พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

“ธรรมนัส” ร่อนหนังสือ เตรียมลงพื้นที่จะนะตามสัญญา(ตามกำหนดการแนบ)อันเนื่องมาจากผลการต่อสู้ของชาวบ้าน

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


หลัง ครม.มีมติตั้งคณะกรรมการ​ศึกษา​ผลกระทบ​นิคมอุตสาหกรรมจะนะกล่าวคือ มติครั้งนี้ แม้มิได้ยกเลิกมติครม.ในการดำเนินจะนะเมืองต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคตทั้งหมด แต่เปรียบเสมือนชะลอการเดินหน้าดำเนินโครงการดังกล่าวไปก่อนเช่นชะลอการพิจารณาการแก้ไขผังเมืองและการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA, EHIA ไปก่อน จนชาวบ้าน(ในนามเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น) (วันที่ 15 ธันวาคม 2563)  ถือยอมถอยหนึ่งก้าวกลับบ้านอย่างฮีโร่ เมื่อกลับถึงจะนะ
ปรากฎว่า วันที่ 28 ธันวาคม 2563 นี้ ร้อยเอกธรรมนัส พรมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ และคณะจะลงพื้นที่จะนะพบกับชาวบ้าน 3 จุด คือ หาดสวนกงตำบลนาทับ บ้านปากบางสะกอมและโรงเรียนศาสนบำรุงอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา(ตามเอกสารแนบ)
การที่ท่านธรรมนัสลงพื้นที่จะนะตามสัญญาต้องยอมรับว่า “อันเนื่องมาจากผลการต่อสู้ของชาวบ้าน”ซึ่งความเป็นจริงการต่อสู้แบบบ้านๆของชาวบ้านครั้งนี้เป็นการทำงานร่วมระหว่างภาคีเครือข่ายผู้นำศาสนา สถาบันสอนศาสนา นักวิชาการทั้งในและนอกพื้นที่ นักกฎหมาย ประชาสังคมนักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม และอื่นๆรวมทั้งนำบทเรียนในอดีตการต่อสู้ตลอด 20 ปีตั้งแต่โครงการโรงแยกแก๊ซไทย-มาเลเซีย(โปรดอ่านเพิ่มเติมในประเด็นร้อน!! การต่อสู้ของคนจะนะแบบบ้านๆสะเทือน อำนาจ รัฐ กทม.และทุนข้ามชาติ/อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ http://spmcnews.com/?p=35756)

วรา จันทร์มณี เขียนเฟสบุ๊คสะท้อนบทเรียนครั้งนี้ว่า “กรณีจะนะ ก่อนอื่นในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ผมก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเคลื่อนไหวครั้งนี้ทั้งการสนับสนุนต่อหน้าและลับหลัง ซึ่งผมมองว่าเป็นความสำเร็จครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งนับแต่การต่อสู้เรื่องท่อแก๊สเมื่อกว่า 20 ปีก่อน “
การต่อสู้ของชาวบ้านครั้งนี้แบ่งเป็นสองทัพ หนึ่งประท้วงหน้าทำเนียบอันเป็นศูนย์รวมการประท้วงรัฐบาลของนักเรียน นักศึกษาและเครือข่ายคณะราษฎรและสื่อทุกสำนักเอาไปเล่น ทัพที่สองประท้วงเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่เช่นชาวประมงนำเรือปิดอ่าว นักเรียน ครู ผู้บริหาร โรงเรียนสอนศาสนา ผู้นำศาสนาออกแถลงการณ์
ลำดับต่อไปก็คงติดตามอย่างใกล้ชิดว่า “การลงพื้นที่ของท่านครั้งนี้จริงใจหรือมีการเมือง “
โครงการนี้ ควรได้ไปต่อหรือไม่? การตัดสินใจเชิงนโยบายดังกล่าว ควรขึ้นอยู่กับเหตุผลเชิงประจักษ์และข้อมูลจากการศึกษาผลกระทบโครงการทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง (อันเป็นความท้าทายใหญ่ )เนื่องจาก การพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นประเด็นที่ซับซ้อนและต้องมีความเข้าใจบริบทเชิงพื้นที่อย่างถูกต้องและรอบด้าน ซึ่งประชาชนในท้องถิ่นจะรู้ดีที่สุดเกี่ยวกับความต้องการและทิศทางในการพัฒนาเพื่อเพิ่มผลิตภาพและสร้างความสามารถในการแข่งขันของท้องถิ่น

##ในทางกลับกันคนจะนะโดยเฉพาะคนค้านจะต้องแสดงให้สังคมในและนอกพื้นที่ “ว่าพวกเขาไม่ได้ปฏิเสธว่าบ้านเมืองจะต้องพัฒนาไปข้างหน้า ภายใต้การพัฒนานั้นจะต้องตั้งอยู่บนความถูกชอบธรรม และต้องเคารพวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่(ที่อ้างเช่นกัน)
ข้อเสนอให้รัฐบาลจัดให้มีการศึกษาผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ SEA. อย่างรอบคอบ เพื่อสร้างชุดข้อมูลทางวิชาการที่มีคุณภาพประกอบการตัดสินใจต่อแนวทางและโครงการพัฒนาในพื้นที่จะนะและพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคใต้ต่อไปก็เป็นสิ่งท้าทายเชิงปฏิบัติ
บาบอฮุสนี บินหะยีคอเนาะผู้นำศาสนาและตัวแทนเครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอำเภอจะนะให้ทัศนะว่า “ชาวบ้านจะนะ จะหนุนหรือ ค้านโครงการนี้เพื่อหาทางออกร่วมกัน ดังนั้นมาเริ่มนับหนึ่งออกแบบ จะนะเมืองน่าอยู่ร่วมกัน ภายใต้สโลแกนทุกคนคือพี่น้องกัน หากเรามั่นใจว่าเป็นมุสลิมผู้ศรัทธา อย่าลืมว่าเราจะเป็นประชาชาติตัวอย่างก็ต่อเมื่อเราทำคุณประโยชน์ต่อสังคม”
สำหรับผู้เขียนกล่าวโดยสรุปมันก็ยุติธรรมดีที่ได้เริ่มกระบวนการใหม่ “ไม่ว่าหนุนหรือค้าน :จะนะเมืองอุตสาหกรรมซึ่งบ้านเมืองจะต้องพัฒนาไปข้างหน้า ซึ่งการพัฒนานั้นจะต้องตั้งอยู่บนความถูกต้องชอบธรรม เท่าเทียม โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีส่วนร่วม เคารพวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และได้รับประโยชน์สูงสุด ต่อทุกคนโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และจะนะจะชนะร่วมกัน“

 1,191 total views,  4 views today

You may have missed