260/posts/913440529194223/?d=n
1,353 total views, 6 views today
More Stories
ด่วน ! INC ออกแถลงการณ์ ต่อรัฐบาล ยกเลิกใช้ พรก.ฉุกเฉิน จังหวัดชายแดนภาคใต้ หนุนพูดคุยโต๊ะเจรจาสันติภาพ (มีคลิปแถลง)
แม่ทัพภาคที่ 4 พบปะผู้บริหารทางการศึกษาเอกชน,ผู้บริหารมูลนิธิตาดีกา แดนใต้ ร่วมหารือแก้ปัญหาพื้นที่เพื่อสันติสุข เน้นย้ำ ใกล้ถึงถึงเดือนศิลอด ขอทุกฝ่ายจับมือ “รอมฎอนสันติ” ไม่เกิดเหตุรุนแรง เดือนอันประเสริฐ
กลุ่มพลังมวลชน ผู้นำศาสนา นักเรียน นักศึกษา รวมกว่า 500 คน ”รวมพลังต่อต้านความรุนแรง” ทุกรูปแบบ หน้าแฟลตตำรวจนราธิวาสจุดเกิดเหตุบอมบ์